SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การจัดการหนังสือทางด้านการพยาบาลที่วิทยาเขตยศเส
ม.ค. 17th, 2020 by jittiwan

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เปิดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา เมื่อปี 2548  มีการเรียนการสอนทั้งสองวิทยาเขต คือ วิทยาเขตยศเส และวิทยาเขตบางพลี จัดแหล่งทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน คือ ห้องสมุด ไว้ทั้งสองวิทยาเขต ปี 2562 ได้มีการปรับปรุงระบบการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา และบางหลักสูตรของคณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งมีการเรียนการสอนอยู่ที่วิทยาเขตยศเส ให้มาเรียนรวมกันที่วิทยาเขตบางพลีเพียงแห่งเดียว ห้องสมุดที่วิทยาเขตยศเส จึงต้องมีการขนย้ายทรัพยากรสารสนเทศมาให้บริการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ วิทยาเขตบางพลี ทรัพยากรสารสนเทศที่มีในห้องสมุดยศเส นั้น เป็นหนังสือทางด้านพยาบาลศาสตร์เป็นส่วนมาก จึงต้องทำการขนย้ายกลับไป

แนวทางการพิจารณาหนังสือที่จะขนย้ายมาให้บริการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ วิทยาเขตบางพลี Read the rest of this entry »

การพยาบาลพื้นฐานหลักการและแนวคิด
ก.ค. 27th, 2016 by sirinun

การพยาบาลพื้นฐาน : หลักการและแนวคิด

การพยาบาลพื้นฐาน : หลักการและแนวคิด

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงหลักการและแนวคิดในการพยาบาลที่เน้นการดูแลผู้ป่วยขั้นพื้นฐาน อย่างครอบคลุมมิติร่างกาย และจิตวิญญาณ โดยใช้กระบวนการพยาบาลมาเป็นกรอบแนวคิด เพื่อเชื่อมต่อความรู้โดยยึดหลักวิทยาศาสตร์ในการดูแล ยังสามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าและอ้างอิงในการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลพื้นฐานสำหรับนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต และบุคลากรทีมสาธารณสุข   หมวดหมู่ WY100 ก492 2558

รายการอ้างอิง

นิตยา สมบัติแก้ว และเดือนทิพย์ เขษมโอภาส. (2558). การพยาบาลพื้นฐาน : หลักการและแนวคิด. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการพยาบาลพื้นฐานและบริหารการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย.

การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล (Qualitative research in nursing)
มิ.ย. 22nd, 2016 by sirinun

การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล (Qualitative in nursing)

การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล (Qualitative in nursing)

การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยที่ได้รับความสนใจกันอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ เนื่องจากความสอดคล้องของลักษณะการทำงานในวิชาชีพพยาบาลที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการอยู่ตลอดเวลา และเน้นการให้บริการองค์รวม ซึ่งการที่จะให้บริการพยาบาลตามความต้องการของผู้รับบริการนั้นจะต้องมีการศึกษา และทำความเข้าใจความหมายของบุคคลที่อยู่ในปรากฏการณ์นั้นๆ ก่อนจึงจะสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจได้มาจากการพูดคุย การสังเกตพฤติกรรม การซักประวัติ หรือการศึกษาจากแฟ้มประวัติของผู้รับบริการก็ได้ หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้นักศึกษาพยาบาล และผู้เรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการวิจัยเชิงคุณภาพได้มากขึ้น หมวดหมู่ WY20.5 อ663ก 2559

รายการอ้างอิง

อารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2559).  การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล (Qualitative research in nursing). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa