SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การสืบค้นข้อมูลเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็ม (Digital Collection) จากระบบ ThaiLIS
ก.ค. 28th, 2019 by kalyaraksa

ตามที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ    มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมโครงการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็ม (Digital Collection) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551  เพื่อให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยง่ายมีความสะดวก ไม่เสียค่าใช้จ่าย   ทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์    การวิจัย   หนังสือหายาก   และบทความ  ทั้งที่เป็นของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอื่น ๆ    ที่เข้าร่วมโครงการ  จึงขอแนะนำวิธีการค้นข้อมูล เบื้องต้น (Basic search)  ตามขั้นตอนดังนี้

เริ่มต้นจากหน้าเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ (https://lib-km.hcu.ac.th) Read the rest of this entry »

ห้องสมุดดิจิทัล : ประสบการณ์และข้อพึงระวัง (Digital Library : Best Practice and Pit Fall)
มิ.ย. 12th, 2016 by pailin

จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการประจำปี 2558  เรื่อง  ห้องสมุดดิจิทัล : ประสบการณ์และข้อพึงระวัง  (Digital Library : Best Practice and Pit Fall) จัดโดย ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา (ช.บ.อ.)  สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย  เมื่อวันที่ 27  พฤศจิกายน 2558  ณ  ห้องประชุมชั้น 7  สำนักงานวิทยทรัพยากร  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยประกอบด้วยหัวข้อ ต่อไปนี้

  1.  แนวโน้มของห้องสมุดในยุค Digital Library
  2.  เล่าเรื่อง Digitized Rare Book หอสมุดสาขาวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  3.  D-Library : National Digital Content
  4.  ห้องสมุดดิจิทัล  ความคุ้มค่าในการลงทุนของมหาวิทยาลัย ?

Read the rest of this entry »

การจัดการหนังสือหายาก ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 18th, 2016 by dussa

หนังสือหายาก (Rare Book) หมายถึง หนังสือที่มีคุณค่าทั้งในด้านเนื้อหา ความหมายในด้านการพิมพ์ ไม่สามารถหาซื้อจากร้านหนังสือทั่วไป นอกจากร้านค้าหนังสือเก่า และมีราคาแพง หรือร้านขายของโบราณ

คุณค่าของหนังสือดูจากเกณฑ์ เช่น ความหายากซึ่งอาจเกิดจากลักษณะพิเศษ เช่น การพิมพ์ด้วยตัวแกะไม้ (blockbooks) หนังสือที่ผลิตโดยการเรียงพิมพ์คุณค่าด้านความเป็นเอกสารปฐมภูมิด้านประวัติการพิมพ์ คุณค่าด้านความเป็นหนังสือที่มีจำนวนพิมพ์จำกัด หนังสือที่พิมพ์ครั้งแรก หนังสือที่มีความเด่น เช่น เป็นผลงานเรื่องเดียวหรือส่วนน้อยที่แตกต่างไปจากผลงานส่วนมากของนักเขียนสามัญ เรื่องที่ปลอมแปลงขึ้น หนังสือเก่าที่สวยงาม หนังสือที่มีประวัติการครอบครอง เช่น มีหนังสือทีมีขนาดและรูปเล่มต่างไปจากรูปแบบธรรมดาทั่วไป ลายมือชื่อหรือป้ายบรรณสิทธิ์ของเจ้าของ เป็นหนังสือที่ใช้วัสดุมีค่าจัดทำอย่างประณีตสวยงาม เช่น ใช้หนัง แพร ไหม แผ่นทองแทนกระดา หรือจัดพิมพ์จำนวนจำนวน (Limited edition) เป็นต้น

20160205_101839

หนังสือที่พิมพ์ในช่วง พ.ศ. 2459-2505

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa