ควอนตัมคอมพิวเตอร์
บทคัดย่อ:
จากหลักแห่งความไม่แน่นอนของเวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg) และอัลกอริทึมของปีเตอร์ ชอร์ (Peter Shor) ได้นำมาสู่การสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่มีตัวคิวบิต (qubit) หรือควอนตัมบิตเป็นหน่วยแสดผลข้อมูลได้สามสถานะ คือ “0” หรือ “1” หรือ “0,1” ได้พร้อมกันในคราวเดียว โดยที่สถานะการแสดงผลแบบ “0.1” นี้เรียกในทางฟิสิกส์ว่า “superposition state” ขณะที่คอมพิวเตอร์ทั่่วไปแสดงผลข้อมูลเป็นบิต (bit) ได้เพียงสองสถานะคือ “0” หรือ “1” ส่งผลให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์มีศักยภาพในการประมวลผลสูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปหรือซูเปอร์คอมพิวเตอร์ อันมีประโยชน์ในการคำนวณโจทย์คณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนและการเข้ารหัสลับ (encryption) เป็นต้น หัวใจสำคัญอีกอย่างหนึ่งของควอนตัมคอมพิวเตอร์ คือ gate operation และ ion traps ซึ่งเหมือนกับการกระทำพื้นฐานทางตรรกศาสตร์ในการสร้างเกทรูปแบบต่างๆ เช่น AND gate OR gate และ XOR gate เป็นต้น พัฒนาการของควอนตัมคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องที่น่าสนใจและยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
ธนาวุฒิ ประกอบผล. (2548). ควอนตัมคอมพิวเตอร์. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (17), 46-53.
อ่านบทความฉบับเต็ม