SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
สะสมไว้ ใช้เล่าเรื่อง
ส.ค. 27th, 2016 by supaporn

สะสมไว้ใช้เล่าเรื่อง

สะสมไว้ใช้เล่าเรื่อง

หนังสือประกอบนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ 60 พรรษา

Story-telling-2

ขออัญเชิญพระราชนิพนธ์คำนำ “…ของที่รวบรมมาประมาณ จะเรียกว่า 50 ปีก็ได้ มีทั้งของมีราคา  …  ทำให้คิดว่าผู้ที่มาพบเห็น อยากจะมีโอกาสได้ศึกษาว่าในสมัยก่อนๆ มีของประเภทใดบ้าง ของบางอย่างนี่พอ 50 ปีแล้วก็ไม่มีขายในท้องตลาด หรือเป็นของที่ถือว่าเก่าแก่เป็นของโบราณขึ้้นมาแล้ว … ในการไปเยี่ยมราษฎรในที่ต่างๆ บางทีก็มีคนที่มีของต่างๆ ที่ประดิษฐ์เองหรือของที่รวบรวมไว้เขาก็อยากจะให้ ก็เอามารวมเอาไว้ หรือมีคนที่มาหา บางทีก็ให้เป็นของ หรือไปต่างประเทศก็มีคนที่มาได้ของที่แปลกๆ ที่ไม่เคยเห็นในประเทศไทย ก็เอามารวมไว้ พอไปดูเราอาจจะศึกษาได้ว่าธรรมเนียมประเพณีของที่ต่างๆ เขาทำอย่างไร ประเพณีบ้านเราก็ไม่เหมือนกัน หรือวัฒนธรรมของไทยของต่างประเทศ มันก็ไม่เหมือนกัน …”

ของสะสม

ของสะสม

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชอัธยาศัยใฝ่ศึกษาและสนพระราชหฤทัยศิลปวิทยาการทุกสาขา พระราชอัธยาศัยนี้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงปลูกฝังมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อเสด็จฯ ไปสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก จึงทรงสะสมสิ่งของอันเป็นตัวแทนวัฒนธรรมและวิทยาการของชนชาติต่างๆ

การทรงสะสมสิ่งของเหล่านี้มีประโยชน์เพื่อการศึกษาและเป็นเครื่องเตือนความจำ ของสะสมส่วนพระองค์ตั้งแต่ยังทรงทระเยาว์จนถึงปัจจุบันมีหลายประเภท มีทั้งของที่มีค่าและไม่มีบูลค่า แต่ทรงเก็บไว้เพราะมีความหมายทางสังคมและวัฒนธรรมแสดงถึงประวัติศาสตร์ของถิ่นต่างๆ

อีกประการหนึ่ง ทรงพระราชดำริว่าสิ่งของเหล่านี้จะเป็นประโยชน์มากขึ้นถ้าจัดเก็บและจัดแสดงตามหลักพิพิธภัณฑ์สากล จึงโปรดเกล้าฯ ให้คณะทำงานเก็บรวบรวมไว้ที่พิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์บ้านสวนปทุม จ. ปทุมธานี ทรงสนับสนุนให้คณะทำงานค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม และติดตามดูกิจการพิพิธภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่ได้ชมได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ มีความเข้าใจใฝ่รู้ในศิลปวิทยาการ เกิดความคิดสร้างสรรค์และซาบซึ้งในวัฒนธรรมแบบต่างๆ  อันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่งชนชาติ (คำนำ)

รายการอ้างอิง

พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ.  ของสะสมไว้ใช้เล่าเรื่อง. กรุงเทพฯ : พิพิธภัณฑ์ฯ, 2558.

ปรารภ กวีนิพนธ์ เรื่อง พระรามชาดก
มิ.ย. 6th, 2016 by supaporn

หนังสือ ปรารภ กวีนิพนธ์ เรื่อง พระรามชาดก จัดทำโดย กองทุนพระมหาชนก มหาวิทยาลัยขอนแก่น แปลจาก หนังสือ พระลัก พระลาม หรือ พระลามชาดก (ซึ่ง ดร. สัจจิดานันดะ สะหาย เรียบเรียงไว้เป็นภาษาลาว และจัดพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1973 โดยสถานเอกอัครราชทูตอินเดีย  ณ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)  เพื่อจัดพิมพ์เป็นที่ระลึก งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558

ปรารภ กวีนิพนธ์ เรื่อง พระรามชาดก

ปรารภ กวีนิพนธ์ เรื่อง พระรามชาดก

วิจิตรแพรวา : มรดกภูมิปัญญาสู่ราชินีแห่งไหม (Artistic Prae-wa : Wisdom Inheritance into Queen of Silk)
มี.ค. 30th, 2016 by supaporn

วิจิตรแพรวา : มรดกภูมิปัญญาสู่ราชินีแห่งไหม (Artistic Prae-wa : Wisdom Inheritance into Queen of Silk)

วิจิตรแพรวา : มรดกภูมิปัญญาสู่ราชินีแห่งไหม (Artistic Prae-wa : Wisdom Inheritance into Queen of Silk)

วิจิตรแพรวา : มรดกภูมิปัญญาสู่ราชินีแห่งไหม (Artistic Prae-wa : Wisdom Inheritance into Queen of Silk) จัดทำโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558 เนื่องด้วยผ้าทอมือโบราณของอีสาน มีความหลากหลายตามกรรมวิธีการถักทอและลักษณะใช้สอย จึงเป็นเรื่องที่ยากสำหรับคนรุ่นปัจจุบันในการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจให้แจ่มชัดถึงสรรพตำรา-สรรพวิชาอันเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ในการถักทอผ้าไทยที่ครอบคลุมไว้อย่างทั่วถึงและสมบูรณ์แบบที่สุด จึงเป็นปฐมบทที่จัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา

เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย

  • พระเกียรติคุณแผ่ไพศาลสายธารพระเมตตา
  • คนไทไกลบ้าน : จากเมืองหล้าฟ้าแถนถึงเมืองลุ่มลีดเลียง
  • เสื้อดำ แพรเบี่ยง ซิ่นไหม เครื่องย้องของเอ้สตรีผู้ไทสองฝั่งโขง
  • วิจิตรแพรวา มรดกภูมิปัญญาสู่ราชินีแห่งไหม
  • ผ้าแส่ว : ปฐมบทแห่งลวดลายบนผืนแพรวา
  • แพรวาฝ้ายแดงยอ
  • สุนทรียศาสตร์ความงามที่ซ่อนบนผืนผ้าของชาวผู้ไทย
  • ช่างทอแพรวาถักทอดวงใจถวายไท้ 60 พระชนม์
ความรักใดจะไม่ปวดร้าว
มี.ค. 30th, 2016 by supaporn

ความรักใดจะไม่ปวดร้าว

ความรักใดจะไม่ปวดร้าว

พระราชนิพนธ์แปล ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากนวนิยายของ ชวนหนี ซึ่งสะท้อนให้เห็นปัญหาสังคมสมัยใหม่ อันส่งผลต่อนิยามของความรักในมิติต่างๆ โดยเฉพาะจากมุมมองของผู้หญิง ผู้เป็นทั้งแม่และภรรยา

ตัวเอกของเรื่องเป็นหญิงสาวสมัยใหม่ผู้มีศรัทธาต่อความรักและตัดสินใจแต่งงานด้วยความรักแม้จะไม่ได้รับการยินยอมจากพ่อแม่ เธอเสียสละเพื่อสามี ยอมส่งเสียสามีจนเรียนจบปริญญาโท และเธอตัดสินใจทำแท้ง เมื่อคิดว่าตนเองไม่พร้อมเป็นแม่ แต่สุดท้ายเธอยอมมีลูก เพราะเห็นแก่สามี ผู้แสดงท่าทีรักเด็กหนักหนา

การมีลูกทำให้เธอไม่าสามารถทำงานได้ ต้องอยู่บ้านเลี้ยงลูกและเป็นทุกข์ เพราะรู้สึกว่าตัวตนของเธอสลายไป แม้แต่ชื่อของเธอ ก็ไม่มีใครใช้เรียกอีกต่อไป ค่านิยมสมัยใหม่ที่ส่งเสริมให้ผู้หญิงพึ่งพาตนเอง เป็นอิสระ เท่าเทียมกับชาย กลับทำให้เธอเป็นทุกข์แสนสาหัส จนคิดหนีลูกและสามี แต่ในที่สุดเธอก็ต้องกลับมาบ้าน เพราะเพื่อนรักผู้ที่เธอหวังว่าจะเป็นที่พึ่งสุดท้ายของเธอกำลังป่วยหนัก ต้องให้แม่ผู้ชราดูแล และไม่อาจช่วยเธอได้

นวนิยายรักเรื่องนี้ เริ่มด้วยการตั้งคำถามกับค่านิยมเก่าที่บูชาเทิดทูนความรัก ทั้งความรักของพ่อแม่ ความรักของหนุ่มสาว ความรักของเพื่อน และจบลงอย่างชาญฉลาด ด้วยความตระหนักรู้ของตัวละครเอกว่า ไม่มีความรักใดจะไม่ปวดร้าว แต่ผู้จะเปลี่ยนความปวดร้าวนี้เป็นปิติสุขได้นั้นก็คือ ผู้มีความรักนั้นเอง (พระราชนิพนธ์คำนำ)

ชีวิตดีดี มีได้ทุกวัน
มี.ค. 15th, 2016 by sirinun

ชีวิตดีดีมีได้ทุกวัน

ชีวิตดีดีมีได้ทุกวัน

สุขภาพดีเริ่มต้นได้ด้วยทางเลือกง่าย ๆ โดยการออกกำลังกาย เช่น การวิ่ง โยคะ และการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน เป็นต้น เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระชนมายุครบ 5 รอบ (60 พรรษา) ในปี พ.ศ. 2558 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ขอจัดพิมพ์ซ้ำบทพระราชนิพนธ์ “กีฬาเป็นยาวิเศษ” บทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ซึ่ง สสส. ให้ความสำคัญของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ให้คนไทยมีสุขภาพดี ห่างไกลโรคภัย โดยเชิญบทพระราชนิพนธ์ “กีฬาเป็นยาวิเศษ” มานำเสนอเนื้อหาการออกกำลังกายที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านให้เข้าถึงกิจกรรมการออกกำลังกาย ไว้ในหนังสือ “ชีวิตดีดี มีได้ทุกวัน” เพื่อส่งเสริมสุขภาพทั้งกายและใจของประชาชนให้แข็งแรงมีสุขภาพที่ดี  หมวดหมู่QT255 ก397ช 2558

รายการอ้างอิง

กัลย์จีรา ชาตินันทฤกษ์. (2558). ชีวิตดีดี มีได้ทุกวัน. กรุงเทพฯ : ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

Read the rest of this entry »

นิทรรศการพระสาทิสลักษณ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช 2558
มี.ค. 2nd, 2016 by supaporn

นิทรรศการพระสาทิสลักษณ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช 2558

นิทรรศการพระสาทิสลักษณ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช 2558

กระทรวงวัฒนธรรม สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร่วมเฉลิมฉลองจัดงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลสมัยแห่งพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมเขียนพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 77 ภาพ โดยเชิญศิลปินทั่วประเทศร่วมแสดงความจงรักภักดีผ่านภาพเขียน และได้จัดพิมพ์หนังสือนิทรรศการพระสาทิสลักษณ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช 2558 เล่มนี้ ขึ้นด้วย เพื่อจะได้ชื่นชมพระบารมีอย่างเต็มที่ และเกิดความสุนทรีย์ทางศิลปะโดยทั่วกัน

รายการอ้างอิง
สายไหม จบกลศึก สมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์ และ เบญจมาส แพทอง, บรรณาธิการ.  (2558). นิทรรศการพระสาทิสลักษณ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช 2558. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม.

ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม
ก.พ. 19th, 2016 by supaporn

ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม

ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ 2 เมษายน 2534 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จึงได้จัดพิมพ์หนังสือเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 โดยคัดเลือกหนังสือด้านศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าและหายากมาจัดพิมพ์

ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ ได้เลือก “ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม” พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นฉบับที่พระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี โปรดให้พิมพ์ในงานเฉลิมพระชันษา พ.ศ. 2468 มาจัดพิมพ์ เพราะเป็นหนังสือที่มีคุณค่าและให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือว่าเป็นประเทศแรกในโลกตะวันออกที่มีการสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (คำนำ)

รายการอ้างอิง

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. (2558). ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน).

ตำราฟ้อนรำ
ก.พ. 19th, 2016 by supaporn

ตำราฟ้อนรำ ฉบับเรียบเรียงในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร

ตำราฟ้อนรำ ฉบับเรียบเรียงในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ 2 เมษายน 2534 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จึงได้จัดพิมพ์หนังสือเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 โดยคัดเลือกหนังสือด้านศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าและหายากมาจัดพิมพ์

หนังสือเล่มแรกที่คัดเลือกมาจัดพิมพ์ คือ หนังสือ “ตำราฟ้อนรำ” ฉบับเรียบเรียงในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร ซึ่งเป็นฉบับที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ในปี พ.ศ. 2466 ว่าด้วยอธิบายตำนานการฟ้อนรำ ว่าด้วยตำรารำของไทยและว่าด้วยท่าโขน ซึ่งเป็นตำรานาฏยศาสตร์อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของไทย ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ได้รับต้นฉบับจาก ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี (คำนำ)

รายการอ้างอิง

ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน). (2558). ตำราฟ้อนรำ. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน).

รอยยิ้มและน้ำตาของหัวใจ
ก.พ. 16th, 2016 by sirinun

รอยยิ้มและน้ำตาของหัวใจ

รอยยิ้มและน้ำตาของหัวใจ

วรรณกรรมจีนร่วมสมัย 4 เรื่องที่น่าสนใจ เช่น “โคนส้มดวงน้อย”  “หมิงจื่อกับเหมียวน้อยมีจื่อ” “สาวน้อยเสี่ยวหยูว” “ตำนานกับข้าวคู่” โดยผู้เขียนวรรณกรรมทั้ง 3 คนล้วนเป็นผู้หญิงทั้งหมด ซึ่งผู้เขียนได้สะท้อนว่าความรักเป็นทั้งรอยยิ้มและน้ำตาของหัวใจมนุษย์ที่ยากจะอธิบายได้อย่างกระจ่างชัดเหมาะสำหรับผู้อ่านที่สนใจในวรรณกรรมจีน หมวดหมู่ รส ซ711ร  2558

รายการอ้างอิง

ปิงซิน, เหยียนเกอหลิง, ซูเฉี้ยว. (2558) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แปล. รอยยิ้มและน้ำตาของหัวใจ. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์.

 

 

การแปรรูปวรรณกรรม
ก.พ. 16th, 2016 by supaporn

การแปรรูปวรรณกรรม เป็นหนังสือชุด ที่ระลึก เนื่องใน งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 และ วาระครบ 20 ปี ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับพระราชทาน พระเกี้ยวทองคำ ในฐานะสถาบันส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น พุทธศักราช 2537 โดยแบ่งเนื้อหาเป็น 3 เล่ม คือ

  • แปล แปลง แปรรูป บทละครและบทภาพยนตร์
  • บทละคร แปล เรื่อง มหาภารตะ
  • วรรณกรรมแปลงรูป

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa