SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การศึกษาภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย
มี.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการศึกษาภาษาจีนนับวันก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น ประเทศไทยในฐานะเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับประเทศจีน ไม่ว่าด้านธุรกิจหรือศิลปะวิทยาการด้านอื่นๆ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างชนชาติ ด้วยเหตุนี้ผู้เกี่ยวข้องจำเป็นต้องศึกษาภาษาจีนเพื่อสื่อสารและสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน แต่เนื่องจากปัจจัยทางการเมืองในช่วงเวลาหนึ่งทำให้การศึกษาภาษาจีนในประเทศไทยต้องชะลอหรือชะงักการพัฒนา ปัจจุบันผู้ที่มีวิสัยทัศน์จึงต้องมองปัญหาการศึกษาภาษาจีนของไทยให้กระจ่างเพื่อจะได้พัฒนาให้เป็นระบบและก้าวไกลทันกับการศึกษาภาษาจีนทั่วโลก การจัดการศึกษาภาษาจีนในระดับอุดมศึกษาของไทยแม้ว่าจะดำเนินการมาแล้วกว่า 20 ปี แต่ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและปัจจุบันนับวันจะเพิ่มมากขึ้น

บทความบทนี้ได้นำเสนอปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษาภาษาจีนระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยในภาพรวมโดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจปัญหาต่าง ๆ เพื่อจะได้ร่วมกันสร้างสรรค์และพัฒนาการศึกษาภาษาจีนให้เกิดประสิทธิผลอย่างแท้จริง

นริศ วศินานนท์. (2546). การศึกษาภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (13), 51-60.

มหาวิทยาลัยไทย อยู่ที่ไหนในเวทีโลก?
มี.ค. 10th, 2016 by supaporn

ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย วิเคราะห์ไว้ว่า สำหรับประเทศไทย มีมหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ในลำดับที่ 44 ของโลก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ในลำดับที่ 53 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อยู่ในลำดับที่ 99 และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ในลำดับที่ 143 การที่มหาวิทยาลัยของไทยไม่อยู่ในอันดับที่ 1-40 ถ้ามหาวิทยาลัย คือ หัวสมองของประเทศ จะมีปัจจัยใดที่ก้าวสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำได้ มีนักการศึกษาที่เคยวิเคราะห์ไว้ ว่ามี 3 ปัจจัย คือ

  1. การที่มีเงินหนา ได้เงินอุดหนุนจากรัฐ รายได้จากทุนตั้งต้น ค่าเทอม เงินวิจัยที่ได้รับ
  2. คนเก่ง เป็นที่รวมของคนเก่ง ทั้ง อาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย คัดเลือกจากนานาชาติ
  3. บริหารดี มีอิสระทางบริหาร วิชาการ ผู้นำมีวิสัยทัศน์ มีวัฒนธรรมเน้นความเป็นเลิศ

ติดตามชมการวิเคราะห์ได้ที่ http://tdri.or.th/multimedia/thinkx2-138/

รายการอ้างอิง

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์.  (2559). คิดยกกำลังสอง: มหาวิทยาลัยไทย อยู่ที่ไหนในเวทีโลก?.  สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2559 จาก http://tdri.or.th/multimedia/thinkx2-138/

อุดมศึกษาไทยในอนาคต
ก.พ. 27th, 2016 by rungtiwa

อุดมศึกษาไทยในอนาคต

บทคัดย่อ:

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย บรรยายเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2551 ณ ห้องบรรยายพิเศษ 1 (2-315) อาคารเรียน ชั้น 3 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยบรรยาย 3 เรื่อง

เรื่องที่ 1 การก่อตั้งมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้งนี้ เพื่อบอกเล่าแก่สมาชิกใหม่ของมหาวิทยาลัย
เรื่องที่ 2 สถานการณ์ในโลกที่มีปัจจัยต่างๆ มากระทบอุดมศึกษาไทย และกระทบต่อมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติอย่างไร
เรื่องที่ 3 อุดมศึกษาไทยที่กำลังเปลี่ยนแปลงและเราจะต้องเอาปัจจัยเหล่านั้นมากำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์หลักของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เพื่อกำหนดปัจจุบันและอนาคตของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติอย่างไร

เกษม วัฒนชัย. (2551). อุดมศึกษาไทยในอนาคต. วารสาร มฉก.วิชาการ 12 (23), 1-10.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพและแนวปฏิบัติที่ดี ของทักษะการเรียนในระดับอุดมศึกษา
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพและแนวปฏิบัติที่ดี ของทักษะการเรียนในระดับอุดมศึกษา

The Development of Quality Indicators and Best Practices For Study Skills in Higher Education

บทคัดย่อ:

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพและแนวปฏิบัติที่ดีของทักษะการเรียนในระดับอุดมศึกษาที่ส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีโดยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

ขั้นตอนที่1 สัมภาษณ์นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของทุกคณะวิชาของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยสะสม 3.50 ขึ้นไป จำนวน 67 คน และประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 18 คน เพื่อให้ได้ทักษะการเรียนในระดับอุดมศึกษาที่ส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดี Read the rest of this entry »

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ รับสมัครนักศึกษาใหม่
ม.ค. 8th, 2016 by supaporn

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ รับสมัครนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2559

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ : เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ : เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ แผนกรับนักศึกษา สำนักทะเบียนและประมวลผล http://admission.hcu.ac.th/

ดูวิดีโอ แนะนำมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ภาพจากแผนกรับนักศึกษา สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

แนะนำมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ม.ค. 8th, 2016 by supaporn

วิดีโอ แนะนำมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa