SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
เทวะวงศ์ฯ สาร (Devawongse Sarn)
ก.ย. 13th, 2016 by supaporn

เทวะวงศ์ฯ สาร ฉบับปี 2015 ภายใต้ชื่อ ความท้าทายไร้พรมแดน รวบรวมองค์ความรู้ด้านการทูต การต่างประเทศ และการบริหารการต่างประเทศ ตลอดจนประเด็นท้าทายใหม่ๆ ในโลกศตวรรษที่ 21 จากการบรรยายของหลักสูตรนักบริหารการทูต รุ่นที่ 5 (ปี 2556)

 

เทวะวงศ์ฯ สาร

เทวะวงศ์ฯ สาร

เนื้อหาน่าสนใจมากมาย ค่ะ

  • การทูต การบริหาร และการต่างประเทศกับความท้าทายในศตวรรษที่ 21
  • รัฐธรรมนูญกับการบริหารราชการแผ่นดิน
  • นักบริการกับการพัฒนากฎหมายเพื่อพัฒนาประเทศ
  • กระบวนการทางการเมืองและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
  • การมีส่วนร่วมของพลเมืองในระบบประชาธิปไตย
  • บทบาทนักบริหารกับการขับเคลื่อนองค์กร
  • การบริหารจัดการสภาวะวิกฤติและการสื่อสาร
  • การพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับนักบริหาร
  • ออกกำลังกายสายกลางเพื่อสุขภาพ
  • Good governance & integrity management : Hong Kong & International Experience
  • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในมุมมองของอดีตเลขาธิการอาเซียน
  • บทบาทของไทยในเวทีโลก (Beyond Thailand) และบทบาทผู้แทนไทย
  • ประวัติศาสตร์การทูตไทย : กรณีความสัมพันธ์ ไทย-กัมพูชา ในยุคเขมร 4 ฝ่าย จนถึงการลงนามสันติภาพ ณ กรุงปารีส
  • เมื่อพระภิกษุศรีลังกาจะเดินขบวนประท้วง สถานเอกอัครราชทูตและรัฐบาลไทย
  • การจัดระเบียบโลก : ผลกระทบและการปรับตัว
  • อนาคตเศรษฐกิจโลกภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ
  • บทบาทของไทยต่อปัญหาพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • Western Democracy in the Content of Developing Countries
  • The Muslim World: The Lessons of the Syria Crisis in Conflict Resolution

รายการอ้างอิง

กระทรวงการต่างประเทศ. สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ. (2016). เทวะวงศ์ฯ สาร 2015 (Devawongse Sarn). กรุงเทพฯ : สถาบัน.

รายงานวิจัยอาเซียน ศูนย์อาเซียนศึกษา มธ.
ก.ย. 13th, 2016 by supaporn

งานวิจัยอาเซียนของศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

งานวิจัยอาเซียนของศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำรายงานการวิจัยเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 3 เรื่อง ได้แก่

  • รายงานสรุป ผลการดำเนินงาน โครงการขับเคลื่อนภาครัฐในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
  • รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2557-2559
  • รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาผลกระทบทางสังคม ที่เกิดจากการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน

ตัวเล่มเข้ามาที่ ศูนย์บรรณสารฯ แล้วค่ะ หรือถ้าต้องการอ่านฉบับออนไลน์ ติดตามอ่านได้ที่ www.castu.org ค่ะ

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ความสำคัญและการเตรียมความพร้อมของไทย
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ความสำคัญและการเตรียมความพร้อมของไทย

Asian Economic Community : Importance and Thai Preparations

บทคัดย่อ:

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็น 1 ใน 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน และมีเป้าหมาย คือ 1) ตลาดและฐานการผลิตร่วม 2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน 3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค 4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนอาจส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบซึ่งจะได้รับประโยชน์มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมอย่างดีของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการในภาคเอกชนที่คงต้องเร่งปรับตัวเพื่อสร้างขีดความสามารถ เช่น การเร่งพัฒนาตราสินค้า การใช้เทคโนโลยีใหม่ในการผลิต และการพัฒนาในด้านนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยสร้างจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์ของไทย ส่วนภาครัฐก็ควรทำความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเตรียมมาตรการป้องกันเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน Read the rest of this entry »

เปิดตู้กับข้าวอาเซียน
ก.พ. 3rd, 2016 by sirinun

40 เมนูอาหารสุดฮิต

40 เมนูอาหารสุดฮิต

มาเปิดตู้กับข้าวชาวอาเซียน เรียนรู้อาหารจานโปรดทั้ง 10 ชาติ รู้จักวัฒนธรรมการกิน วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น อิ่มกับอาหารสมอง เพื่อเตรียมพร้องก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เช่น อาหารกัมพูชา, อาหารไทย, อาหารบรูไน, อาหารฟิลิปปินส์, ฯลฯ รวมทั้งรู้จักกับเครื่องเทศของอาเซียน ชวนชิมอาหารอาเซียน ผู้อ่านที่สนใจการทำอาหาร หาอ่านได้ที่ห้องสมุด https://lib-km.hcu.ac.th/ หมวด TX724.5.A1อ259บ 2556

รายการอ้างอิง

อภิรดี มิโดมารุ และ ธารินี เหลืองอารีพร. (2556). เปิดตู้กับข้าวอาเซียน. กรุงเทพฯ : พาส เอ็นดูเคชั่น.

สนุกกับภาษาเขมร : ภาษาร่วมรากภาษาไทย
ก.พ. 2nd, 2016 by sirinun

20130903113500_4929

สนุกกับภาษาเขมร

ภาษาเขมรเป็นภาษาเก่าแก่ที่เคยใช้อย่างแพร่หลายในอุษาคเนย์ มีคำในภาษาไทย  จำนวนมากหยิบยืมมาจากภาษาเขมรทั้ง  อักษรขอมโบราณยังส่งผลต่อรูปแบบอักษร  ไทยก่อนพัฒนามาสู่ปัจจุบัน หนังสือ “สนุกกับภาษาเขมร ภาษาร่วมกับรากภาษาไทย” จึงเป็นหนังสือที่สนุกกับคำศัพท์ง่าย ๆ อาทิ คำทักทาย คำเรียกเครือญาติ อวัยวะ อาหาร ข้าวของเครื่องใช้ ดอกไม้ สัตว์ ยานพาหนะ ดินฟ้าอากาศ ไปจนถึงสำนวน-สุภาษิต และเพลงชาติ

รายการอ้างอิง
พลอย แสงลอย. (2556). สนุกกับภาษาเขมร : ภาษาร่วมรากภาษาไทย. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์.

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa