SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
เขียนผลงานวิชาการอย่างไร ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่เป็นการลักลอกผลงาน (Plagiarism)
ม.ค. 3rd, 2019 by supaporn

รองศาสตราจารย์ มานิตย์ จุมปา ได้บรรยาย เรื่อง เขียนผลงานวิชาการอย่างไร ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่เป็นการลักลอกผลงาน (Plagiarism) โดยคณะนิติศาสตร์ และ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดกิจกรรมนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับคณาจารย์ นักวิจัย และผู้มาประชุมเครือข่ายประกันคุณภาพ 6 สถาบัน ที่มาร่วมประชุมวันที่ 24 ธันวาคม 2561 ณ ห้องสื่อประสม (ห้องบรรยายพิเศษ 2) อาคารบรรณสาร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

เขียนผลงานวิชาการอย่างไร ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่เป็นการลักลอกผลงาน (Plagiarism)

โดยสรุปจากการฟังและจากเอกสารประกอบการบรรยาย ได้ดังนี้

วิทยากรแบ่งการบรรยายออกเป็น 3 ภาค คือ

ภาค 1 เรียนรู้จากข่าว โดยนำกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่เป็นข่าวเกิดขึ้น เพื่อเป็นตัวอย่างสะท้อนให้เห็นความหมายของการลักลอกผลงาน ให้ชัดเจนขึ้น และให้เป็นข้อสังเกตว่า การละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของใครก็ตาม ต้องพิจารณาว่า ผลงานนั้นๆ มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ตัวอย่างที่ยกมานั้น มีทั้งกรณีที่เป็นนักศึกษา อาจารย์ และประชาชนทั่วไป ที่มีการคัดลอกผลงานทางวิชาการของคนอื่นมาเขียน ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา และมีการตรวจสอบได้ รวมทั้งวิธีการพิจารณาของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง เช่น มีทั้งการเพิกถอนปริญญา หรือบางกรณีเจ้าของผลงานไม่ติดใจ แต่ให้มหาวิทยาลัยดำเนินการตามมาตรการของมหาวิทยาลัยเอง ความเคลื่อนไหว และบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในการให้นิสิต นักศึกษา พ้นสภาพความเป็นนักศึกษาทันที หาพบว่ามีการจ้าง หรือคัดลอกวิทยานิพนธ์ และสารนิพนธ์ และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในการพยายามหาเครื่องมือมาตรวจสอบการลอกเลียนทางวรรณกรรม Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa