SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การแชร์อินเตอร์เน็ตจากมือถือเข้าคอมพิวเตอร์ผ่านสาย USB
พ.ย. 13th, 2018 by pailin

ในบางครั้ง หลายท่านคงเคยประสบปัญหาการเข้าไปในพื้นที่ ที่อินเตอร์เน็ตขัดข้องหรืออับสัญญาณ wifi แต่ในขณะนั้นจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต จึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ในการใช้งาน

ปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลาย หากท่านมีสายชาร์จมือถือและสัญญาณอินเตอร์เน็ตถือมือที่แรงพอ ด้วยการแชร์อินเตอร์เน็ตจากมือถือเข้าคอมพิวเตอร์ผ่านสาย USB ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

1. เสียบสาย USB เชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับ เครื่องคอมพิวเตอร์

  

2. เปิดมือถือ เข้าไปที่ setting แล้วเลือกเมนูที่เกี่ยวกับ Wireless & Networks

3. เลือกเมนู Tethering & portable hotspot Read the rest of this entry »

คู่มือ Cyber security สำหรับประชาชน
ส.ค. 4th, 2016 by sirinun

คู่มือ Cyber Security

คู่มือ Cyber Security สำหรับประชาชน

ปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารมีความก้าวหน้า และได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของประชาชนทุกเพศทุกวัยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นภาพ วิดีโอ เสียง และสื่อมัลติมีเดียต่างๆ สามารถรับส่งผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมได้อย่างรวดเร็วภายในเสี้ยววินาที ส่งผลให้การติดต่อสื่อสารเรื่องงานหรือธุรกรรมต่างๆ ดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วกว่าในอดีตอย่างเห็นได้ชัด แต่ถึงแม้เทคโนโลยีจะมีคุณประโยชน์ และก็มีโทษมหันต์ หากผู้ใช้ไม่รู้เท่าถึงอันตรายที่อาจเกิดจากการใช้อุปกรณ์มือถือหรือพกพานั้นๆ อย่างถูกวิธี หนังสือเล่มนี้ให้คำอธิบายและภาพประกอบที่ผู้อ่านสามารถอ่านและเข้าใจได้ง่าย  หมวดหมู่ QA76.9.A25 ค695 2558

รายการอ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2558). คู่มือ Cyber security สำหรับประชาชน . พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.

การสืบค้นสารนิเทศ
ก.ค. 5th, 2016 by sirinun

การสืบค้นสารนิเทศ

การสืบค้นสารนิเทศ

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการสืบค้นสารนิเทศเบื้องต้น ให้ความรู้ความเข้าใจในการสืบค้นสารนิเทศ หลักการสืบค้นสารนิเทศ เทคนิคการสืบค้นสารนิเทศ ขั้นตอนการสืบค้นสารนิเทศด้วยคอมพิวเตอร์จากฐานข้อมูลทรัพยากรสารนิเทศในห้องสมุด ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัย วารสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออิเล็กทอรนิกส์ สารนิเทศบนอินเทอร์เน็ต กฤตภาคข่าวอิเล็กทรอนิกส์  ฯลฯ หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับผู้อ่านที่สนใจศึกษาค้นคว้าสารนิเทศเพื่อเป็นข้อมูลในการทำวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือตามความสนใจ เพื่อให้ได้สารนิเทศที่ตรงกับความต้องการโดยสะดวกรวดเร็ว หมวดหมู่ Z674.4 พ199ก 2557

รายการอ้างอิง

พนิดา สมประจบ. (2557). การสืบค้นสารนิเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  (E-Commerce)

บทคัดย่อ:

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) เริ่มใช้งานครั้งแรกปี ค.ศ. 1960 เมื่อมีบริษัทในสหรัฐอเมริกานำระบบการเแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange หรือ EDI) และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) มาใช้ในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ขณะนี้ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ธนาคารต่างๆ ได้เริ่มให้บริการในการทำธุรกรรมของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว เช่น ให้บริการรับชำระเงินผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการสร้างระบบการป้องกันการชำระเงินมารองรับหลายรูปแบบ

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการส่งข้อมูล สินค้าและบริการ หรือการชำระเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น สายโทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในทางธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ เทคโนโลยีที่ช่วยให้การทำธุรกรรม (business transaction) และการทำงานตามขั้นตอน (workflow) ขององค์กรเป็นไปอย่างอัตโนมัติในการให้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ เครื่องมือที่ช่วยบริษัท ผู้ประกอบการ ตลอดจนผู้บริโภคลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการให้และการใช้บริการ ช่วยให้การบริการรวดเร็วขึ้น และช่วยให้ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพของสินค้า

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถแบ่งตามลักษณะของคู่ค้าเป็น 4 ประเภท
1) Business to Consumer (B to C) เป็นการค้าระหว่างบริษัทกับผู้บริโภค
2) Business to Business (B to B) เป็นการค้าระหว่างบริษัทกับบริษท
3) Business tp Government (B to G) เป็นการค้าระหว่างองค์กรเอกชนกับองค์กรของรัฐ
4) Consumer to Consumer (C to C) เป็นการค้าระหว่างบุคคลทั่วไป
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ช่วยเปลี่ยนแปลงโลกธุรกิจโดยลดช่องว่างทางการแข่งขันระหว่างองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทำให้องค์กรธุรกิจต้องปรับตัวทั้งในด้านการบริหาร การจัดการองค์กร รวมไปถึงวิธีการดำเนินธุรกิจ ก่อให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจมากขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร นอกจากนั้น ยังสร้างโอกาสให้เกิดการทำธุรกิจในรูปแบบใหม่มากมาย

เพ็ญ ชยาวิวัฒน์กุล. (2547). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  (E-Commerce). วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 61-69.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต
ก.พ. 9th, 2016 by sirinun

การกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต

การกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต

หนังสือเล่มนี้ได้ประมวลและนำเสนอเรื่องราวสังคมเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต เช่น โครงสร้างของการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตในระดับสากล องค์ประกอบของการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต สถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ต การอภิบาลอินเทอร์เน็ต แนวคิดและทฤษฎีในการกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต เว็บ 2.0 และการกำกับดูแล 2.0 แนวทางการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตในบริบทสื่อหลอมรวม ตลอดจนประสบการณ์ของการกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ตทั้งในระดับสากล ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ รวมไปถึงโครงสร้างการกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย หมวดหมู่ TK5105.8854 พ735ก 2556

รายการอ้างอิง

พิรงรอง รามสูต.( 2556). การกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa