SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
กลบท : ภูมิปัญญาไทยในโลกแห่งกวีนิพนธ์
มี.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

กลบท : ภูมิปัญญาไทยในโลกแห่งกวีนิพนธ์

บทคัดย่อ

กลบทและกลอักษรเป็นรูปแบบหนึ่งของงานกวีนิพนธ์ที่มีหลักฐานทางวรรณคดีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รูปแบบของกลบทแสดงถึงปรีชาชาญอันล้ำเลิศของบรรพชนไทยในการสร้างสรรค์ตัวอักษรเป็นแม่บทอันมีลีลา ความไพเราะและความหมายที่หลากหลายและงดงามเป็นรากฐานอันวิเศษแสดงถึงความอลังการในงานกวีนิพนธ์ที่มีอิทธิพลต่อการรังสรรค์งานของกวีไทยในยุคปัจจุบัน

ศราวุธ สุทธิรัตน์. (2546). กลบท : ภูมิปัญญาไทยในโลกแห่งกวีนิพนธ์.วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (13), 90-99.

เมืองบางปลาสร้อยร้อยริ้ว : คตินิยายแห่งภาคตะวันออก
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

เมืองบางปลาสร้อยร้อยริ้ว : คตินิยายแห่งภาคตะวันออก

บทคัดย่อ:

เมืองบางปลาสร้อยร้อยริ้ว เป็นชื่อเรียกขานจังหวัดชลบุรี และฉะเชิงเทรา ในอดีตที่มีลุ่มน้ำบางปะกงตอนต้นเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงและเสมือนอู่อารยธรรมที่มีมาแต่สมัยโบราณ การศึกษาทางคติชนวิทยาในส่วนของนิทานพื้นบ้านอันเกี่ยวเนื่องกับสถานที่สำคัญหลายแห่งทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเมืองโบราณสามแห่งในจังหวัดชลบุรี คือ เมืองพญาแร่ เมืองศรีพโล และเมืองพระรถ แสดงให้เห็นถึงความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมของแหล่งอารยธรรมในภาคตะวันออกที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากภูมิภาคอื่นอย่างชัดเจน

ศราวุธ สุทธิรัตน์. (2547). เมืองบางปลาสร้อยร้อยริ้ว : คตินิยายแห่งภาคตะวันออก. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 85-92.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

กิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ในวิชาภูมิคุ้มกันวิทยาพื้นฐาน : รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

กิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ในวิชาภูมิคุ้มกันวิทยาพื้นฐาน : รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

บทคัดย่อ:

วิชาภูมิคุ้มกันวิทยาพื้นฐานเป็นวิชาที่มีเนื้อหาซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน ต้องอาศัยความสามารถของผู้เรียนในการผนวกความรู้เข้าด้วยกันควบคู่ไปกับการใช้จินตนาการ โดยการบูรณาการความรู้เข้ากับการลงมือกระทำเพื่อให้เกิดทักษะและความเข้าใจเนื้อหาของวิชา การจัดกิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งสำหรับการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้เลือกจากเนื้อหาที่มีความสำคัญเป็นแกนหลักของวิชาคือเรื่อง แอนติเจน แอนติบอดี คอมพลีเมนต์ และเทคนิคพื้นฐานทางภูมิคุ้มกันวิทยามาเป็นแบบจำลองของการศึกษา โดยจัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของเนื้อหาในแต่ละเรื่อง แต่เน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้เนื้อหาด้วยตนเองแล้วออกแบบ กิจกรรมตามความถนัด นำเนื้อหาที่เป็นนามธรรมมาถ่ายทอดให้เป็นรูปธรรมหรือจัดกิจกรรมที่อาจารย์เป็นผู้ดำเนินการเอง แต่ให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบของ edutainment เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาด้วยความสนุกสนาน กิจกรรมในรูปแบบดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในภาคการศึกษาที่ 1/2545 ที่คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา เพิ่มขึ้นจากเดิมเมื่อพิจารณาจากร้อยละของจำนวนนักศึกษาที่ได้คะแนนมากกว่า 50% และร้อยละของผู้ที่สอบผ่านในวิชานี้ กิจกรรมดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ผู้สอนได้ร่วมกันคิดขึ้นเพื่อแสวงหาวิธีการที่ดีและเหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

ศราวุธ สุทธิรัตน์ และ ทวีพร พันธุ์พาณิชย์. (2547). กิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ในวิชาภูมิคุ้มกันวิทยาพื้นฐาน : รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 27-32.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa