SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Connecting Researchers to Enhance the Value of Library Services : A Case Study of ISEAS Library (การเชื่อมโยงนักวิจัย เพื่อสร้างคุณค่าให้กับห้องสมุด)
ธ.ค. 25th, 2017 by supaporn

Connecting Researchers to Enhance the Value of Library Services : A Case Study of ISEAS Library (การเชื่อมโยงนักวิจัย เพื่อสร้างคุณค่าให้กับห้องสมุด) โดย Ms. Liang Shuang  จาก  ISEAS Library, Singapore  ในการเสวนาเรื่อง Information Services for Research in the Age of No Boundaries : บริการสารสนเทศเพื่อการวิจัยในยุคไร้พรมแดน วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2560 เวลา 8.30-16.30 น. ห้องประชุม 601 ชั้น 6 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จัดโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)  เป็นการแบ่งปันประสบการณ์การบริหารจัดการ Collection ทางด้านรัฐศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐศาสตร์ การเมืองในภูมิภาคนี้ทั้งหมด แต่ที่น่าสนใจ คือ Private Collection ที่มีนักวิจัยบริจาค เป็น collection ที่มีหลากหลายภาษามาก อังกฤษ ไทย เวียดนาม และภาษาอื่นๆ ใน Southeast Asia และยังมีภาษาย่อยๆ ลงไปอีก ซึ่งเป็นการยากในการจัดการ Collection เดิมปิด Collection แต่ต่อมาเปิดโดยเก็บค่ามัดจำ  ยืมได้ และเปิดหมด ยืมได้ ไม่มีค่ามัดจำ แต่ต้องเป็นประชากรของสิงคโปร์ และขยายการยืมเป็นจำนวน 100 เล่ม เป็นระยะเวลา 1 ปี เป็นการพยายามส่งเสริมให้มีการคนมาใช้มากขึ้น  มีการจัดการในเรื่องต่างๆ ดังนี้

  1. การจัดการเรื่องพื้นที่ โดย
    1.1 ทำแกลอรี่ ของ Collection เด่น
    1.2 ทำ Research Lounge มีสถานที่ศึกษา เฟอร์นิเจอร์นั่งสบาย มุมกาแฟ เพื่อใช้ในการปรึกษา อภิปรายงานวิจัย
    1.3 ทำพื้นที่ให้เป็นสถานที่ถ่ายทำ หรือให้สัมภาษณ์ (Media Interview)
    1.4 ทำ Borrowed space โดยการนำหนังสือไปให้ยืมในสถานที่มีการจัดงาน เช่น สัมมนา
  1. การจัดการ Collection โดยให้นักวิจัยเสนอซื้อทรัพยากรสารสนเทศ การจัดหา Private Collection โดยการจัดเก็บงานวิจัยประเภทต่างๆ หลากหลายรูปแบบของนักวิจัย
  2. การเข้าถึง โดยการปฐมนิเทศนักวิจัย/ผู้ใช้ ที่สามารถทำได้อย่างเข้มแข็ง เนื่องจากนักวิจัยไม่มากนัก สามารถทำได้แบบตัวต่อตัว ในการปฐมนิเทศ มีจุดเด่น คือ มีการทำ check list เรื่องที่นักวิจัยควรจะทราบและบรรณารักษ์มีแนวทางในการให้ความรู้อย่างครบถ้วน การจัดทำฐานข้อมูล การจัดทำ info alert ทั้งที่เป็น article alert, news alert เป็นต้น
  3. การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ

จากการฟังประสบการณ์ของ Ms. Liang Shuang เห็นว่า ใน ISEAS Library มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนักวิจัย ตั้งแต่การให้ความรู้ หรือการปฐมนิเทศ การใช้บริการ การให้บริการระหว่างการวิจัย และการขอผลงานนักวิจัย ในการมาจัดทำเป็น Private Collection ซึ่งได้มีการสอบถามถึง การดำเนินการ Private Collection ที่มีการดำเนินการถึงการวิเคราะห์เนื้อหาของผลงาน และเพื่อจะนำไปสู่ state of the art ของงานวิจัยในเรื่องนั้นๆ ได้ แต่ปรากฏว่า เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องภาษาของงานวิจัย จึงทำได้แต่เพียงจัดหมวดหมู่ การจัดเอกสาร เป็นต้น ยังไม่ได้สามารถทำได้ถึงขนาดการวิเคราะห์เนื้อหาของงานวิจัย และเพื่อนำการวิเคราะห์นั้นไปใช้ประโยชน์ต่อยอดต่อไป

ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม
ก.พ. 19th, 2016 by supaporn

ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม

ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ 2 เมษายน 2534 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จึงได้จัดพิมพ์หนังสือเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 โดยคัดเลือกหนังสือด้านศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าและหายากมาจัดพิมพ์

ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ ได้เลือก “ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม” พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นฉบับที่พระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี โปรดให้พิมพ์ในงานเฉลิมพระชันษา พ.ศ. 2468 มาจัดพิมพ์ เพราะเป็นหนังสือที่มีคุณค่าและให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือว่าเป็นประเทศแรกในโลกตะวันออกที่มีการสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (คำนำ)

รายการอ้างอิง

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. (2558). ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน).

ตำราฟ้อนรำ
ก.พ. 19th, 2016 by supaporn

ตำราฟ้อนรำ ฉบับเรียบเรียงในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร

ตำราฟ้อนรำ ฉบับเรียบเรียงในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ 2 เมษายน 2534 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จึงได้จัดพิมพ์หนังสือเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 โดยคัดเลือกหนังสือด้านศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าและหายากมาจัดพิมพ์

หนังสือเล่มแรกที่คัดเลือกมาจัดพิมพ์ คือ หนังสือ “ตำราฟ้อนรำ” ฉบับเรียบเรียงในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร ซึ่งเป็นฉบับที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ในปี พ.ศ. 2466 ว่าด้วยอธิบายตำนานการฟ้อนรำ ว่าด้วยตำรารำของไทยและว่าด้วยท่าโขน ซึ่งเป็นตำรานาฏยศาสตร์อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของไทย ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ได้รับต้นฉบับจาก ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี (คำนำ)

รายการอ้างอิง

ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน). (2558). ตำราฟ้อนรำ. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน).

ศึกษาดูงานศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ และภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาตร์ จฬ.
ม.ค. 26th, 2016 by supaporn

เนื่องจากศูนย์บรรณสารสนสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) มีภารกิจในด้านการบริหารจัดการ และดำเนินการงานหอจดหมายเหตุ โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย อธิการบดีในสมัยนั้น เห็นความสำคัญของการมีหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัย จึงได้เริ่มโครงการจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2540 และทำพิธีเปิดหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 และดำเนินการรวบรวมเอกสารจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย จัดเก็บรักษา และให้บริการอย่างต่อเนื่อง และด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หอจดหมายเหตุ มฉก. จึงมีแผนการในการจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล และเพื่อให้สามารถจัดเก็บและเข้าถึงได้มากขึ้นและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงได้เริ่มศึกษาแนวทางในการปฏิบัติงานและระบบต่างๆ เพื่อจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัย และมีการดำเนินการที่เป็นมาตรฐานสากล โดยการศึกษาดูงานการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นยอมรับ และมีความเชี่ยวชาญ เพื่อจะได้รับความรู้ ประสบกรณ์ และบทเรียนในการปฏิบัติงานต่างๆ ได้แก่ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เพื่อขอศึกษาดูงานในเรื่องการใช้มาตรฐานการลงรายการเอกสารจดหมายเหตุ ISAD (G) รวมทั้งประสบการณ์การใช้โปรแกรม ICA-Atom ในการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุ และ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขอศึกษาดูงานการใช้โปรแกรม Omeka ในการจัดการฐานข้อมูลคลังภาพ อักษรศาสตรบรมราชกุมารี คลังดิจิทัล Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa