SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
เรื่องเล่าชาว มฉก. “หุ่นคน” สู่ผลงานสร้างสรรค์ชุด “หุ่นคนตะลุงโนรา”
ก.ค. 23rd, 2020 by matupode

 

ผู้เขียนจำได้ว่า “หุ่นคน” เริ่มเข้ามามีบทบาทในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2546 ตอนนั้นนับว่าเป็นการแสดงที่แปลกใหม่ ผู้เขียนเคยสงสัยตอนได้ดูการแสดงในครั้งแรกว่า คนที่แสดงใช่หุ่นหรือว่าคนจริงๆ กันแน่ อาจเพราะการแต่งหน้า การแสดงที่สมจริงก็อาจเป็นได้ Read the rest of this entry »

เยี่ยมชมมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
มี.ค. 11th, 2017 by supaporn

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2560 สำนักหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้อำนวยการ  ดร. รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล และทีมงาน พร้อมทั้งบรรณารักษ์ห้องสมุดคณะต่างๆ จำนวน 30 คน เข้าศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ในหัวข้อ การบริหารมหาวิทยาลัยแบบเศรษฐกิจพอเพียง การประหยัดพลังงานด้วยคุณธรรม กิจกรรม 7 ส

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ในฐานะผู้ประสานงานการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ได้นำผู้บริหารและคณะผู้เยี่ยมชม เข้าพบผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ท่านอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ รองอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ รองอธิการบดี อาจารย์ ฉลอง แขวงอินทร์ และ อาจารย์สุวรรณี  มงคลรุ่งเรือง ผู้อำนวยกองแผนและพัฒนา ร่วมให้การต้อนรับ โดยอธิการบดี ได้กล่าวสรุปในภาพรวมของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ประวัติการก่อตั้ง การบริหารมหาวิทยาลัยโดยการน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2537 “ขอให้ทำมหาวิทยาลัยแห่งนี้ให้ดี”  การบริหารมหาวิทยาลัยด้วยคุณธรรม 6 ประการ ได้แก่ ขยัน อดทน ประหยัด เมตตา ซื่อสัตย์ กตัญญู พร้อมด้วยปณิธาน “เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม” เป็นแนวทาง

คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้การต้อนรับ

คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้การต้อนรับ

20170301-001

ถ่ายภาพร่วมกันทั้งสองฝ่าย

Read the rest of this entry »

ประเพณีรับบัว
ต.ค. 12th, 2016 by namfon

วันประเพณีรับบัวประจำปี 2559 ครั้งที่ 81 จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ที่ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ของชาวบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 12-15 ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยกำหนดวันรับบัวในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เริ่มเวลา 07.00 น. เป็นต้นไป ณ บริเวณที่ว่าการอำเภอบางพลี วัดบางพลีใหญ่ใน และวัดบางพลีใหญ่กลาง จะมีการอัญเชิญหลวงพ่อโตจำลอง ลงเรือแห่ไปตามลำคลองสำโรง เพื่อให้ประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณสองฝั่งคลองอำเภอบางพลีและอำเภอใกล้เคียง และผู้คนจากต่างพื้นที่  ต่างหลั่งไหลเดินทางมา โดยมีจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน ได้ร่วมสักการะบูชา  โดยการโยนดอกบัวลงไปในเรือที่องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ ซึ่งมีความเชื่อกันว่า หากสามารถโยนดอกบัวลงไปในเรือที่องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่แล้ว อธิษฐานสิ่งใดไว้ก็จะประสบความสำเร็จดั่งหวัง

14370321_1319753014703774_1487991096113084043_n ประเพณีรับบัว

ภาพจากแฟนเพจ : Zaleang Foto  www.facebook.com/thongbai.pho

ประเพณีรับบัวเป็นงานที่แสดงถึงความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนต่างถิ่นที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวอำเภอบางพลีที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสายน้ำสืบเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  จากความเป็นมาเล่าขานกันว่าเป็นประเพณีที่ชาวบางพลีจัดขึ้นเพื่อต้อนรับคนมอญพระประแดงที่ทำนาอยู่ที่ตำบลบางแก้ว เมื่อถึงเวลาออกพรรษาคนมอญจะกลับไปทำบุญที่อำเภอพระประแดง จึงร่วมกันเก็บดอกบัวเพื่อให้คนมอญนำกลับไปถวายพระที่วัดเพื่อนำไปบูชาหลวงพ่อโต และนำน้ำมนต์ของหลวงพ่อกลับไปเพื่อเป็นสิริมงคล  ส่วนดอกบัวที่เหลือชาวมอญก็นำกลับไปบูชาพระคาถาพันที่วัดของตน ระหว่างการเดินทางทางน้ำที่ยาวนานก็ต่าง พากันร้องรำทำเพลงบนเรือ คนไทยได้เตรียมอาหารคาวหวานไปเลี้ยงรับรอง จึงเป็นที่มาของประเพณีรับบัวมาจนถึงทุกวันนี้

ภายในงานมีกิจกรรมสร้างความสุขมากมาย เช่น กิจกรรมสืบสานประเพณีตักบาตรทางน้ำ ล่องเรือชมความสวยงามริมสองฝั่งคลองสำโรง ภายใต้แนวคิด “ดอกบัวแห่งศรัทธา ธาราแห่งไมตรี ประเพณีรังสรรค์ มหัศจรรย์แห่งสายน้ำ” เลือกซื้อสินค้ามากมาย ทั้งขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง และสินค้า OTOP  ชมการแสดง แสง สี เสียง บนเวทีเรือลอยน้ำ สุดยิ่งใหญ่ตระการตา ประกวดหนุ่ม–สาวรับบัว และประกวดร้องเพลงไทยลุกทุ่ง ชมศิลปวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านของชาวท้องถิ่น นมัสการขบวนหลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ใน และรื่นเริงไปกับมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดังและกิจกรรมที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกมากมาย

14484580_1153082224731265_4825747917539542219_n ภาพจาก เฟซบุ๊ก ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ตลาดโบราณบางพลี

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีรับบัว มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ให้ความร่วมมือกับอำเภอบางพลีอย่างต่อเนื่อง  เป็นประจำทุกปี และในปีนี้คณะต่างๆ ได้จัดกิจกรรมไปออกบูธคลินิกตรวจสุขภาพ ภายในบูธมีการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และอื่นๆ  ณ บริเวณวัดบางพลีบางพลีใหญ่ใน  เช่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตรวจพยาธิ คณะสาธารณสุขศาสตร์ตรวจวัดสมรรถภาพร่างกาย และคณะกายภาพบำบัด ตรวจวินิจฉัยให้คำปรึกษาฟื้นฟูร่างกายและวิธีกายภาพบำบัด

นอกจากนี้ ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ นำโดยทีมนักแสดงจาก อาจารย์สุกฤตาวัฒน์ บำรุงพานิช ซึ่งได้จัดแถลงข่าวประเพณีรับบัวผ่านไปแล้ว เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ณ โรงแรมแกรน์อินคำ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ  อาจารย์สุกฤตาวัฒน์ ยังให้ข้อมูลดังกล่าวว่า การจัดแสดงหุ่นคน จะเริ่มการแสดงในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 16.00 น. พิธีเปิดงานประเพณีรับบัว ลานวัฒนธรรม ณ เวทีหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ การแสดงทั้งหมดจำนวน 5 ชุด ดังนี้

  1. ชุดที่ 1 ชื่อหุ่นคน ชุด “สัตตบงกช”
  2. ชุดที่ 2 ชื่อหุ่นคน ชุด “มหาเทวีศรีปทุม”
  3. ชุดที่ 3 ชื่อหุ่นคน ชุด “รื่นเริงประเพณีรับบัว”
  4. ชุดที่ 4 ชื่อหุ่นคน ชุด “เทวนครรัตนโกสินทร์”
  5. ชุดที่ 5 ชื่อหุ่นคน ชุด “มหาเทวีศรีล้านนา”

ผู้เขียนจึงอยากเชิญชวนทุกท่าน มาร่วมกันเที่ยวชมงาน  ร่วมรักษาและอนุรักษ์ประเพณีรับบัวหรือประเพณีโยนบัวเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่มีคุณค่า ควรสืบสานอนุรักษ์ในความเป็นไทยให้คงอยู่ไปตราบนานเท่านาน และเพื่อให้อนุชนรุ่นต่อไปๆ ได้ศึกษารากเหง้าแห่งวัฒนธรรมไทยสืบต่อไป

รายการอ้างอิง

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ตลาดโบราณบางพลี สืบค้นจาก https://www.facebook.com/Bangplee.TourismServiceCenter/

https://th.wikipedia.org/wiki

ปลาสลิดบางบ่อ
ต.ค. 3rd, 2016 by supaporn

disk10.9.tif

ภาพจาก สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาสมุทรปราการ

จากการลงพื้นที่ของ อ. อัญชลี สุภาวุฒิ นักวิชาการวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เพื่อหาข้อมูลการเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ ทำให้พวกเราทราบว่า

“หากจะกล่าวถึงปลาสลิดรสชาติดี จะต้องนึกถึงปลาสลิดบางบ่อ โดยแหล่งผลิตปลาสลิดใหญ่ที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ คือ ตำบลคลองด่าน อำเภอคลองด่าน ลุงผัน หรือ ผัน ตู้เจริญ เริ่มเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อเป็นคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2500 และประสบผลสำเร็จ ทำรายได้ให้กับครอบครัวเป็นอย่างดีและยั่งยืน จนถึงปัจจุบัน แต่ก่อนลุงผันมีอาชีพทำนาข้าว หลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วน้ำแห้งมาก จึงเริ่มคิดหาวิธีกักน้ำไว้เลี้ยงปลา โดยในบ่อของลุงผัน มีปลาดุกสีทอง ปลาช่อนสีทอง และปลาสลิด ซึ่งปลาสลิดเยอะที่สุด จึงเป็นเหตุให้เลิกทำนาข้าวและหันมาเลี้ยงปลาสลิดแทน เลี้ยงได้ประมาณ 3-4 ปี จึงได้นำปลาสลิดทูลเกล้าถวายฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในปี 2506 ถึงสองครั้ง จนได้รับพระราชทานปลาสลิดทอง

ปัจจุบันการเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ มีพื้นที่ประมาณ 5,000 กว่าไร่ บริเวณ หมู่ 1, 2 ,3, 4 และ หมู่ 11, 12 เป็นการเลี้ยงจากบ่อธรรมชาติ คือ บ่อดิน โดยจะขุดดินล้อมพื้นที่ทำคันให้สูงใช้ที่นาเดิมที่มีอยู่ ฟันหญ้าให้เป็นปุ๋ยและเกิดแพลงก์ตอน เพื่อเป็นอาหารปลา กักน้ำเก็บไว้ เริ่มปล่อยปลาลงบ่อ มีการคัดเลือกสายพันธุ์ตัวปลาที่แข็งแรง สมบูรณ์ ไม่มีแผล ครีบและหางไม่แตก เพศผู้ เพศเมีย ลักษณะตัวมีขนาดใหญ่ สีดำ เน้นการผสมพันธุ์แบบธรรมชาติ ตัวปลาที่สมบูรณ์ สามารถวางไข่ได้เมื่อมีอายุ 7 เดือน ขึ้นไป ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม เมื่อปลาสมบูรณ์เต็มที่ ก็จับปลามาจำหน่ายหรือแปรรูปต่อไป”

รายการอ้างอิง

อัญชุลี สุภาวุฒิ. (2557). ภูมิปัญญา สร้างอาชีพ ปลาสลิดจากบ่อธรรมชาติ. สารศิลป์, 4 (2), 3-4.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาสมุทรปราการ. ของฝากจังหวัดสมุทรปราการ. สืบค้นจาก http://samutprakan.mots.go.th/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=1

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa