SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การทำวิจัย
พ.ค. 11th, 2020 by supaporn

จากการฟังสัมภาษณ์รองศาสตราจารย์ ดร. ศากุน บุญอิต อาจารย์ประจำสาขาบริหารการปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับโลกหลายฉบับ เรื่องการทำงานวิจัย   โดย ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์  ผ่าน YouTube https://youtu.be/mLu5iing7Tk น่าสนใจทีเดียว ขอสรุปสั้น ๆ ดังนี้

ในแง่ของนักศึกษาระดับปริญญเอก

อาจารย์ ศากุน แชร์ให้ฟังว่า การสอนในระดับปริญญาเอก จะเริ่มต้นด้วยการให้อ่านมาก ๆ ให้ตึกผลึกก่อน แล้วค่อยหาหัวข้อ วิจัย หลังการเรียน course work ควรเป็นเรื่องของการอ่าน ไม่อย่างนั้นจะไม่เป็น high abstract thinking

การทำวิจัย การเรียนปริญญาเอก การตีพิมพ์ คล้าย ๆ กัน คือ เป็นการเดินทาง (journey) ดังนั้น ต้องไม่ท้อใจ ต้องเรียนรู้ว่าเป็น journey พอเป็น journey ก็ต้องพบอะไรต่อมิอะไร แต่อย่าเพิ่งท้อใจ และเลิกไป จะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ไปทำงาน ไปสอน ก็ไม่จบ ต้องไปทางหลักจึงจะถึงจุดหมาย

ในแง่ของอาจารย์

การเป็นอาจารย์มีหน้าหลัก ๆ 3 อย่าง คือ สอน ทำวิจัย และบริการวิชาการ ซึ่ง 3 อย่างนี้เลือกไม่ได้ ต้องทำทุกอย่าง ครู กับ อาจารย์ นักวิชาการ ความหมายต่างกัน ครู หน้าที่หลัก คือ ทำหน้าที่สอน แต่พอเป็นอาจารย์และนักวิชาการ หน้าที่หลักมี 3 อย่าง ตามที่บอก วิจัย คือ 1 ในนั้น ดังนั้น อาชีพอาจารย์ การทำวิจัยไม่ใช่ทางเลือก แต่ต้องทำ ถึงต้องมีเกณฑ์ว่า เท่านั้น ปี ต้องตีพิมพ์ แล้วถึงต่อสัญญา ซึ่ง จริง ๆ ก็ถูก เพราะเป็นพันธกิจของอาจารย์ที่ต้องทำ ถ้าวิจัยในอาชีพอาจารย์ เป็น A Must ก็ต้องแบ่งเวลามาทำ ถ้าทำวิจัยวันละ 2 ชม. มี paper ออกมาแน่นอน ปัญหาหลัก คือ ไม่ทำมากกว่า เพราะมีทางเลือก จึงไม่ทำ ต้องเริ่มที่ mindset ว่า วิจัย เป็น A Must ที่ต้องทำ ไม่ใช่ทางเลือก เหมือนกับเป็นอาจารย์ ก็ต้องไปสอน

การทำวิจัยให้คิด 3 เรื่อง

1. โจทย์วิจัยมีความสำคัญหรือไม่ สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎี และเชิงปฏิบัติ

2. กระบวนการทำวิจัย เข้มข้น เข้มแข็งพอหรือไม่ มีความชัดเจน หรือไม่

3. ผลที่ได้น่าเชื่อถือ กับโจทย์ที่ตั้งมาหรือต้องการวัดหรือไม่

อ้างอิง

ศากุน บุญอิต. (2563, พฤษภาคม 10) การทำวิจัย. [Video file). สืบค้นจาก https://youtu.be/mLu5iing7Tk

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย
เม.ย. 16th, 2017 by supaporn

จากการบรรยายของ ศาสตราจารย์ ดร. อังศุมาลย์ จันทราปัตย์ หัวหน้าคณะผู้จัดทำจรรยาวิชาชีพและแนวทางปฏิบัติให้กับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในการประชุมเชิงวิชาการเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2560 ณ ห้องบรรยาย 3 อาคารอำนวยการ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ขอสรุปส่วนหนึ่งของการบรรยาย ที่เกี่ยวกับการจัดทำผลงาน การเผยแพร่ผลงานวิจัย ขอนำมาสรุปเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อให้อยู่ในกรอบของการมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย จากเอกสารประกอบการประชุมเชิงวิชาการ ของสำนักพัฒนาวิชาการ ดังนี้

การเผยแพร่ผลงานวิจัย

  • หากไม่จำเป็นไม่ควรเสนอผลงานที่ยังไม่สมบูรณ์ (Premature) หรือยังไม่ได้รับการประเมินออกสู่สังคม
  • ต้องให้เกียรติและอ้างถึงนักวิชาการ/แหล่งข้อมูลที่นำมาใช้
  • ระบุและลำดับชื่อผู้นิพนธ์อย่างถูกต้องเป็นธรรม
  • ขอบคุณบุคคล คณะบุคคล และองค์กรที่สนับสนุนงานวิจัยในกิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement)
  • นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรม
  • แสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากการนำเสนอผลงานวิจัยสู่สาธารณะ
  • ไม่ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเรื่องเดียวกันซ้ำซ้อนหรือมากกว่า 1 แห่ง (Dual or duplicate publication)
  • ตีพิมพ์ผลงานมากกว่าหนึ่งภาษาได้ หากวารสารที่จะตีพิมพ์มีนโยบายรองรับ แต่ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบล่วงหน้าด้วย
  • ส่งเรื่องเต็มของบทคัดย่อ (Abstract) ที่ตีพิมพ์ใน Proceedings ไปให้วารสารวิชาการพิจารณาได้ แต่ควรให้บรรณาธิการวารสารนั้นทราบและยินยอมก่อน
  • ไม่แบ่งย่อยผลงานวิจัยเป็นหลายเรื่องเกินความเหมาะสม เพื่อเพิ่มจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ (Salami publication or Balogna) เพราะอาจลดคุณค่าของงานได้ (แต่อาจจกระทำได้ หากบทความเหล่านั้น มีเนื้อหาเหมือนกันไม่เกินร้อยละสิบ และต้องไม่ใช้ตารางหรือภาพประกอบเดียวกัน และให้บรรณาธิการวารสารที่ส่งเรื่องไปตีพิมพ์ทราบและยินยอมด้วย)
  • การให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยแก่ผู้สนใจและร้องขอ ควรเป็นไปตามเงื่อนไขหรือได้รับความเห็นชอบตากต้นสังกัดว่าด้วยจริยธรรมที่ครอบคลุมข้อมูล วัสดุและทรัพย์สินทางปัญญาด้วย

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa