SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของระบบบำบัดน้ำเสีย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 27th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของระบบบำบัดน้ำเสีย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Preliminary Feasibility Study of Huachiew Chalermprakiet University Wastewater Treatment System

บทคัดย่อ:

การศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของระบบบำบัดน้ำเสียมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติโดยเก็บข้อมูลปริมาณและลักษณะน้ำเสียที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยฯ เพื่อคาดการณ์ลักษณะน้ำเสียที่จะเกิดขึ้นภายในปี พ.ศ. 2565 แล้วออกแบบและคัดเลือกระบบบำบัด น้ำเสียที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยฯ จากผลการวิจัย พบว่า อัตราการไหลเฉลี่ยของน้ำเสียและน้ำฝนที่วัดได้ เท่ากับ 11.89 และ 65.40 ลบ.ม./ชม. ตัวอย่างน้ำเสียเฉพาะที่เก็บบริเวณต้นน้ำของคลองรับน้ำเสีย มีค่า DO และ BOD5 เฉลี่ย เท่ากับ 3.92 และ 101.20 มก./ล. ส่วนบริเวณท้ายน้ำมีค่า DO และ BOD5 เฉลี่ย เท่ากับ 3.39 และ 113.21 มก./ล. ตามลำดับ ตัวอย่างน้ำเสียรวมของน้ำเสียภายในมหาวิทยาลัยฯ มีค่า BOD5 และ SS เฉลี่ย เท่ากับ 58.2 และ 35.3 มก./ล. ตามลำดับ โดยในปี พ.ศ. 2565 คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำเสียเกิดขึ้นประมาณ 67.32 ลบ.ม./ชม. มีค่า BOD5 ประมาณ 90 มก./ล. ระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติคือ ระบบบำบัดน้ำเสียตะกอนเร่งแบบถังปฏิกรณ์สลับเป็นกะ (Sequencing Batch Reactor, SBR) ซึ่งพิจารณาจากผลการตรวจวัดลักษณะสมบัติน้ำเสียและเกณฑ์การคัดเลือกด้านราคาค่าก่อสร้างและดำเนินการเป็นหลัก โดยมีส่วนประกอบในระบบ ได้แก่ สถานีสูบน้ำเสีย บ่อวัดอั ตราการไหล บ่อแบ่งน้ำ ถังเติมอากาศ อาคารเติมคลอรีน ถังสัมผัสคลอรีน บ่อสูบตะกอนย้อนกลับและลานตากแห้งสลัดจ์ Read the rest of this entry »

การเพิ่มผลผลิตก๊าซชีวภาพจากกากตะกอนชีวภาพและการเตรียมชุดทดลองศึกษาศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพ
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

การเพิ่มผลผลิตก๊าซชีวภาพจากกากตะกอนชีวภาพและการเตรียมชุดทดลองศึกษาศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพ

Enhancement of biogas production from bio-sludge and batch experiment for biogas potential set-up

บทคัดย่อ

Anaerobic digestion is an efficient waste treatment and generates biogas. The producing biogas can be used for electricity and heat a generator. Biogas obtained from bio-sludge is an attempt to achieve the waste gain and minimization. The enhancement of biogas production from bio-sludge can be achieved by conducting of a treatment stage before or after anaerobic digestion. Thermal-alkaline condition at 170 C with pH 10 used ํ as a pre-treatment provided an improvement of 54% of biogas production while, athermal microwave showed an increase in 16% of biogas production. The important aspects to create a batch experiment on biogas potential from the waste include the homogeneity and analysis of the waste composition, which consists of total solids, volatile solids, total kjeldahl nitrogen, ammonium, lipids, COD, and pH. Volatile fatty acids evolution is recommended to monitor during the batch experiment for investigating the relation or inhibition effect on biogas production especially during the start-up period of the experiment. Nevertheless, considering of statistical and experimental control is also recommended for accuracy and reliability of the obtained results Read the rest of this entry »

สาหร่ายขนาดเล็ก : การเพาะเลี้ยงและการนำมาใช้ประโยชน์
ก.พ. 18th, 2016 by rungtiwa

สาหร่ายขนาดเล็ก : การเพาะเลี้ยงและการนำมาใช้ประโยชน์
Microalgae : Cultivation and Utilization

นุชนาถ แช่มช้อย. (2557). สาหร่ายขนาดเล็ก : การเพาะเลี้ยงและการนำมาใช้ประโยชน์. วารสาร มฉก.วิชาการ 17 (34), 169-187.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ผลผลิตชีวมวลและประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของสาหร่ายสไปรูลินา TISTR 8222
ก.พ. 10th, 2016 by supaporn

ผลผลิตชีวมวลและประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของสาหร่ายสไปรูลินา TISTR 8222 (Biomass Production and Wastewater Treatment Efficiency of Spirulina TISTR 8222)

บทคัดย่อ:

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการเพาะเลี้ยง ปริมาณผลผลิตชีวมวลที่ได้จากการเพาะเลี้ยง ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสีย และวิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตชีวมวลของสาหร่ายสไปรูลินา สายพันธุ์ TISTR 8222 โดยการศึกษาแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) การเพาะเลี้ยงด้วยอาหารที่มีสารอินทรีย์ (ซีโอดี) เป็นส่วนประกอบในปริมาณ 120, 220 และ 320 มิลลิกรัมต่อลิตร 2) การทดลองบำบัดน้ำเสียโดยใช้แบบจำลองการบำบัดน้ำเสียแบบเปิดและแบบเปิดเติมอากาศ 4 ชุดทดลอง คือ ชุดทดลองแบบเปิดเติมอากาศที่มีการเพิ่มแสงประดิษฐ์ ชุดทดลองแบบเปิดที่มีการเพิ่มแสงประดิษฐ์ ชุดทดลองแบบเปิดเติมอากาศที่ใช้แสงธรรมชาติ และชุดทดลองแบบเปิดที่ใช้แสงธรรมชาติ 3) การศึกษาวิธีเก็บเกี่ยวผลผลิตชีวมวลของสาหร่ายสไปรูลินาด้วยวิธีจาร์เทส จากผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยหลักในการเพาะเลี้ยง ได้แก่ ปริมาณแสงสว่างในช่วง 3,620-3,980 ลักซ์ โดยไม่จำเป็นต้องมีแหล่งคาร์บอน และสามารถทำการเพาะเลี้ยงได้ที่อุณหภูมิห้อง (26-30˚ องศาเซลเซียส) ซึ่งจากผลการทดลองเพิ่มแหล่งคาร์บอนในรูปของซีโอดี พบว่า ไม่สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตชีวมวลของสาหร่ายสไปรูลินาได้ โดยปริมาณผลผลิตชีวมวลเมื่อทำการเพาะเลี้ยงเป็นระยะเวลา 27 วัน มีค่าเท่ากับ 1,731, 1,996 และ 1,637 มิลลิกรัมต่อลิตร อัตราการเพิ่มผลผลิตชีวมวลเท่ากับ 52.0, 61.5 และ 47.7 มิลลิกรัมต่อลิตรต่อวัน สำหรับชุดการทดลองที่มีสารอินทรีย์เป็นส่วนประกอบในอาหารที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง 120, 220 และ 320 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ และสามารถประมาณการปริมาณผลผลิตชีวมวลได้โดยใช้สมการเส้นตรงหลังจากทำการเพาะเลี้ยงได้ 5 วัน นอกจากนี้ ผลการศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของสาหร่ายสไปรูลินาโดยใช้ระบบบำบัดแบบเปิดและแบบเปิดเติมอากาศ เมื่อทำการบำบัดเป็นระยะเวลา 19 วัน โดยใช้น้ำเสียที่ผ่านการฆ่าเชื้อ พบว่า สามารถบำบัดซีโอดีได้ ร้อยละ 80, 82, 87 และ 83 บำบัดทีเคเอ็นได้ ร้อยละ 84, 91, 89 และ 40 และบำบัดฟอสฟอรัสทั้งหมดได้ ร้อยละ 32, 38, 25, และ 43 สำหรับชุดการทดลองที่ใช้น้ำเสียที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อมีประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดี ร้อยละ 79, 78, 83 และ 86 บำบัดทีเคเอ็น ร้อยละ 85, 89, 80 และ 51 และบำบัดฟอสฟอรัส ร้อยละ 31, 0, 0 และ 22 สำหรับชุดการทดลองที่ 1-4 ตามลำดับ ทั้งนี้ จากการใช้การตกตะกอนด้วยเฟอริคคลอไรด์และสารส้ม ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตชีวมวลของสาหร่ายสไปรูลินาพบว่า ปริมาณที่เหมาะสม คือ 150 และ 200 มิลลิกรัมต่อลิตร

This research is an experimental research. The purpose of the research was to study the cultivation factors, the obtained biomass production, the wastewater treatment efficiency, and the harvest biomass of Spirulina TISTR 8222. The study consisted of three parts ; 1) the cultivation by using of medium contains organics (COD) in 120, 220, and 320 mg/L. 2) the testing of wastewater treatment by using of wastewater treatment model in open system and open-aerated system including four sub model types such as the model of open-aerated with the additional of artificial light, the model of open system with the additional of artificial light, the model of open-aerated with the natural light, and the model of open system with the natural light. The third part is the study of Spirulina biomass harvesting using Jar-test technique. From the results, it was found that the main factor for cultivation consisted of the light intensity in the range of 3,620-3,980 lux without any requirement for carbon source, and it could be cultivated under room temperature (26-30˚ºC). The result of carbon source addition in term of COD revealed that it did not help to increase Spirulina biomass production. After 27 days of cultivation, the biomass production was achieved at 1,731, 1,996, and 1,637 mg/L with the growth rate of 52.0, 61.5, and 47.7 mg/L/d for the treatment of organics containing in cultivated medium of 120, 220, and 320 mg/L,
respectively. The amount of biomass production could be predicted after 5 days of cultivation by using linear equation. Moreover, the study of wastewater treatment efficiency of Spirulina with the open and aerated-open treatment system showed that after 19 days of treatment using autoclaved wastewater, the COD removal of 80, 82, 87, and 83 percent, the TKN removal of 84, 91, 89, and 40 percent and the total phosphorus removal of 32, 38, 25, and 43 percent were achieved. For the treatment using non autoclaved wastewater, the COD removal of 79, 78, 83, and 86 percent, the TKN removal of 85, 89, 80, and 51 percent and the total phosphorus removal of 31, 0, 0, and 22 percent were observed for the treatment 1-4, respectively. Nevertheless, the testing of precipitation by ferric chloride and alum for harvesting of biomass production of Spirulina indicated that the appropriated dose was 150 and 200 mg/L.

 

ธีระพงษ์ บ้างบุญเรือง, ประวิทย์ คงจันทร์, นุชนาถ แช่มช้อย. (2558). ผลผลิตชีวมวลและประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของสาหร่ายสไปรูลินา TISTR 8222. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37), 55-70.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa