SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การเรียนรู้ภาษาจีนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21
ม.ค. 13th, 2020 by supaporn

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 อาศรมสยาม-จีนวิทยา จัดบรรยายหัวข้อ การเรียนรู้ภาษาจีนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 โดย ดร. พิมพร วัฒนากมลกุล อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ ณ ห้อง 4-0806 ชั้น 8 อาคาร CP All Academy สถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยมีหัวข้อในการบรรยาย 4 หัวข้อ ได้แก่

  1. แหล่งสืบค้นข้อมูล และการใช้ Application ยอดฮิตในจีน
  2. แหล่งการสืบค้นทางงานวิจัยและวิชาการของจีน
  3. แหล่งข้อมูลสำหรับสื่อการเรียนการสอนภาษาจีน
  4. สรุปประโยชน์การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษาจีน

ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การเรียนรู้และนวัตกรรม ผ่านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เพื่อชีวิตและการทำงาน ดังนั้นในการสืบค้นสารสนเทศ จะต้องทราบว่า ต้องการค้นหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร รู้จักแหล่งสารสนเทศหรือเครื่องมือที่จะใช้ค้นหา และต้องรู้จักวิธีการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐานข้อมูล หรือเครื่องมือที่ใช้ค้นหา

การสืบค้นสารสนเทศ

เราจึงควรต้องเรียนรู้แหล่งสารสนเทศ หรือเครื่องมือ และวิธีการค้นหาแหล่งสารสนเทศ หรือเครื่องมือ ให้เหมาะสมกับเรื่องที่้ต้องการค้นหา วิทยากรได้แนะนำ Read the rest of this entry »

ผู้สูงอายุในสังคมจีน: การจัดสวัสดิการต้นแบบการดูแลและกิจกรรมทางสังคม
ก.พ. 16th, 2016 by supaporn

การที่จีนเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก และมีแนวโน้มของประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ผู้วิจัย โดย ธีระ สินเดชารักษ์ และคณะ จึงศึกษา การดำเนินงานและกิจกรรมทางสังคมที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุจีนมีบทบาทในเชิงบวกในลักษณะใดบ้าง และมีปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมใดที่ช่วยผลักดันให้เกิดกิจกรรมทางสังคมดังกล่าวได้ เพื่อจะได้เห็นถึงจุดอ่อนจุดแข็งของการจัดกิจกรรมทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาปรับใช้ในสถานการณ์สังคมสูงอายุของประเทศไทย น่าจะสนใจทีเดียว เพราะสังคมผู้สูงอายุ เพิ่มมากขึ้นในทุกประเทศ

ผู้สูงอายุในสังคมจีน: การจัดสวัสดิการต้นแบบการดูแลและกิจกรรมทางสังคม

ผู้สูงอายุในสังคมจีน: การจัดสวัสดิการต้นแบบการดูแลและกิจกรรมทางสังคม

งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นงานวิจัยชิ้นที่ 2 ต่อจากงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาอุตสาหกรรมของจีนและการปรับตัวของชนบท: บทเรียนสำหรับประเทศไทย” เป็นส่วนหนึ่งในชุดโครงการวิจัย “จีนศึกษา” ที่มีวัตถุประสงค์สำคัญในการเรียนรู้จากประเทศจีนในมิติต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศไทยโดยอาศัยการถอดบทเรียนที่สำคัญจากประเทศจีน (คำนำ)

รายการอ้างอิง
ธีระ สินเดชารักษ์ และคณะ. (2558). ผู้สูงอายุในสังคมจีน: การจัดสวัสดิการต้นแบบการดูแลและกิจกรรมทางสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ริมถนนคนจีน
ก.พ. 5th, 2016 by sirinun

image

ริมถนนคนจีน

ริมถนนคนจีนเสมือนรวมเรื่องเล่า “จีนศึกษา” ผ่านสายตาหมวยไทยที่มีโอกาสไปร่ำเรียนภาษาจีนเพื่อการสนทนาในมหาวิทยาลัยถงจี้ มหานครเซี่ยงไฮ้ เพียงเพราะอยากอ่านเขียนภาษาจีนให้คล่อง  จะได้อ่านหนังสือจีนที่ไม่มีใครสนใจแปล  แต่แล้วเมื่อได้ไปสัมผัสใกล้ชิดชาวจีนในแดนมังกร การได้รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นบนแผ่นดินจีนนับห้าหกปีทำให้ผู้เขียนชื่นชอบวิถีวัฒนธรรมและความคิด จนกระทั่งปรับเปลี่ยนทัศนคติเชิงลบได้ก็คือ การเปิดหู เปิดตา และเปิดใจ ยอมรับสิ่งที่จีนเป็นมากกว่าจะไปปรับเปลี่ยนจีนให้เป็นอย่างที่ใจคิด สนใจเรื่องนี้หาอ่านได้ที่ห้องสมุด https://lib-km.hcu.ac.th/หมวดหมู่ DS721ด429ร 2552

รายการอ้างอิง

ดาริณี (ศุทธสกุล) หาน. (2552). ริมถนนคนจีน. กรุงเทพฯ : แพรวสำนักพิมพ์.

สาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ก.พ. 2nd, 2016 by supaporn

เป็นเว็บไซต์ของสาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียน การสอนภาษาจีน เครื่องมือเกี่ยวกับการเรียนการสอน คลังข้อมูล/คลังภาษา และสาระความรู้อื่นๆ รวมทั้งความบันเทิง

เว็บไซต์สาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์สาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถานีวิทยุซีอาร์ไอ (China Radio International)
ก.พ. 2nd, 2016 by supaporn

เป็นสถานีวิทยุของรัฐบาลจีน เพื่อแนะนำจีนกับประชาชนโลก เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจและกระชับมิตรภาพระหว่างประชาชนจีนกับประชาชนโลก ปัจจุบัน สถานีวิทยุซีอาร์ไอออกอากาศและเผยแพร่ด้วย 59 ภาษาสู่ทั่วโลก ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น มองโกล เกาหลี ฮินดี เนปาล อูรดู ทมิฬ สิงหล บังคลาเทศ เวียดนาม ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย ไทย ตุรกี พาซโต อาหรับ เปอร์เซีย เฮาซา สวาฮีลี รัสเซีย เช็ก เซอร์เบีย โรมาเนีย แอลเบเนีย บัลแกเรีย ฮังการี โปแลนด์ ยูเครน โครเอเทียเยอรมัน สเปน ฝรั่งเศส เอสเปรันโต อิตาลี โปรตุเกส ฟินแลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก ไบโลรัสเซีย กรีซ ฮีบรู เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ ภาษาจีนกลาง และภาษาจีนท้องถิ่น 4 ภาษา ได้แก่ ภาษากวางตุ้ิง แคะ ฮกเกี้ยน และภาษาแต้จิ๋ว ตลอดจนภาษาชนกลุ่มน้อยของจีนอีกหลายภาษา เช่น ภาษาชนชาติอุยกูร์ คาซัก คีร์กิซ และภาษาทิเบต เป็นต้น นับว่าเป็นเว็บไซต์ที่ให้สาระความรู้เกี่ยวกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน การเรียนภาษาจีน เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม รวมทั้ง กีฬา  บันเทิง และดนตรี เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ http://thai.cri.cn/index.htm

สถานีวิทยุซีอาร์ไอ (China Radio International)

สถานีวิทยุซีอาร์ไอ (China Radio International)

华侨崇圣大学图书馆 (ห้องสมุดภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ)
ม.ค. 30th, 2016 by suwat

华侨崇圣大学的创办人是泰国著名侨领,有意创办这所有着中国文化方面特征的大学,并致力于让学校成为领导泰国汉语言文学、商务汉语、中医学以及中国文化等方面的大学和中国学数据库集聚之地。

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีน จึงมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่มีเอกลักษณ์ด้านจีนแห่งนี้ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและเป็นผู้นำด้านภาษาจีน ธุรกิจจีน การแพทย์แผนจีน ตลอดจนเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ด้านจีนศึกษาทุกมิติ

华侨崇圣大学华文图书馆位于学校图书馆5楼。于1994年(佛历2537)建立,馆藏有众多媒体资源、期刊、当代华文报纸(共5家报社:京华日报、世界日报、新中源报、星暹日报、中华日报)和关于汉语教材、人文社会、中国文化、历史等等书籍,在教学方面,不仅为本校师生师提供借阅,还可以为各国的学生、研究者提供服务。多年以来,各种社会组织、社团集团、政府单位以及私人珍藏的珍贵书籍源源不断的捐赠至本校成为本馆藏书,使得华侨崇圣大学华文图书馆成为了泰国最大的华文图书馆。

ห้องสมุดภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้บริการที่ชั้น 5 อาคารบรรณสารสนเทศ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) ประกอบด้วยทรัพยากรสารสนเทศในรูปของหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ (จำนวน 5 ชื่อเรื่อง ได้แก่ เกียฮั้ว จีนสากล ซิงจงเอี๋ยน ซินเสียนเยอะเป้า และตงฮั้ว) และตำราที่เกี่ยวกับศาสตร์ทางด้านภาษาจีน ตลอดจนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและวัฒนธรรมจีน ให้บริการเพื่อสนับสนุนการเรียน การสอน ไม่เฉพาะแต่นักศึกษา อาจารย์ของมหาวิทยาลัยเท่านั้น ห้องสมุดภาษาจีนแห่งนี้ ยังได้ให้บริการนักศึกษา นักวิจัย จากต่างประเทศอีกด้วย เพียงการสืบค้นจากระบบฐานข้อมูลที่สืบค้นด้านหนังสือจีนในประเทศไทย ด้วยการพยายามจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ และการได้รับบริจาคหนังสืออันทรงคุณค่าจากบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทำให้ห้องสมุดจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นห้องสมุดภาษาจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

华侨崇圣大学华文图书馆的镇馆之宝是一套由台湾商务印书馆出版发行的影印版《文渊阁四库全书》,全泰国仅此一套。《四库全书》是在乾隆皇帝的主持下,由纪昀等360多位高官、学者编撰,2800多人抄写,耗时十三年编成的丛书,分经、史、子、集四部,故名四库,被称为19世纪最伟大的文学作品。

นอกจากนี้ที่ห้องสมุดภาษาจีนมีหนังสือที่มีคุณค่าชุด “ซื่อคู่ฉวนซู” ที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย (Si Ku Quan Shu) ซึ่งเรียบเรียงโดยบัณฑิตแห่งสำนักหันหลินกว่า 2800 คน ในสมัยจักรพรรดิเฉียงหลง โดยใช้เวลาเรียบเรียง 10 ปี (ค.ศ. 1793) “ซื่อคู่ฉวนซู” เป็นตำราที่ประมวลวิชาความรู้อันล้ำลึกไว้ทุกประเภท หนังสือชุดนี้ได้มีผู้กล่าวไว้ว่าเป็นตำราที่ยิ่งใหญ่ในด้านวรรณคดี ในศตวรรษที่ 18

中文报纸数据库 (ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน)
ม.ค. 30th, 2016 by suwat

自2008年9月29号始,华侨崇圣大学图书馆与泰国国家图书馆合作协办泰国百年中文报纸电子版制作项目。把自1917年起在泰国出版发行的所有中文日刊、两日刊、星期刊等中文报纸制作成为电子文档并上传至数据库,以维护和保存这些珍贵文献,并使得这些珍藏得以展现在世人面前, 供人们研究学习。

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดย ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้มีความร่วมมือกับหอสมุดแห่งชาติ ในการทำสำเนาหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2551 ในการนำหนังสือพิมพ์ภาษาจีนเก่าทุกฉบับที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย ทั้งรายวัน รายสองวัน และรายสัปดาห์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นเอกสารอันมีคุณค่า เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสงวนรักษาหนังสือพิมพ์จีน และเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย โดยศูนย์บรรณสารฯ ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูล Thailand Digital Chinese Newspaper (TDCN) เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง

若有兴趣使用中文报纸数据库,请联系华侨崇圣大学图书馆。

ท่านที่สนใจใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน

中文报纸数据库

แนะนำมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ม.ค. 8th, 2016 by supaporn

วิดีโอ แนะนำมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

17 นายกรัฐมนตรีไทยเชื้อสายจีน
ธ.ค. 19th, 2015 by supaporn

17 นายกรัฐมนตรีไทยเชื้อสายจีน

17 นายกรัฐมนตรีไทยเชื้อสายจีน

ชาวไทยเชื้อสายจีนในสังคมไทย ได้ผสมผสานกลมกลืนกันอย่างแนบแน่นกับสังคมส่วนรวม บุคคลเหล่านี้ได้มีส่วนในการแสดงบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจลและสังคมรวมทั้งการเมืองในระดับชาติ ดังปรากฏในหนังสือ “17 นายกรัฐมนตรีไทยเชื้อสายจีน” จากผลงานการวิจัยของ วิววัฒนา ไทยสม จากการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้พบว่า นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีรวมทั้งสิ้น 28 ท่าน ในจำนวนนี้มีนายกรัฐมนตรีที่มีเชื้อสายจีนถึง 17 ท่าน (หน้าคำนำ) Read the rest of this entry »

ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน
ธ.ค. 17th, 2015 by supaporn

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดย ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้มีความร่วมมือกับหอสมุดแห่งชาติ ในการทำสำเนาหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2551 ในการนำหนังสือพิมพ์ภาษาจีนเก่าทุกฉบับที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย ทั้งรายวัน รายสองวัน และรายสัปดาห์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นเอกสารอันมีคุณค่า เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสงวนรักษาหนังสือพิมพ์จีน และเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย โดยศูนย์บรรณสารฯ ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูล Thailand Digital Chinese Newspaper (TDCN) เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง

泰国的复印中文报纸

当二〇〇八年九月二十九日华侨崇圣大学图书馆资讯中心跟国立图书馆合作泰国的复件中文报纸。从一九一七年以上,我们把每一份在泰国印刷的旧中文报纸包括中文日报、每周日报,都是有很大的价值文件,为了保存中文报纸,还为了研究方面,图书馆资讯中心就发达资料系统Thailand Digital Chinese Newspaper (TDCN),也算是对泰国人和外国人研究者的数据库很感兴趣。

ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน

ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน

ท่านที่สนใจใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa