SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ดอกไม้ถวายพ่อหลวง “ดอกดารารัตน์”
มิ.ย. 19th, 2017 by uthairath

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ร่วมมือร่วมใจทำกิจกรรมร่วมประดิษฐ์ดอกไม้จันทร์จากเปลือกข้าวโพดทำเป็น “ดอกดารารัตน์” ในวันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2560 เวลา 9.30 – 16.00 น. ณ ห้องอาหารบุคลากร อาคารอำนวยการ ชั้น 1 เจ้าของกิจกรรมคือ กองคลัง นำทีมโดย วิทยากร จำนวน 2 ท่าน จากศูนย์น้ำใจไมตรี กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

  1. คุณเอื้อยจิตต์  ทรางแสวง
  2. คุณดาราวรรณ เชี่ยวศาสตร์

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกันมากมาย เพื่อทำถวายพ่อหลวง (ในหลวง ร.9)เป็นครั้งสุดท้าย ผู้เขียนจึงอยากอธิบายถึงทำไมต้องเป็น “ดอกดารารัตน์” จากเว็บไซต์ http://www.tnews.co.th/contents/317166 ได้อธิบายความหมายของ ดอกดารารัตน์ ไว้ดังนี้

“ดอกดารารัตน์ หรือดอก Daffodil เป็นดอกไม้ทรงโปรดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และพระราชทานให้กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถอยู่เสมอ เมื่อครั้งยังทรงศึกษาและประทับอยู่ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ “ดอกดารารัตน์” นิยมใช้มอบให้แก่บุคคลอันเป็นที่รัก เพื่อบอกว่าไม่เคยหวังสิ่งใดตอบแทน และยังหมายถึง เกียรติยศ ความกล้าหาญ สัญลักษณ์ของความหวัง ชื่อ “ดอกดารารัตน์” ยังมีความหมายที่ลึกซึ้ง โดยคำว่า “ดารา” หมายถึง ดวงดาว คือสิ่งที่อยู่สูงสุด คำว่า “รัตน์” หมายถึง แก้ว คือ สิ่งที่มีค่า” Read the rest of this entry »

หนังสือที่ระลึกพิธีเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ต.ค. 26th, 2016 by supaporn

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ต่อมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเป็นอย่างยิ่ง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

มหาวิทยาลัยฯ ได้จัดทำหนังสือที่ระลึกพิธีเปิดมหาวิทยาลัยถึง 6 เล่ม ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ประกอบด้วย

1. ที่ระลึก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537
2. Huachiew Chalermprakiet University Commemorative Edition on the occasion of the University’s Inauguration graciously presided over by Their Majesties the King and Queen of Thailand on March 24, 1994
3. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (ฉบับภาษาจีน)
4. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ วันทำพิธีเปิด (มีคำบรรยายเป็นภาษาไทยและภาษาจีน)
5. สูจิบัตรพิธีเฉลิมพระเกียรติและสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
6. พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จากหนังสือเหล่านี้ได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ และหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทั้งข้อมูลและภาพพระองค์ท่านที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อมหาวิทยาลัย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและโครงการหลวง
มิ.ย. 8th, 2016 by sirinun

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและโครงการหลวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและโครงการหลวง

“เรื่องที่จะช่วยชาวเขาและโครงการชาวเขานั้น มีประโยชน์โดยตรงกับชาวเขาที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถเพาะปลูกสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นรายได้กับเขาเอง ที่มีโครงการนี้ จุดประสงค์อย่างหนึ่งก็คือมนุษยธรรม หมายถึงให้ผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารสามารถที่จะมีความรู้และพยุงตัวมีความเจริญได้ อีกอย่างหนึ่งก็เป็นเรื่องช่วยในทางที่ทุกคนเห็นว่าควรจะช่วย เพราะเป็นปัญหาใหญ่ ก็คือปัญหาเรื่องยาเสพติด ถ้าสามารถช่วยชาวเขาปลูกพืชที่เป็นประโยชน์บ้าง เขาจะเลิกปลูกยาเสพติด คือ ฝิ่น ทำให้นโยบายการระงับการปราบปรามการสูบฝิ่น และการค้าฝิ่นได้ผลดี อันนี้เป็นผลอย่างหนึ่ง ผลอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งสำคัญมากก็คือ ชาวเขาเป็นผู้ที่ทำการเพาะปลูกโดยวิธีที่จะทำให้บ้านเมืองของเราไปสู่หายนะได้ โดยที่ถางป่าแล้วปลูกโดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง พวกเราทุกคนไปช่วยเขา ก็เท่ากับช่วยบ้านเมืองให้มีความดี ความอยู่ดีกินดีและความปลอดภัยได้อีกทั่วประเทศ เพราะถ้าสามารถทำโครงการนี้ได้สำเร็จ ให้ชาวเขาอยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง สามารถที่จะอยู่ดีกินดีพอสมควร และสนับสนุนนโยบายที่จะรักษาป่าไม้ รักษาดินให้เป็นประโยชน์ต่อไป ประโยชน์อันนี้จะยั่งยืนมาก” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการตอบคำถามที่ว่า “ไปช่วยทำไมกันชาวเขา” ความมุ่งหมายของโครงการหลวงนี้เพื่อมนุษยธรรม รักษาทรัพยากรธรรมชาติ ผลิตพืชผลเพื่อเพิ่มประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ประเทศ และประชาชนมีรายได้ความเป็นอยู่ดีขึ้น หนังสือเล่มนี้พิมพ์เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเนื่องในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระประมุขโครงการหลวง ที่ทรงครองราชย์สมบัติมากพรรษาที่สุดในพระราชวงศ์จักรี หมวดหมู่ DS586 ภ584พ 2551

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดช ข้าพระพุทธเจ้า ศูนย์บรรณสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  

รายการอ้างอิง

ภีศเดช รัชนี, หม่อมเจ้า. (2551). พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและโครงการหลวง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : Allied Printers.

มองโลกอย่างผู้ชนะตามรอยเท้า “พ่อ”
มิ.ย. 8th, 2016 by sirinun

มองโลกอย่างผู้ชนะตามรอยเท้า "พ่อ"

มองโลกอย่างผู้ชนะตามรอยเท้า “พ่อ”

“ที่ให้ปิดทองหลังพระก็เพื่อเตือนตัวเองว่า การทำความดีไม่จำเป็นต้องอวดใคร หรือประกาศให้ใครรู้ให้ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ และถือว่าความสำเร็จในการทำหน้าที่เป็นบำเหน็จรางวัล” ในพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หนังสือเล่มนี้ผู้แต่งกล่าวถึงหลักการครองใจคนและเทคนิคการทำงานให้ได้ผลดี รู้จักที่จะครองตน ครองคน ครองใจ ตามที่พ่อสอน ไม่ว่าจะพบวิกฤตใดๆ ในชีวิต เพียงเรามีแสงสว่างอันอบอุนส่องนำใจ ชีวิตของเราคนไทยทุกคนจะพ้นภัยไปได้และกลับมาพบกับความสำเร็จที่ปรารถนา ตามหลักคำสอนในพระบรมราโชวาทหรือพระราชดำรัสที่ให้แก่ปวงชนชาวไทย  หมวดหมู่ DS586 ภ493ม 2555

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า ศูนย์บรรณสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

รายการอ้างอิง

ภาสกร นิรันดร์. (2555). มองโลกอย่างผู้ชนะตามรอยเท้า “พ่อ”. กรุงเทพฯ : แฮปปี้บุ๊ค พับลิชชิ่ง.

 

วันนี้ในอดีต “ ๒๔ มีนาคม : วันหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ”
มี.ค. 23rd, 2016 by matupode

03

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ถึงมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยมี ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ ถวายการต้อนรับ วันที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ พัฒนามาจากวิทยาลัยหัวเฉียวโดยทบวงมหาวิทยาลัยอนุญาตให้เปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕  และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้ฯ พระราชทานนามว่า “มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ”

มหาวิทยาลัยฯ แห่งนี้ก่อตั้งสำเร็จเพราะความปรารถนาของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และแรงดลใจของ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ ประธานมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งในสมัยนั้น ร่วมกับชาวจีนโพ้นทะเลที่ต้องการแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงครองราชสมบัติยาวนานและปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนาที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โดยร่วมกันบริจาคเงินเพื่อซื้อที่ดินบริเวณถนนบางนา-ตราด กม.๑๘ จำนวน ๑๔๐ ไร่ เพื่อสร้างมหาวิทยาลัย เพราะเล็งเห็นว่าการสร้างสถาบันการศึกษาจะช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ออกไปพัฒนาประเทศและช่วยเหลือสังคมได้ ดังปณิธาณของมหาวิทยาลัย “เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม”

CAM01049-1

เอกสารประวัติศาสตร์ บันทึกจากสำนักราชเลขาธิการ เรื่อง ทรงรับเชิญ เสด็จฯ ไปทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

และเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๗  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติด้วยพระองค์เอง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อมหาวิทยาลัย คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาที่จะต้องสำนึกจารึกจดจำไว้ตลอดกาลนาน

ร่วมย้อนรำลึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไปกับการประมวลภาพวันสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในวันที่ “๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๗” และความประทับใจของอดีตอธิการบดี แพทย์หญิงกรรณิการ์ ตันประเสริฐ ซึ่งมีโอกาสได้ร่วมรับเสด็จฯ กับบทความ “ชื่นชมพระบารมี” ไว้ว่า Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa