ตามที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำรายงานการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ของศูนย์บรรณสารนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในการอนุรักษ์พลังงาน ในตารางการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ มีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
1. ตารางสรุปการใช้ไฟฟ้า น้ำประปา อาคารบรรณสาร 2. กราฟแสดงทิศทางการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำประปา อาคารบรรณสาร 3. วิธีการคำนวณน้ำหนักกระดาษ อาคารบรรณสาร 4. ข้อมูลการใช้ทรัพยากรและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาคารบรรณสาร 5. การวิเคราะห์ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก อาคารบรรณสาร 6. ปริมาณขยะ อาคารศูนย์บรรณสารสนเทศ
มารู้จักวิธีการคำนวณรายงานการใช้ทรัพยากรสารสนเทศกันเถอะ….
ประโยชน์ที่ได้จากการทำรายงานฉบับนี้ ทำให้ทราบถึงปริมาณการใช้ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และกระดาษ ของอาคารบรรณสาร หากมีการเพิ่มขึ้นของทรัพยากรดังกล่าว จะได้หาปัญหาของการเพิ่มขึ้นของทรัพยากรนั้น เช่น การช่วยรณรงค์ การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟฟ้า ลดปริมาณขยะ และรวมถึงการร่วมแรงร่วมใจกันใช้กระดาษรีไซเคิลนำมาพิมพ์เอกสาร ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวมาข้างต้น ได้มีอยู่ในมาตรการการประหยัดพลังงานด้วยคุณธรรมของมหาวิทยาลัย 15 ข้อ
การรียูส (Reuse) คือ การนำวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทต่างๆ เช่น กระดาษ แก้ว โลหะ และพลาสติก ที่ยังสามารถใช้ประโยชน์นำกลับมาใช้ให้คุ้มค่าที่สุด เพราะการใช้ครั้งเดียว ทำให้เกิดขยะมากเกินจำเป็นและสูญเสียทรัพยากรในการผลิตวัสดุเหล่านี้ซ้ำ เพื่อเป็นการนำมาใช้เพิ่มเติมอีกครั้ง เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ลดใช้การใช้พลังงาน เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และยังได้สิ่งของใหม่ไว้ใช้งานได้อีกด้วย การใช้ซ้ำโดยไม่ผ่านกระบวนการทางโรงงาน มี 2 วิธี
1. การนำกลับมาใช้ซ้ำด้วยวิธีการเดิม เช่นการนำภาชนะใส่อาหาร นำมาใส่อาหารซ้ำอีกครั้ง
2. การนำกลับมาใช้ซ้ำโดยผ่านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบใหม่ เช่น การประดิษฐ์ยางล้อรถยนต์ที่ไม่ได้ใช้แล้ว
มาดูตัวอย่างที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรตินำวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์มาใช้ซ้ำ และขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง ซึ่งพอสรุปกลุ่มสิ่งของที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ดังนี้ Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดโครงการกิจกรรมปลูกจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หัวข้อ “เขยิบมาแยกขยะ” เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของขยะ การจัดการขยะ และการคัดแยกขยะให้ถูกวิธี โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์วนิดา สุวรรณพ เป็นวิทยากรในการให้ความรู้ดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 เวลา 10.30-12.00 น. นั้น เพื่อให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในยุทธศาสตร์ที่ 6 มีการบริหารจัดการศูนย์บรรณสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการที่ 3.2 ปลูกฝังจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อส่วนรวม
วัตถุประสงค์โครงการ
1.เพื่อปลูกจิตสำนึกแก่ นักศึกษา อาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2.เพื่อให้ความรู้ และสร้างความตระหนักในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
วิทยากรได้กล่าวถึงภาวะโลกร้อน ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และขยะก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นจนไม่สามารถจัดเก็บให้ทันกับปริมาณ ทั้งนี้จึงมีการเชิญชวนให้คัดแยกขยะ โดยร่วมกับโครงการ กล่องยูเอชที รีไซเคิลได้ เพื่อช่วยลดการตัดต้นไม้เพื่อผลิตกระดาษได้ถึง 17 ตัน แถมยังช่วยลดก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ และลดพื้นที่หลุมฝังกลบขยะอีกด้วย
โครงการ กล่องยูเอชที รีไซเคิลได้
จากภาพข้างต้น เป็นการนำกล่องนมยูเอชที กลับมาใช้ใหม่ โดยสอนวิธีการพับเก็บกล่องอย่างถูกวิธี ก่อนนำไปรีไซเคิล Read the rest of this entry »
การมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชน : ทางเลือกใหม่ของการจัดการปัญหาขยะ
บทคัดย่อ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งคือ ปัญหาขยะที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถจัดเก็บได้เพียง ร้อยละ 60-80 เท่านั้น
ความพยายามในการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมามีทั้ง วิธีการกำจัดขยะแบบการฝังกลบ การเผา การจัดตั้งศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย และการนำมาตรการด้านภาษีและค่าธรรมเนียมมาบังคับใช้ยังมีข้อจำกัดมากมายส่งผลให้ขาดประสิทธิภาพในทางปฏิบัติ จึงมีการเปลี่ยนมุมมองต่อเรื่องขยะเสียใหม่ เพราะโครงสร้างขยะเปลี่ยนไปแล้ว ขยะไม่ใช่แค่เศษอาหาร เศษวัชพืช อีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และยังทำให้เกิดคุณภาพของสินค้าตัวใหม่ที่ปลายทางดีขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็น การทำปุ๋ยหมัก หรือ หมักสารจุลินทรีย์ หรือสารสกัดชีวภาพ การหลอม หรือผลิตสินค้ารีไซเคิลตัวใหม่ ๆ
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2542 เป็นต้นมา ได้มีองค์กรชุมชนหลาย ๆ แห่งได้รวมตัวกันจัดการขยะในลักษณะของธุรกิจชุมชนทำให้สมาชิกมีรายได้จากการขายขยะและยังสร้างจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมชุมชน ซึ่งกิจกรรมนี้ได้มีการนำไปปฏิบัติแพร่หลาย โดยมีแนวทางการจัดการขยะของชุมชนเกิดขึ้นหลายรูปแบบ ได้แก่ ประเภทซาเล้งอิสระ ส่งเสริมกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน การส่งเสริมสิ่งแวดล้อมชุมชน ธนาคารขยะ และธุรกิจชุมชน และได้ขยายเป็นเครือข่ายองค์กรด้านการจัดการปัญหาขยะ มีลูกข่ายเกือบทั่วประเทศ ภายใต้กลไกที่ทำให้เกิดความสำเร็จเช่น กลไกทางการศึกษา ผู้นำ การเรียนรู้จากการเห็นประโยชน์และการปฏิบัติจริงของชุมชน การประสานงานกับองค์กรท้องถิ่น การใช้เครือข่ายองค์กร และผลประโยชน์ด้านสวัสดิการสังคมและเศรษฐกิจที่ชุมชนได้รับ เป็นต้น
การมีส่วนร่วมของภาคชุมชนจึงเป็นแนวทางที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาขยะที่ยั่งยืน
รายการอ้างอิง
กรรณิกา ขวัญอารีย์. (2546). ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งคือ ปัญหาขยะที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถจัดเก็บได้เพียง ร้อยละ 60-80 เท่านั้น. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (13), 33 – 42.
แบไต๋ไบโอก๊าซ
หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเป็นทั้งวิทยาศาสตร์ สังคม กระบวนการพัฒนาชุมชน การแก้ไขปัญหาของชาวบ้าน มูลเหตุของความล้มเหลว รวมถึงปัจจัยที่นำสู่ความสำเร็จ ที่ชาวบ้านสามารถแปลงวัสดุการเกษตรเศษอาหาร หรือเราเหมาเรียกรวมว่า “ขยะ” ให้เป็น “ไบโอก๊าซ” เพื่อใช้เป็นพลังงานหุงต้มในครัวเรือนได้ ส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอก๊าซของชุมชนในจังหวัดกระบี่ หมวดหมู่ TP359.B48 จ234บ 2558
จิตติ มงคลชัยอรัญญา. (2558). แบไต๋ ไบโอก๊าซ : บทเรียนจากชุมชน กรณีศึกษา : การพึ่งตนเองด้านพลังงานของชุมชนในจังหวัดกระบี่. กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์