สารพิษเตโตรโดท็อกซินในปลาปักเป้า
บทคัดย่อ:
ปลาปักเป้าเป็นปลาชนิดหนึ่งที่พบได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม ซึ่งมีมากมายหลายชนิด และพบว่าปลาปักเป้าบางชนิดทำให้เกิดพิษได้ โดยในประเทศไทยมีปลาปักเป้าที่มีพิษอยู่ประมาณ 20 ชนิด ซึ่งการทำให้เกิดพิษของปลาปักเป้านี้ เนื่องมาจากสารพิษชนิดหนึ่งที่อยู่ภายในอวัยวะชองปลาปักเป้าเรียกสารพิษนี้ว่า “เตโตรโดท็อกซิน” (tetrodotoxin) สารพิษนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์จะมีผลต่อระบบการทำงานของช่องโซเดียมและโพแทสเซียมของร่างกาย ซึ่งจะส่งผลต่อไปยังการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอาการชาและเป็นอัมพาตได้ แต่อย่างไรก็ตาม ปลาปักเป้าก็สามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้ เช่น ชาวญี่ปุ่น จะชอบรับประทานเนื้อปลาปักเป้าหรือเรียกว่าปลา “ฟุกุ”(fugu) มาก โดยในการจะรับประทานปลาปักเป้านั้นจะต้องรู้วิธีการนำอวัยวะที่มีสารพิษนี้ออกไปเสียก่อน สำหรับในประเทศไทยพบว่า ได้เกิดเหตุการณ์รับประทานปลาเนื้อไก่เข้าไปแล้วเกิดอาการเป็นพิษ เมื่อกระทรวงสาธารณสุขได้นำปลาเนื้อไก่ มาตรวจสอบแล้ว จึงพบว่า อาการเป็นพิษที่เกิดขึ้นมาจากสารพิษเตโตรท็อกซิน ดังนั้นปลาเนื้อไก่ก็คือ “ปลาปักเป้า” นั่นเอง
สุวรรณี สายสิน. (2547). สารพิษเตโตรโดท็อกซินในปลาปักเป้า. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 33-41.
อ่านบทความฉบับเต็ม