สำนักงานเลขานุการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดโครงการ “กิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ” ซึ่งโครงการดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 6 เรื่อง การบริหารจัดการศูนย์บรรณสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการที่ 2.6 บริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยคุณธรรมและคุณภาพอย่างยั่งยืน (Life Long Quality) โดยรวมถึง การมีสุขภาพที่ดี (Life Long Health Quality) ซึ่งมีระยะเวลาการจัดกิจกรรมตลอดปีการศึกษา 2560 Read the rest of this entry »
โรคภัย + ไม่เจ็บ
หนังสือ “โรคภัย+ไม่เจ็บ” จะช่วยทำให้ผู้อ่านได้รู้เท่าทัน 7 โรคฮิต ด้วยหนังสือการ์ตูนแพทย์ที่เข้าใจง่ายๆ ได้แก่ โรคภูมิแพ้ โรคอ้วน โรคกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อน โรคออฟฟิศซินโดรม โรคไมเกรน และโรคไข้เลือดออก โดยหมอหมึกดุ๋ย ผู้เขียนการ์ตูนเรื่องนี้ ได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพที่ดีจะต้องดูแลตัวเองอย่างไร ภาษาที่เขียนเข้าใจง่ายๆ มีการ์ตูนประกอบในเรื่องด้วยน่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง หมวดหมู่ WB100 ห177ร 2559
รายการอ้างอิง
หมอหมึกดุ๋ย. (2559). โรคภัย+ไม่เจ็บ. กรุงเทพฯ : Her Publishing.
เรื่องสุขภาพสนุกๆ สไตล์หมอแมว
สุขภาพเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก หมอแมว มีหมี เป็นหมอคนแรกๆ ใน Social Network ที่คนท่องโลก Internet จะรู้จักเป็นอย่างดี หมอแมวมีเรื่องเล่าสนุกๆ มาเล่าให้ผู้อ่านได้รับรู้เรื่องโรคที่เกิดขึ้นมากมาย โดยใช้สำนวนที่ง่ายทันเหตุการณ์ ว่ามีโรคอะไรที่กำลังฮิตและเป็นกันมากมีข้อสงสัยข้องใจต้องถามหมอแมว ได้โดยติดตามที่จาก facebook , Instagram, Twitter หนังสือเล่มนี้มีสาระสนุกสนาน มีรูปการ์ตูนสนุกประกอบให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินและสนุกสนาน หมวดหมู่ WA100 ห177ร 2559
หมอแมว มีหมี. (2559). เรื่องสุขภาพสนุกๆ สไตล์หมอแมว. กรุงเทพฯ : ต้นมะนาว พับลิชชิ่ง.
หมอแล็บความเชื่อผิดๆ ชิดซ้ายเรื่องหลอกลวงชิดขวา
“หมอแล็บความเชื่อผิดๆ ชิดซ้ายเรื่องหลอกลวงชิดขวา” เป็นหนังสือที่เขียนโดยนักเทคนิคการแพทย์ที่มีประสบการณ์และความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับสารอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ยาลดความอ้วน อาหารเสริม การฉีดสารสร้างความขาว ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ “หมอแล็บ”ได้เปิดโปงถึงภัยของสารอันตรายเหล่านั้น และยังช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายในการรักษาดูแลสุขภาพตัวเองให้มากขึ้น หมวดหมู่ WA100 ภ414ห 2559
ภาคภูมิ เดชหัสดิน. (2559). หมอแล็บความเชื่อผิดๆ ชิดซ้ายเรื่องหลอกลวงชิดขวา. กรุงเทพฯ : เพชรประกาย.
คู่มือดูแลสุขภาพด้วยตนเองเบื้องต้น
การดูแลสุขภาพด้วยตนเองเบื้องต้น นับว่าได้ประโยชน์ต่อตนเอง รวมถึงคนรอบข้างเป็นอย่างมาก สามารถที่จะดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลา หากมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วยก็สามารถดูแลในเบื้องต้นได้ หนังสือ “คู่มือดูแลสุขภาพด้วยตนเองเบื้องต้น” เล่มนี้ได้รวบรวมเรื่องการดูแลร่างกายของคนเรา เช่น น้ำหนักกับสุขภาพ, การรักษาความดันโลหิตสูง, สมุนไพรช่วยลดไขมัน ฯลฯ เนื้อหามีประโยชน์มาก ทำให้ผู้อ่านได้รับความรู้ และแก้ปัญหาในเบื้องต้น ก่อนจะไปหาหมอเพื่อทำการรักษา หมวดหมู่ WB327ค695 2558
วรกานต์ นิยมวิทย์. (บรรณาธิการ). (2558). คู่มือดูแลสุขภาพด้วยตนเองเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : กอแก้ว.
เรื่องสุขภาพต้องฟังหมอ
การมีสุขภาพดีเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ต้องการด้วยกันทั้งนั้น แต่ทำไมหลายๆ คนต้องมีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน คำตอบง่ายๆ ก็คือความไม่รู้ในเรื่องการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการออกกำลังกายที่ถูกวิธี ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ต้องการแนะนำการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปหาหมอให้เสียค่าใช้จ่ายมากมาย สามารถช่วยให้ผู้อ่านที่สนใจในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและปราศจากโรคโดยการแนะนำจากแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ หมวดหมู่ WB327 ห177ร 2558
หมอน้ำหวาน. (2558). เรื่องสุขภาพต้องฟังหมอ. กรุงเทพฯ : ADJ.
นาฬิกาชีวิต เพื่อสุขภาพดีและมีความสุข
การดำเนินชีวิตเพื่อให้มีสุขภาพดีและมีความสุข ส่วนใหญ่เน้นที่การดำเนินชีวิตประจำวันตามวงจรนาฬิกาชีวิตในแต่ละวัน เพื่อให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานอย่างสม่ำเสมอเป็นปกติ ตั้งแต่ตื่นนอน ออกกำลังกาย ขับถ่าย กินอาหาร ทำงานผักผ่อน หลับนอน ทุกอย่างต้องทำให้เป็นเวลาแน่นอน เพื่อให้ร่างกายทำหน้าที่ตามเวลาอย่างอัตโนมัติเป็นผลดีต่อสุขภาพ หนังสือเล่มนี้แนะนำวิธีการดูแลร่างกายและจิตใจให้เปี่ยมสมรรถภาพ และมีความสุขในทุกๆ วัน เหมาะสำหรับผู้อ่านที่ต้องการดูแลสุขภาพนำมาประยุกต์ใช้ตามความชอบโดยเฉพาะคนที่ทำงานออฟฟิศที่รักสุขภาพ หมวดหมู่WB327 ค113น 2555
คงคา หิมาลัย. (2555). นาฬิกาชีวิต เพื่อสุขภาพดีและมีความสุข. กรุงเทพฯ : คลื่นอักษร.
กินถูกสุขสง่า
สังคมปัจจุบันมีแต่ความเร่งรีบจนทำให้คนทำงานไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร หรือพนักงานไม่มีเวลาออกกำลังกาย จนทำให้เป็นโรคต่าง ๆ เช่น ความดัน เบาหวาน ฯลฯ ขอแนะนำให้อ่าน “กิน ถูก สุข สง่า” ซึ่งบอกวิถีการกิน และการอยู่ เพื่อไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ผู้อ่านจะได้ความรู้เรื่องโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร เพราะกินไม่ถูกตามหลักโภชนาการ และขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง หมวดหมู่QU145 ส152ก 2555
สง่า ดามาพงษ์. (2555). กินถูกสุขสง่า. กรุงเทพฯ : พีเพิลมีเดีย.
การเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ
Aerobic Dance for Health
บทคัดย้อ:
การเต้นแอโรบิก (aerobic dance) เพื่อสุขภาพเป็นการออกกำลังกายอีกชนิดหนึ่งที่ช่วยพัฒนด้านความแข็งแรง ความอดทน ความมีพลัง นอกจากนี้ยังเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจ ปอด กล้ามเนื้อ ข้อต่อต่างๆ ของร่างกาย อีกทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อน ครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน ประกอบกับช่วยพัฒนาทางด้าน จิตใจ อารมณ์ และสังคม ช่วยให้มีสุขภาพที่ดี ปฏิบัติภาระหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีบุคลิกภาพที่ดี จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของการเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ คือ ก่อให้เกิดความสนุกสนานควบคู่ไปกับเสียงเพลง โดยมีจังหวะดนตรีเป็นเครื่องกำหนดการเคลื่อนไหวร่างกาย ถ้าจะให้ได้ผลด้านสุขภาพและสมรรถภาพจะต้องมีการจัดโปรแกรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผู้ที่จะออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิก ทำให้การเต้นแอโรบิกเป็นกิจกรรมบริหารร่างกายที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาบได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้นโดยเฉพาะการออกกำลังกายที่เรียกว่า การเต้นแอโรบิก (aerobic dance)
อังคะนา ศรีตะลา. (2547). การเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 88-101.
อ่านบทความฉบับเต็ม
ระบบสุขภาพองค์รวม
การจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์ในประเทศไทยได้เริ่มมานาน ระยะแรกมีการสอนทั้งการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนตะวันตก ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนจนกระทั่งมูลนิธิร็อกกี้ เฟอร์เรย์เข้ามาสนับสนุนส่งเสริมคนไทยเรียนวิชาแพทยศาสตร์ในประเทศแถบตะวันตก โดยเห็นว่าควรส่งเสริมเน้นการแพทย์แผนตะวันตกให้กับนักศึกษาไทย จึงทำให้มีการสอนการแพทย์แผนไทยได้เพียงประมาณ 12 ปีเท่านั้น ระยะเวลา 100 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการแพทย์อยู่หลายแผนหลายรูปแบบ ทั้งการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน การแพทย์แผนตะวันตก การแพทย์แผนทิเบต ต่อมาได้มีการศึกษาวิจัยค้นคว้าจากการผสมผสานการแพทย์หลายแผนทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ขึ้น
เกษม วัฒนชัย. (2547). ระบบสุขภาพองค์รวม. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (15), 5-13.