SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ปิยราชกุมารี
ก.พ. 5th, 2016 by supaporn

หน้าปก ปิยราชกุมารี

หน้าปก ปิยราชกุมารี

ปิยราชกุมารี หรือ Beloved Princess อันหมายความถึง เจ้าหญิงผู้ทรงเป็นที่รัก เป็นหนังสือประมวลพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่าง พ.ศ. 2532-2558  ตั้งแต่ทรงมีพระชนมายุ 34 พรรษา โดยนิติกร กรัยวิเชียร

หนังสือเล่มนี้ จัดทำโดย บริษัทไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป จำกัด ในโอกาสมหามงคล ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา โดยรวบรวมพระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ฉายโดย นิติกร กรัยวิเชียร จำนวน 60 องค์ จัดพิมพ์พิเศษที่เน้นเรื่องการออกแบบ และเทคโนโลยีการพิมพ์ขั้นสูงเต็มศักยภาพของบริษัท เพื่อให้พระเกียรติยศทุกประการ แต่ละภาพมีคำบรรยายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

รายการอ้างอิง

นิติกร กรัยวิเชียร ปราณี ศุภวัฒนเกียรติ ฐินิศร์ อมรธีรสรรค์ สุวารี สันธทรัพย์ ขจร พีรกิจ และตุลย์ หิรัญญลาวัลย์. (2558). ปิยราชกุมารี. กรุงเทพฯ : ไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป.

ศึกษาดูงานศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ และภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาตร์ จฬ.
ม.ค. 26th, 2016 by supaporn

เนื่องจากศูนย์บรรณสารสนสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) มีภารกิจในด้านการบริหารจัดการ และดำเนินการงานหอจดหมายเหตุ โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย อธิการบดีในสมัยนั้น เห็นความสำคัญของการมีหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัย จึงได้เริ่มโครงการจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2540 และทำพิธีเปิดหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 และดำเนินการรวบรวมเอกสารจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย จัดเก็บรักษา และให้บริการอย่างต่อเนื่อง และด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หอจดหมายเหตุ มฉก. จึงมีแผนการในการจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล และเพื่อให้สามารถจัดเก็บและเข้าถึงได้มากขึ้นและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงได้เริ่มศึกษาแนวทางในการปฏิบัติงานและระบบต่างๆ เพื่อจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัย และมีการดำเนินการที่เป็นมาตรฐานสากล โดยการศึกษาดูงานการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นยอมรับ และมีความเชี่ยวชาญ เพื่อจะได้รับความรู้ ประสบกรณ์ และบทเรียนในการปฏิบัติงานต่างๆ ได้แก่ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เพื่อขอศึกษาดูงานในเรื่องการใช้มาตรฐานการลงรายการเอกสารจดหมายเหตุ ISAD (G) รวมทั้งประสบการณ์การใช้โปรแกรม ICA-Atom ในการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุ และ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขอศึกษาดูงานการใช้โปรแกรม Omeka ในการจัดการฐานข้อมูลคลังภาพ อักษรศาสตรบรมราชกุมารี คลังดิจิทัล Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa