SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ปัญหาน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วกับแนวทางการจัดการในประเทศไทย
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

ปัญหาน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วกับแนวทางการจัดการในประเทศไทย

บทคัดย่อ:

น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วถือเป็นของเสียอันตราย ที่ต้องดำเนินการบำบัดและจัดการให้ถูกต้องเพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีระบบการจัดเก็บรวบรวมน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วอย่างเป็นระบบ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการนำกลับไปใช้ประโยชน์หรือกำจัดทิ้งอย่างผิดกฎหมาย บทความนี้ได้อธิบายผลกระทบของน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น ส่วนประกอบของน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วมีสารโพลิไซคลิกอะโรมาติกซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และเมื่อน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม จะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และระบบนิเวศน์ในน้ำ รวมทั้งยังถูกสะสมและถ่ายทอดในระบบห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิต พร้อมทั้งเสนอแนวทางการนำน้ำหล่อลื่นที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยแบ่งเป็น 2 วิธี คือ การกลั่นใหม่ และการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งการกลั่นใหม่เป็นวิธีที่ให้ประโยชน์สูงสุดทั้งในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการกลั่นแต่ละกระบวนการจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดการน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วในประเทศไทย

พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. (2547). ปัญหาน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วกับแนวทางการจัดการในประเทศไทย.  วารสาร มฉก.วิชาการ 8  (15), 59-69.

อ่านบทความฉบับเต็ม

แรงงานเด็ก : ปัญหาสุขภาพอนามัยกับสิ่งคุกคามความปลอดภัยจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
มี.ค. 3rd, 2016 by rungtiwa

แรงงานเด็ก : ปัญหาสุขภาพอนามัยกับสิ่งคุกคามความปลอดภัยจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน

บทคัดย่อ:

การนำเด็กมาใช้แรงงานทั้งในงานภาคอุตสาหกรรม งานภาคบริการ และงานภาคเกษตรกรรมนั้น ก่อให้เกิดปัญหากับเด็กหลายประการ เช่น ปัญหาการใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็นธรรม ปัญหาสุขภาพอนามัย ปัญหาขาดโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาอาชีพ เป็นต้น จึงจำเป็นต้องแก้ไขและคุ้มครองแรงงานเด็กจากปัญหาดังกล่าว ซึ่งบทความนี้จะเน้นเรื่องปัญหาสุขภาพอนามัยของแรงงานเด็กและความปลอดภัยในการทำาน ที่เกิดจากสิ่งคุกคามจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยอธิบายถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสุขภาพของแรงงานเด็ก ปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดกับแรงเด็ก เช่น ปัญหาเกี่ยวกับกระดูก การเคลื่อนไหว ระบบกล้ามเนื้อ และด้านจิตใจ และปัญหาสุขภาพอนามัยของแรงงานเด็กที่เกิดจากสิ่งคุกคามและจากสภาพแวดล้อมในการทำาน ซึ่งมีหลายปัจจัยทั้งทางด้านเคมี กายภาพ ชีวภาพ และจิตวิทยาสังคม ส่งผลให้เด็กเกิดการเจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุในการทำงาน หรือเกิดโรคจากการทำงาาน รวมทั้งได้เสนอแนวทางสำหรับควบคุมอันตรายจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการทำงาน

พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. (2549). แรงงานเด็ก : ปัญหาสุขภาพอนามัยกับสิ่งคุกคามความปลอดภัยจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (18), 79-89.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa