SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
แนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพนาโน (Guidance for industry on nano health products)
มิ.ย. 29th, 2016 by sirinun

แนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพนาโน

แนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพนาโน

ผลิตภัณฑ์สุขภาพนาโนคือผลิตภัณฑ์ที่ใช้นาโนเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบการผลิต หรือผลิตภัณฑ์ที่มีวัสดุนาโนเป็นองค์ประกอบ เพื่อให้มีสมบัติหรือหน้าที่เฉพาะเจาะจงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต มีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อสุขภาพอนามัย รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย เช่น อาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ เครืี่องสำอาง และวัตถุอันตราย ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพนาโน (Guidance for industry on nano nealth products) ขึ้น ได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาข้อมูลและการจัดเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขออนุญาตต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้อย่างถูกต้อง โดยใช้ร่วมกับกฏระเบียบและหลักเกณฑ์เฉพาะของแต่ละหน่วยงาน เนื่องจากผลิตสุขภาพนาโนแต่ละประเภทมีลักษณะการกำกับดูแลที่แตกต่างกัน หมวดหมู่  TA418.9.N35 น928 2558

รายการอ้างอิง

แนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพนาโน (Guidance for industry on nano health products) . (2558). จัดทำโดยคณะทำงานพัฒนาและกำหนดแนวทางการกำกับดูแลประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพนาโน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.

นาโนคอมพิวเตอร์
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

นาโนคอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ:

นาโนเทคโนโลยีในธรรมชาติมีอยู่มากมายหลายศาสตร์ เช่น การเรียงตัวของโมเลกุลอย่างเป็นระเบียบของแคลเซียมคาร์บอเนตทำให้เกิดเป็นเปลือกหอย เป็นไข่มุก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า หอยมีกรรมวิธีที่เรียกว่านาโนวิศวกรรม (nanoengineering) ตามธรรมชาติหรือการจัดเรียงอะตอมของคาร์บอนอย่างเป็นระเบียบที่ต่างกันทำให้เกิดเป็นถ่าน กราไฟต์และเพชร

ความก้าวหน้าทางนาโนเทคโนโลยีทำให้เกิดแนวโน้มการพัฒนาคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นหน่วยควบคุมหรือหน่วยประมวลผลซึ่งเป็นส่วนสมองของจักรกลนาโน หรือที่เรียกว่านาโนคอมพิวเตอร์ขึ้น (nanocomputer) นาโนมคอมพิวเตอร์ต่างจากคอมพิวเตอร์ธรรมดาที่เราเข้าใจ เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่ทำงานโดยการปฏิสัมพันธ์กับประสาทสัมผัสของมนุษย์โดยตรง เช่น มีส่วนรับข้อมูลเข้า คือ คีย์บอร์ด มีส่วนแสดงผล คือ มอนิเตอร์ แต่นาโนคอมพิวเตอร์จะมีการรับข้อมูลเข้าทางเซนเซอร์ มีการแสดงผลออกเป็นสัญญาณหรือการทำงานกับจักรกลนาโน ทั้งนี้นาโนคอมพิวเตอร์จะมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับอุปกรณ์ที่ทำงานมากกว่ากับมนุษย์

แนวทางการพัฒนานาโนคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
1. นาโนคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic nanocomputer)
2. นาโนคอมพิวเตอร์เชิงเคมี (chemical nanocomputer)
3. นาโนคอมพิวเตอร์เชิงกล (mechanical nanocomputer)
4. ควอนตัมนาโนคอมพิวเตอร์ (quantum nanocomputer)
การวิจัยและพัฒนาทางด้านนาโนเทคโนโลยียังคงดำเนินต่อไป นาโนเทคโนโลยีนับว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน โดยเป็นวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่มีอิทธิพลในทุกสาขา และจะเป็นเทคโนโลยีหลักที่จาดไม่ได้ในศตวรรษที่ 21

ธนาวุฒิ ประกอบผล. (2548). นาโนคอมพิวเตอร์. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (16), 60-65.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa