SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
สื่อดิจิทัล/สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ
ธ.ค. 25th, 2020 by sirinun

จากการไปศึกษาดูงานที่ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ Unmanned Library ภายใต้ชื่อ “Chula Ultimate X Library” โดย สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 ทำให้รู้สึกและมีความเห็นว่า ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก็มีสื่อทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่พัฒนาเองและที่ซื้อมาให้บริการ อยู่พอสมควร น่าจะได้มีการรวบรวมและแนะนำ ให้เป็นที่รู้จัก และจะได้มีการเข้าถึงในวงกว้างมากขึ้น

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่จะขอแนะนำ ขอแบ่งเป็น

1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศพัฒนาเอง

2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศจัดซื้อมาให้บริการ

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศพัฒนาเอง หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทรือฐานข้อมูลที่เก็บสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อดิจิทัล ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือมหาวิทยาลัยพัฒนาเอง โดยครอบคลุมถึงการดิจิไทซ์เอกสาร พัฒนาระบบเพื่อให้สืบค้น และเข้าถึงได้ นำเผยแพร่ขึ้นเว็บไซต์ ได้แก่

1. ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย เป็นฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ดิจิไทซ์และให้บริการตั้งแต่ฉบับปี 2464 จนถึง ปี 2530 และยังดิจิไทซ์อย่างต่อเนื่อง สามารถอ่านรายละเอียดของประวัติความเป็นมาได้จากบทความ ความร่วมมือระหว่างศูนย์บรรณสารสนเทศกับหอสมุดแห่งชาติ ที่  https://lib-km.hcu.ac.th/library-cooperation-national-library-thailand-hcu  เป็นฐานข้อมูลระบบปิด นักวิจัยหรือผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าสามารถติดต่อมาที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อขออนุญาตการเข้าใช้

2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มูลนิธิป่อเต็กตึํง โรงพยาบาลหัวเฉียว สามารถเข้าอ่านได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.th/index.php/e-book-hcu

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของ มฉก. / มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง

Read the rest of this entry »

อังกฤษยังคงพิมพ์กฎหมายบนหนังสัตว์ต่อไป
ก.พ. 16th, 2016 by supaporn

ทำไมอังกฤษ จึงยังคงการบันทึกกฎหมายในแบบเดิม หรือบนหนังสัตว์ที่ทำจากหนังลูกวัว หรือหนังแพะ เพราะหนังสัตว์เหล่านี้ สามารถเก็บไว้ได้ในระยะยาว แม้แต่ Magna Carta ต้นฉบับ ที่มีอายุมากกว่า 800 ปี ก็ยังมีสภาพคงอยู่

คำตอบง่ายๆ คือ ไม่อาจเดาได้ว่า สื่อดิจิทัล จะสามารถเก็บเอกสารเหล่านี้ไว้ได้ในระยะยาวได้เหมือนหนังสัตว์หรือไม่ ด้วยสื่อดิจิทัล จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ต้องมีการเปลี่ยนถ่าย ถ่ายโอน ไปยังสื่อบันทึกอยู่ตลอดตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป  อ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.bbc.com/news/magazine-35569281

รายการอ้างอิง
Why is the UK still printing its laws on vellum? (2016). Retrived 16 Feb 2016 from http://www.bbc.com/news/magazine-35569281

การกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต
ก.พ. 9th, 2016 by sirinun

การกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต

การกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต

หนังสือเล่มนี้ได้ประมวลและนำเสนอเรื่องราวสังคมเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต เช่น โครงสร้างของการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตในระดับสากล องค์ประกอบของการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต สถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ต การอภิบาลอินเทอร์เน็ต แนวคิดและทฤษฎีในการกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต เว็บ 2.0 และการกำกับดูแล 2.0 แนวทางการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตในบริบทสื่อหลอมรวม ตลอดจนประสบการณ์ของการกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ตทั้งในระดับสากล ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ รวมไปถึงโครงสร้างการกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย หมวดหมู่ TK5105.8854 พ735ก 2556

รายการอ้างอิง

พิรงรอง รามสูต.( 2556). การกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa