SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
อ่านวารสาร ผ่าน QR Code
ม.ค. 28th, 2021 by อุไรรัตน์ ผาสิน

ในยุคดิจิทัล ทำให้หลายๆ วงการปรับการผลิต การให้บริการ คอนเทนต์ ห้องสมุดก็ได้รับผลของยุคดิจิทัล อย่างจัง เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศจากฉบับพิมพ์เป็นดิจิทัล สื่อสิ่งพิมพ์ถูกเปลี่ยนเป็นสื่อดิจิทัล การให้บริการจึงเน้นในการเข้าสารสนเทศดิจิทัลแทน

วารสารที่ให้บริการเช่นเดียวกัน วารสารจำนวนมาก ยกเลิกการผลิตฉบับพิมพ์ เป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์แทน ห้องสมุดเลิกการบอกรับฉบับพิมพ์ หันไปบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยเหตุที่ว่าเข้าถึงได้สะดวกไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ไม่จำเป็นต้องเข้ามาในห้องสมุด โดยเฉพาะช่วงที่ห้องสมุดต้องปิดให้บริการชั่วคราว จากโรคระบาด หรืออาจจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่ผู้ใช้ก็ยังคงสามารถอ่านวารสารอิเล็กทรอนิกส์ได้  รวมทั้งวารสารทางวิชาการที่เป็น Open access  ห้องสมุดได้ปรับแนวทางการให้บริการในเข้าถึง  โดยการทำ QR Code เป็นช่องทางในการเข้าถึงวารสารอิเล็กทรอนิกส์แทน  ภาพที่เคยเห็นวารสารบนชั้นวารสารในห้องสมุด จึงจะไม่ค่อยจะได้พบเห็น

งานวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ได้จัดทำช่องทางเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงวารสาร ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

1. ได้จัดทำช่องทางในการเข้าถึงวารสารให้สะดวกมากขึ้น แทนฉบับพิมพ์ที่เคยให้บริการที่ชั้นวารสาร จากรูปจะเห็นการจัดวาง QR Code รายชื่อวารสารแต่ละชื่อแทนตัวเล่ม (รูปที่ 1) โดยจะแบ่งเป็นหมวดตามสาขาวิชา/คณะ

 

รูปที่ 1 ช้้นวารสารที่แทบจะไม่มีวารสารฉบับพิมพ์ แต่มีชื่อวารสารพร้อม QR Code แทน

ตัวอย่าง วารสารด้านการพยาบาล

Home Healthcare Nurse

 

 

 

 

 

                              Journal of Emergency Nursing

                                 Journal of Family Nursing

Read the rest of this entry »

การเปลี่ยนแปลงของงานวารสาร จากตัวเล่มสู่ QR Code
ก.พ. 2nd, 2018 by อุไรรัตน์ ผาสิน

เมื่อมีการนำระบบ WorldShare Management Services (WMS)  เข้ามาใช้กับงานห้องสมุดของศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำให้งานวารสารมีแนวคิดริเริ่มพัฒนารูปแบบของการทำงานและการให้บริการวารสารเพื่อการค้นคว้า สอดคล้อง และก้าวตามทันยุคสมัยของการใช้อุปกรณ์การสื่อสารในยุคปัจจุบัน และเป็นการเข้าถึงสื่อความรู้ เพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็ว ให้กับผู้ใช้บริการวารสารของศูนย์บรรณสารสนเทศ

งานวารสารเริ่มปรับปรุงการให้บริการ หรือ Work process เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงตัวเล่มได้ง่ายขึ้น โดยเริ่มจาก

  1. เปลี่ยนการจัดเรียงการให้วารสารตามสาขาของวารสาร แทนการจัดเรียงตามลำดับอักษร เนื่องจาก ผู้ใช้ในสาขาวิชานั้น จะสามารถเข้าถึงวารสารได้โดยตรง เช่น วารสารทางด้านพยาบาล (เนื่องจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีความโดดเด่นในการเรียนการสอนทางด้านพยาบาล) วารสารทางด้านวิทยาศาสตร์และสุขภาพ (รวมเทคนิคการแพทย์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เภสัชศาสตร์ การแพทย์แผนจีนเป็นต้น) วารสารทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ศิลปศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ภาษาและวัฒนธรรมจีน บริหารธุรกิจ เป็นต้น)
  2. กำหนดคำค้น เพิ่มในรายการเมทาดาทาของวารสาร เป็นวารสารตามสาขาที่กล่าวมาแล้วในข้อ 1 เพื่อให้สามารถสืบค้นและสามารถส่งรายชื่อวารสารเพื่อรับรองหลักสูตรได้อย่างรวดเร็ว
  3. ตรวจสอบรายชื่อวารสารที่มีการผลิตเป็นฉบับอิเล็กทรอนิกส์และทำ QR Code เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถสแกน QR Code และอ่านเนื้อหาของวารสารได้ทันที เป็นการลดการบอกรับวารสารที่เป็นตัวเล่ม โดยการให้บริการฉบับอิเล็กทรอนิกส์แทน ซึ่งทำ QR Code ไว้หน้าปกวารสาร (บางฉบับที่ได้รับฟรี หรือยังมีความจำเป็นต้องบอกรับเป็นตัวเล่ม) กรณีที่ไม่ตัวเล่มแล้ว จะสแกน QR Code พร้อมชื่อวารสาร จัดวางไว้ให้บริการที่ชั้นวางวารสาร ดังรูป

    วารสารที่ทำ QR Code เพื่อให้สแกนและเข้าให้เข้าถึงเนื้อหาได้ทันที

    วารสารที่ทำ QR Code เพื่อให้สแกนและเข้าให้เข้าถึงเนื้อหาได้ทันที

 

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa