SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ดอกไม้ถวายพ่อหลวง “ดอกดารารัตน์”
มิ.ย. 19th, 2017 by uthairath

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ร่วมมือร่วมใจทำกิจกรรมร่วมประดิษฐ์ดอกไม้จันทร์จากเปลือกข้าวโพดทำเป็น “ดอกดารารัตน์” ในวันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2560 เวลา 9.30 – 16.00 น. ณ ห้องอาหารบุคลากร อาคารอำนวยการ ชั้น 1 เจ้าของกิจกรรมคือ กองคลัง นำทีมโดย วิทยากร จำนวน 2 ท่าน จากศูนย์น้ำใจไมตรี กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

  1. คุณเอื้อยจิตต์  ทรางแสวง
  2. คุณดาราวรรณ เชี่ยวศาสตร์

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกันมากมาย เพื่อทำถวายพ่อหลวง (ในหลวง ร.9)เป็นครั้งสุดท้าย ผู้เขียนจึงอยากอธิบายถึงทำไมต้องเป็น “ดอกดารารัตน์” จากเว็บไซต์ http://www.tnews.co.th/contents/317166 ได้อธิบายความหมายของ ดอกดารารัตน์ ไว้ดังนี้

“ดอกดารารัตน์ หรือดอก Daffodil เป็นดอกไม้ทรงโปรดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และพระราชทานให้กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถอยู่เสมอ เมื่อครั้งยังทรงศึกษาและประทับอยู่ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ “ดอกดารารัตน์” นิยมใช้มอบให้แก่บุคคลอันเป็นที่รัก เพื่อบอกว่าไม่เคยหวังสิ่งใดตอบแทน และยังหมายถึง เกียรติยศ ความกล้าหาญ สัญลักษณ์ของความหวัง ชื่อ “ดอกดารารัตน์” ยังมีความหมายที่ลึกซึ้ง โดยคำว่า “ดารา” หมายถึง ดวงดาว คือสิ่งที่อยู่สูงสุด คำว่า “รัตน์” หมายถึง แก้ว คือ สิ่งที่มีค่า” Read the rest of this entry »

อมตะ…แห่งรัก
มิ.ย. 8th, 2016 by sirinun

อมตะ...แห้งรัก

อมตะ…แห้งรัก

“ความรัก” คือพลังอันทรงอานุภาพ ที่บันดาลให้ผู้คนทั้งหลายมีความปรารถนาที่ดีต่อกัน และกระทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้” หนังสือ “อมตะ…แห่งรัก” คือเรื่องราวที่เรียบเรียงขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านได้ย้อนรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ “พระคู่ขวัญ” ผู้ทรงเป็นที่รักเทิดทูนอย่างยิ่งของพสกนิกรปวงชนชาวไทยและชาวต่างชาติที่ร่วมอาศัยอยู่ในพื้นแผนดินไทยนี้ อาศัยอยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาณนี้ด้วยความผาสุกตลอดมา หมวดหมู่ DS586 ส247อ 2555

ขอให้ทั้งสองพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

รายการอ้างอิง

สุวิสุทธิ์. (2555). อมตะ…แห่งรัก. กรุงเทพฯ : นนทบุรี : กรีน ปัญญาญาณ.

พระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจ ในฐานะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในการสร้างความเจริญวัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ประเทศชาติ
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

พระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจ ในฐานะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในการสร้างความเจริญวัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ประเทศชาติ

บทคัดย่อ:

พระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในการสร้างความเจริญวัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ประเทศชาตินั้น ประกอบด้วยประเด็นหลัก 3 ประการด้วยกัน กล่าวคือ พระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจในฐานะนักปกครอง นักการศึกษา และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยในฐานะที่ทรงเป็นนักปกครอง พระองค์ได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถเป็นที่ประจักษ์ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในฐานะนักการศึกษา พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่เป็นคุณูปการแก่การศึกษาของชาติ ทั้งการส่งเสริมการศึกษา โครงการศิลปาชีพ และการให้การอบรมพระราชโอรสธิดา (จนทรงสามารถเป็นนักศึกษาศาสตร์และนักวิชาการของชาติ) และในฐานะนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการสำคัญๆ เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเป็นอเนกประการ

ประพนธ์ โอสถสัมพันธ์สุข. (2547). พระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจ ในฐานะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในการสร้างความเจริญวัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ประเทศชาติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 5-12.

อ่านบทความฉบับเต็ม

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถกับความเป็นอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถกับความเป็นอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ:

เนื่องในอภิลักขิตสมัยมหามิ่งมงคลเฉลิมพระชนมพรรษาหกรอบสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระแม่เจ้าของชาวไทย ในปีพุทธศักราช 2547 ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ล้นพ้น มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจึได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตทูลเกล้าฯ ถวายบทความเรื่อง “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถกับความเป็นอัจริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์” โดยมีวัตถุประงค์ประการแรกเพื่อเทิดพระเกียรติคุณที่มีอยู่เป็นอเนกอนันต์และหลายหลายแก่ปวงประชาในแผ่นดินไทย จนเป็นที่ยกย่องสดุดีในนานาประเทศทั่วโลก ประการที่สอง เพื่อสแดงให้ทวยราษฎร์ทั่วไทยได้ประจักษ์พระปรีชาสามารถในความเป็นอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ในการดำเนินโครงการพระราชดำริ ดังเช่น โครงการป่ารักน้ำ เป็นต้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการดำเนินโครงการได้อย่างเป็นระบบแบบแผน มีการกำหนดสมมติฐานได้อย่างถูกต้องชัดเจน ตรงตามความต้องการของประชาราษฎร์ มีการวางแผนเพื่อพิสูจน์คำอธิบายในสมมติฐานที่ตั้งไว้ มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลองเพื่อหาข้อสรุปและทำโครงการขยายผล จึงทำให้โครงการพระราชดำริมีความชัดเจน แม่นยำ สามารถดำเนินการสำเร็จได้ด้วยดีในทุกท้องที่ และยังมีลักษณะเฉพาะการทำงานแบบบูรณาการทางหลักวิชา

ลาวัลย์ ชัยวิรัตน์นุกูล และ อภิญญา สุวรรณภัณฑ์. (2547). สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถกับความเป็นอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 5-14.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

 

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa