SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การทำหน้าที่ในฐานะว่าที่ผู้ตรวจห้องสมุดสีเขียว
ก.ย. 29th, 2018 by supaporn

หลังจากที่อบรมการเป็นผู้ตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียวของเครือข่ายห้องสมุดสีเขียวเมื่อวันที่ 29-30 มกราคม 2561  พร้อมกับการทดสอบความรู้ในเรื่องการประหยัดพลังงานและเกณฑ์การตรวจในหมวดต่างๆ ไปแล้วนั้น  กิจกรรมของการเป็นผู้ตรวจ ต่อจากนั้น จึงเริ่มจากการฝึกว่าที่ผู้ตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียวกับห้องสมุดที่เสนอชื่อรับการตรวจห้องสมุดสีเขียวในรอบปีที่ 3  โดยว่าที่ผู้ตรวจจะต้องฝึกการตรวจประเมินห้องสมุดจำนวน 2 แห่ง มี ในการลงสนามว่าที่ผู้ตรวจของผู้เขียนครั้งนี้ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัตนวรรณ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกลยุทธ์เพื่อธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานในการตรวจ ประกอบด้วยทีมผู้ตรวจ ได้แก่ ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นางสาวรุ่งทิพย์ ห่อวโนทยาน ประธานมาตรฐานวิชาชีพ คนที่ 2 สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย เและนางสาว ธนาภรณ์ ฉิมแพ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมเป็นพี่เลี้ยงในการตรวจ

ในการตรวจจะแบ่งหน้าที่ตามเกณฑ์ที่ผู้ตรวจมีความเชี่ยวชาญ ตามเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ข้อกำหนด แนวทางเชิงปฏิบัติ และวิธีการตรวจประเมิน พ.ศ. 2559 โดยหลักๆ เช่น ทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม นโยบาย เครือข่ายและห้องสมุด และตัวบ่งชี้ต่างๆ เช่น  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัตนวรรณ มั่งคั่ง จะตรวจหมวด 2 (โครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) หมวด 3 (การจัดการทรัพยากรและพลังงาน), และหมวด 4  (การจัดการของเสียและมลพิษ) ดร. อารีย์  ธัญกิจจานุกิจ จะรับตรวจในหมวดที่ 1  ทั่วไป และ หมวดที่ 5 การบริหารจัดการและการให้บริการห้องสมุด เพื่อส่งเสริมการอนุรักษพลังงานและสิ่งแวดล้อม คุณรุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน รับตรวจในหมวดหมวดที่ 7  เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด และคุณธนาภรณ์ ฉิมแพ รับตรวจในที่ 6 บทบาทของบคลากรห้องสมุดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และหมวดที่ 8  การประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียว แต่ทั้งนี้ อาจจะมีการสลับหมวดหรือเพิ่มเติมหมวดในการตรวจกันบ้างในกรณีที่ผู้ตรวจบางท่านติดภารกิจ

ว่าที่ผู้ตรวจควรจะพิจารณาลงตรวจในหมวดที่มีความถนัด หรือสนใจ และควรจะเวียนตรวจในหมวดอื่นๆ ด้วย เพื่อจะได้ทดสอบความรู้ที่มีอยู่ ฝึกการตั้งคำถามฝึกการสังเกต ฝึกการพิจารณาหลักฐาน ฝึกการสรุปประเด็น การสรุปข้อสังเกต ฝึกการพิจารณาและอภิปรายประเด็นที่อาจจะมองเห็นต่างมุม ตลอดจนพิจารณาตัดสินว่า ควรจะให้คะแนนหรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้ ประเด็นที่เห็น ที่คิด ควรจะได้มีการนำเสนอ เพื่อให้กลุ่มว่าที่ผู้ตรวจและผู้ตรวจทราบว่า คิดเห็นอย่างไร จะได้มีการปรับความคิด หรือการพูด การให้เหตุผลที่ดี ก่อนจะนำเสนอและสรุปเป็นคะแนนต่อไป Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa