SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัลกับวงการศึกษา
ต.ค. 4th, 2018 by supaporn

จากการบรรยาย เรื่อง ลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัลกับวงการศึกษา โดย รองศาสตราจารย์ ดร. พินัย ณ นคร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2561 ณ ห้องประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัลกับวงการศึกษา โดย รองศาสตราจารย์ ดร. พินัย ณ นคร

รองศาสตราจารย์ ดร. พินัย ณ นคร ได้บรรยายให้ความรู้ตามหัวข้ออย่างชัดเจน ด้วยความเป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ ทำให้มีความกระจ่างและชัดเจนในประเด็นการละเมิดลิขสิทธิ์มากขึ้น สไลด์ที่อาจารย์เตรียมมาประกอบในการบรรยายนั้น มี 111 สไลด์ ล้วนแต่เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์แต่ต้องอ่านและค่อยๆ ทำความเข้าใจ ประกอบกับการฟังบรรยายจากอาจารย์ ทำให้การบรรยาย ประมาณ 3 ชั่วโมง จบไปอย่างรวดเร็ว และยังมีผู้ฟังอยู่ฟังค่อนข้างหนาแน่น  Read the rest of this entry »

ลิขสิทธิ์ในงานนาฏกรรม : ความสำคัญที่ถูกมองข้าม
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

ลิขสิทธิ์ในงานนาฏกรรม : ความสำคัญที่ถูกมองข้าม

บทคัดย่อ:

จากกระแสความตื่นตัวของสังคมไทยในการเห็นความสำคัญของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาการเคารพต่อความคิดสร้างสรรค์ของผู้อื่นผลักดันให้รัฐหันมาให้ความสนใจในการกำหนดมาตรการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาสนในและตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้อสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย การใช้สินค้าไทย การควบคุมการนำเข้าเครื่องจักรที่ผลิตเทปและซีดี การตรวจจับเทปผี ซีดีเถื่อน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ นโยบายของศาลทรัพย์สินทางปัญญาที่จะไม่รอลงอาญาแก่ผู้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา ตลอดจนการรวมตัวกันของบริษัทผู้ผลิตผลงานเพลงในการลดราคาเทปและซีดี เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนหันมาสนใจสินค้าที่ถูกกฎหมาย การรวมตัวของผู้ประกอบการเหล่านี้ ยังนำไปสู่การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในการนำงานดนตรีกรรมอันเป็นผลงานของตนไปเผยแพร่ยังสถานประกอบการอื่นๆ อีกด้วย การจัดตั้งองค์กรกลางในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ดนตรีโดยรัฐจำเป็นต้องออกกฎหมายมารองรับมาตรการดังกล่าว และวางหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น การกำหนดให้ค่าลิขสิทธิ์ดนตรีคาราโอเกะเป็นสินค้าที่มีการควบคุมราคาสินค้า เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นก้าวหนึ่งที่กระตุ้นให้สังคมใส่ใจและใช้สิทธิ์ของตนตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน คือ งานนาฏกรรม แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจหรือใส่ใจในการคุ้มครองการสร้างสรรค์งานเท่าที่ควร ทั้งที่มีบทบาทสำคัญไม่น้อยกว่างานอื่นที่ปรากฏอยู่ในสังคมปัจจุบัน ในฐานะที่เป็นสิ่งบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติ บทความนี้ จึงมุ่งวิเคราะห์ความสำคัญของการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานนาฏกรรมและความเป็นไปได้ในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในงานนาฏกรรมเช่นเดียวกับงานดนตรีกรรมที่สังคมกำลังให้ควาสนใจอยู่ในขณะนี้

 

นิก สุนทรธัย. (2547). ลิขสิทธิ์ในงานนาฏกรรม : ความสำคัญที่ถูกมองข้าม. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 93-102.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa