SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
โครงการพัฒนาบุคลากรงานบริการห้องสมุดและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหัองสมุด
ก.ค. 21st, 2016 by sirinun

โครงการพัฒนาบุคลากรงานบริการห้องสมุดและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหัองสมุด จัดขึ้น วันที่ 14 กรกฎคม 2559 เวลา 8.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารบุญชนะ อัตถากร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 

1469087913494-1

 

1469087909778

 

1469088555849

 

1469088543122

 

หัวข้อการสัมมนา

  1. ความคาดหวังของผู้ใช้บริการต่อห้องสมุดในยุคดิจิทัล  โดย ปณิธาน สืบนุการณ์
  2. ความสุขในการทำงาน และความรักความผูกพันต่อองค์การ โดย จตุพล ชมพูนิช
  3.  ความสุขในการทำงาน และความรักความผูกพันต่อองค์การ โดย อรพิมพ์ รักษาผล

จากการสัมมนาในครั้งนี้สิ่งที่ได้รับคือความคาดหวังในการให้บริการของห้องสมุดยุคใหม่ต่อผู้ใช้บริการ ต้องมีการบริการใหม่ๆ บรรยากาศใหม่ๆ หรือรูปลักษณ์ใหม่ๆ มีการนำคอมพิวเตอร์และระบบดิจิทัลมาใช้งานมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและเห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเด่นชัด ดังนั้นการให้บริการต้องเน้นเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ ห้องสมุดดิจิทัล มีการจัดการทรัพยากรต่างๆ ให้อยู่ในระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ดังนั้นบุคลากรห้องสมุดต้องใส่ใจการให้บริการแก้ผู้ใช้บริการที่มีความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยและความต่างวัยกันในยุคดิจิทัลนี้ด้วย

ความสุขในการทำงาน และความรักความผูกพันต่อองค์การ ทุกอาชีพ “มีศักดิ์ศรี” ไม่ต่างกัน เพราะ “ไม่มีอาชีพไหนอยู่ได้” โดยไม่ต้อง “พึ่งพา” อาชีพอื่นๆ “จงภูมิใจในอาชีพ”ที่คุณเลือกสรรและทำมันทุกวัน ด้วยหัวใจ จากคำพูดของอาจารย์ จตุพล ชมพูนิช วิทยากรนักพูดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในวงการนักพูด  ทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเกิดความมุ่งมั่นที่จะทำงานในอาชีพของตนเองให้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีความรักในองค์การของตนเองมากยิ่งขึ้น พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความพากเพียรและนำเอาปัญญาความรู้ที่ได้จากการสัมมนามาประยุกต์ใช้ต่อไป

ความสุขในการทำงาน และความรักความผูกพันต่อองค์การ คนเราทุกคนย่อมมีความรักความผูกพันต่อองค์การ และต่อหน้าที่การงาน นอกจากนี้ยังต้องมี “ความกตัญญูที่มีต่อองค์พระมหากษัตริย์” ที่ปกครองบ้านมือให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขทั่วหน้า เพื่อให้บ้านเมืองของเรามีการพัฒนาไปในทางที่ถูกต้องดีงาม

รายการอ้างอิง

เอกสารประกอบการสัมมนาโครงการพัฒนาบุคลากรงานบริการห้องสมุดและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหัองสมุด. (2559).  ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารบุญชนะ อัตถากร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ วันที่ 14 กรกฎคม 2559 เวลา 8.00 – 16.30 น.

ห้องสมุดที่เคยเป็นและห้องสมุดในอนาคต
ก.ค. 4th, 2016 by navapat

ห้องสมุดที่เคยเป็นและห้องสมุดในอนาคต

เป็นบทความรวบรวม ความคิดเห็นของบรรณารักษ์  สถาปนิก และนักวิชาการจากหลายสาขา ซึ่งมารวมตัวกันที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology, MIT) เพื่อให้ความเห็น และชี้ให้เห็นอนาคตของห้องสมุด

นอกเหนือจากการเป็นคลังหนังสือแล้ว ห้องสมุดเก่าแก่แห่งเมืองอเล็กซานเดรีย ยังเป็นแหล่งค้นคว้าทางวิชาการให้กับบรรดานักวิชาการ   คำว่า “Mouseion” เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า สถานที่ทำงานของเทพเจ้า Muses (เทพ Muses เป็นเทพแห่งวรรณกรรม และศิลปะ เป็นธิดาของเทพ Zeus ในตำนานกรีก : ผู้แปล)  ด้วยเหตุนี้ในห้องสมุดในสมัยแรกเริ่ม จึงประกอบไปด้วย  ห้องสอนหนังสือ (Exedra) โรงรับประทานอาหาร (Oinks) และ ทางเดินแบบมีหลังคา (Peripatos)  เมื่อสรุปรวมกันจึงแปลได้ว่า เป็นสถานที่นักวิชาการใช้สำหรับค้นคว้า และสนทนาทางวิชาการ  นักวิชาการ สามารถเดินถือตำราไปไหนมาไหนหรือรับประทานอาหาร ภายใต้ร่มเงานั้นได้ แม้ว่า ปัจจุบันเราอยู่ในยุคดิจิทัลแล้วก็ตาม แต่ความหมายโดยรวมของมันยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก

นับเป็นเวลา 1,000 ปีมาแล้ว ที่ห้องสมุด ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ และภาวะของสังคม ซึ่งแน่นอนว่า ข้อมูล และสภาวะทางสังคม ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ เช่น การเปลี่ยนจากโต๊ะดินเหนียว ไปเป็นตู้แบบที่มีล้อเลื่อน และกลายเป็นการสืบค้นแบบเข้ารหัส และเข้าสู่ยุคดิจิทัลในยุคปัจจุบัน ห้องสมุดจึงมีการปรับเปลี่ยน การอ่านออกเขียนได้ กลายเป็นมาตรฐาน เช่นเดียวกับ เหล่านักวิชาการ มีการรวมตัวกันมากขึ้น นิสัยการอ่านก็เปลี่ยนแปลง  มีวิธีการที่จะเข้าถึงข้อมูล หลายหมื่นข้อความ ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดมีการพัฒนา  มันได้เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางด้านข้อมูล และพฤติกรรมทางสังคม รวมทั้งนิสัยการอ่าน การเรียน  ล้วนแต่มีผลต่อรากฐานของห้องสมุด Read the rest of this entry »

ห้องสมุดดิจิทัล : ประสบการณ์และข้อพึงระวัง (Digital Library : Best Practice and Pit Fall)
มิ.ย. 12th, 2016 by pailin

จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการประจำปี 2558  เรื่อง  ห้องสมุดดิจิทัล : ประสบการณ์และข้อพึงระวัง  (Digital Library : Best Practice and Pit Fall) จัดโดย ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา (ช.บ.อ.)  สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย  เมื่อวันที่ 27  พฤศจิกายน 2558  ณ  ห้องประชุมชั้น 7  สำนักงานวิทยทรัพยากร  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยประกอบด้วยหัวข้อ ต่อไปนี้

  1.  แนวโน้มของห้องสมุดในยุค Digital Library
  2.  เล่าเรื่อง Digitized Rare Book หอสมุดสาขาวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  3.  D-Library : National Digital Content
  4.  ห้องสมุดดิจิทัล  ความคุ้มค่าในการลงทุนของมหาวิทยาลัย ?

Read the rest of this entry »

ห้องสมุดยุคใหม่ (Modern Library)
พ.ค. 25th, 2016 by sirinun

ห้องสมุดยุคใหม่ (Modern Library)

ห้องสมุดยุคใหม่ (Modern Library)

ปัจจุบันห้องสมุดยุคใหม่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหาร จัดการ มีการบริหารงานแบบใหม่ มีสารสนเทศหลายรูปแบบ เพื่อให้บริการเข้าถึงสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้บริการ และมีการจัดบรรยากาศห้องสมุดให้สวยงาม และน่ารื่นรมย์ ตลอดจนมีบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดคอยให้คำปรึกษาอย่างเป็นมิตร หนังสือ ห้องสมุดยุดใหม่ (Modern Library) เป็นหนังสือประกอบการเรียนการสอนสำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่ศึกษาในรายวิชาสารสนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษาค้นคว้า และเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์โดยทั่วไป เนื้อหากล่าวถึงห้องสมุดยุคใหม่ การใช้ห้องสมุดและการให้บริการสารสนเทศ การค้นหาสารสนเทศออนไลน์และสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต ผู้อ่านสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย หมวดหมู่ Z678.9 พ247ห 2557

รายการอ้างอิง

พรพรรณ จันทร์แดง. (2557). ห้องสมุดยุคใหม่ (Modern Library). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

 

 

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa