SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
อมตะ…แห่งรัก
มิ.ย. 8th, 2016 by sirinun

อมตะ...แห้งรัก

อมตะ…แห้งรัก

“ความรัก” คือพลังอันทรงอานุภาพ ที่บันดาลให้ผู้คนทั้งหลายมีความปรารถนาที่ดีต่อกัน และกระทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้” หนังสือ “อมตะ…แห่งรัก” คือเรื่องราวที่เรียบเรียงขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านได้ย้อนรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ “พระคู่ขวัญ” ผู้ทรงเป็นที่รักเทิดทูนอย่างยิ่งของพสกนิกรปวงชนชาวไทยและชาวต่างชาติที่ร่วมอาศัยอยู่ในพื้นแผนดินไทยนี้ อาศัยอยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาณนี้ด้วยความผาสุกตลอดมา หมวดหมู่ DS586 ส247อ 2555

ขอให้ทั้งสองพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

รายการอ้างอิง

สุวิสุทธิ์. (2555). อมตะ…แห่งรัก. กรุงเทพฯ : นนทบุรี : กรีน ปัญญาญาณ.

ความรักใดจะไม่ปวดร้าว
มี.ค. 30th, 2016 by supaporn

ความรักใดจะไม่ปวดร้าว

ความรักใดจะไม่ปวดร้าว

พระราชนิพนธ์แปล ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากนวนิยายของ ชวนหนี ซึ่งสะท้อนให้เห็นปัญหาสังคมสมัยใหม่ อันส่งผลต่อนิยามของความรักในมิติต่างๆ โดยเฉพาะจากมุมมองของผู้หญิง ผู้เป็นทั้งแม่และภรรยา

ตัวเอกของเรื่องเป็นหญิงสาวสมัยใหม่ผู้มีศรัทธาต่อความรักและตัดสินใจแต่งงานด้วยความรักแม้จะไม่ได้รับการยินยอมจากพ่อแม่ เธอเสียสละเพื่อสามี ยอมส่งเสียสามีจนเรียนจบปริญญาโท และเธอตัดสินใจทำแท้ง เมื่อคิดว่าตนเองไม่พร้อมเป็นแม่ แต่สุดท้ายเธอยอมมีลูก เพราะเห็นแก่สามี ผู้แสดงท่าทีรักเด็กหนักหนา

การมีลูกทำให้เธอไม่าสามารถทำงานได้ ต้องอยู่บ้านเลี้ยงลูกและเป็นทุกข์ เพราะรู้สึกว่าตัวตนของเธอสลายไป แม้แต่ชื่อของเธอ ก็ไม่มีใครใช้เรียกอีกต่อไป ค่านิยมสมัยใหม่ที่ส่งเสริมให้ผู้หญิงพึ่งพาตนเอง เป็นอิสระ เท่าเทียมกับชาย กลับทำให้เธอเป็นทุกข์แสนสาหัส จนคิดหนีลูกและสามี แต่ในที่สุดเธอก็ต้องกลับมาบ้าน เพราะเพื่อนรักผู้ที่เธอหวังว่าจะเป็นที่พึ่งสุดท้ายของเธอกำลังป่วยหนัก ต้องให้แม่ผู้ชราดูแล และไม่อาจช่วยเธอได้

นวนิยายรักเรื่องนี้ เริ่มด้วยการตั้งคำถามกับค่านิยมเก่าที่บูชาเทิดทูนความรัก ทั้งความรักของพ่อแม่ ความรักของหนุ่มสาว ความรักของเพื่อน และจบลงอย่างชาญฉลาด ด้วยความตระหนักรู้ของตัวละครเอกว่า ไม่มีความรักใดจะไม่ปวดร้าว แต่ผู้จะเปลี่ยนความปวดร้าวนี้เป็นปิติสุขได้นั้นก็คือ ผู้มีความรักนั้นเอง (พระราชนิพนธ์คำนำ)

ความรัก : บำเหน็จทางสังคมกับคุณค่าที่แท้จริง
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

ความรัก : บำเหน็จทางสังคมกับคุณค่าที่แท้จริง

บทคัดย่อ:

ความรักจัดเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของจิตวิญญาณประการหนึ่งที่่มนุษย์จำเป็นต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ เนื่องจากความรักมีทั้งคุณและโทษที่สามารถสร้างปัญหาให้แก่มนุษย์และสังคมได้ ถ้าหากเราขาดสติปัญญา บทความนี้ ได้นำเสนอปัญหาเกี่ยวกับความรักที่ได้รับอิทธิพลจากบำเหน็จทางสังคม หมายถึง ปัจจัยทางสังคมทั้งตัวบุคคล สื่อ และค่านิยมที่คนในสังคมหยิบยื่นให้แก่กัน ถ่ายทอดหรือร้บช่วงต่อกันมาอย่างผิดๆ โดยใช้แนวคิดทางพระพุทธศาสนาเป็นกรอบของการอธิบาย ซึ่งได้ชี้ให้เห็นถึงประเภทและความหมายของความรักที่ควรปลูกฝังและควบคุม ค่านิยมทางสังคมเกี่ยวกับความรักที่อาจนำไปสู่หายนภัยที่ต้องเฝ้าระวังและทางออกของปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยการสร้างความรักบนพื้นฐานของปัญญาที่มองเห็นค่า ความหมาย และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องเรียกว่า สัมมาทิฐิ ตลอดจนแนวทางการป้องกันและปรับความรักที่เป็นอกุศลให้เป็นกุศลด้วยปัญญาและจาคะ คือ การเสียสละ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ความรักสวยสด งดงาม และอำนวยประโยชน์ให้แก่ชีวิตและสังคม

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2549). ความรัก : บำเหน็จทางสังคมกับคุณค่าที่แท้จริง. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (18), 107-121.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa