SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การจัดการ หนังสือ oversize
ก.ค. 20th, 2020 by chonticha

ห้องสมุดแต่ละแห่ง มักจะมีหนังสือที่มีหลาย ๆ ขนาด และมักจะมีหนังสือขนาดใหญ่หรือมีความกว้างมากกว่าปรกติ ทั้งนี้ การจัดหนังสือที่มีขนาดใหญ่หรือมีความกว้างมากกว่าหนังสือทั่วไป รวมกับหนังสือทั่วไป ก็ย่อมทำได้ และห้องสมุดส่วนใหญ่ก็มักจะจัดรวมกัน แต่การแยกหนังสือที่มีขนาดใหญ่หรือมีความกว้างมากกว่าปรกติ ออกจากชั้นหนังสือทั่วไป แยกออกมาเป็นมุมหนังสือที่มีขนาดใหญ่หรือ Oversize ก็จะทำให้การจัดชั้นหนังสือทั่วไปมีขนาดเท่า ๆ กัน ความกว้างของชั้นหนังสือ หรือความสูงของชั้นหนังสือเท่ากัน แลดูเป็นระเบียบ และเจ้าหน้าที่ ผู้จัดชั้นหนังสือก็ไม่ต้องขยับหรือขยายความกว้างของหนังสือบ่อย ๆ ถ้าต้องพบกับหนังสือที่มีความใหญ่หรือสูงหรือกว้างกว่าความสูงของชั้นหนังสือโดยทั่วไป

ตัวอย่างภาพหนังสือที่มีหลากหลายขนาดจัดรวมอยู่ด้วยกัน

ภาพที่ 1 หนังสือทุกขนาดจัดรวอยู่ในชั้นหนังสือเดียวกัน

การเปรียบเทียบกับหนังสือที่มีขนาดปกติให้เห็นความแตกต่างด้านความสูงของหนังสือ ดังภาพที่ 2 Read the rest of this entry »

วิธีการจัดเก็บหนังสือขึ้นชั้น
มิ.ย. 23rd, 2017 by chonticha

หนังสือ เป็นทรัพยากรสารเทศหลักที่มีอยู่ในห้องสมุด จึงต้องมีการจัดเก็บให้ตรงตามหมวดหมู่และตำแหน่งที่ถูกต้อง ตามหลักการของการจัดหมวดหมู่เนื้อหาของหนังสือ เพื่อให้สะดวกแก่การค้นหาของผู้ใช้บริการ

การที่ต้องมีการจัดเรียงหนังสือให้ถูกต้องตามหมวดหมู่นั้น เนื่องจากมีหนังสือเข้ามาในส่วนของงานบริการเพื่อให้บริการผู้ใช้อยู่เสมอและอย่างต่อเนื่อง และผู้ใช้มีการหยิบหนังสือออกจากชั้นหนังสือ เพื่ออ่านในห้องสมุด หรือยืมออกจากห้องสมุด ก็ตาม เมื่อมีการนำกลับมาคืน ต้องมีการจัดเรียงขึ้นชั้นให้ถูกต้องตามตำแหน่งดังเดิม

ผู้เขียน มีหน้าที่ในการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น โดยจะรวบรวมหนังสือที่ผู้ใช้บริการอ่านเสร็จแล้ว และนำหนังสือวางไว้ที่ชั้นพักหนังสือ หรือรวบรวมหนังสือที่อยู่ตามโต๊ะต่างๆ  มาดำเนินการเพื่อเตรียมการจัดขึ้นชั้นหนังสือ โดยแยกเป็น หนังสือภาษาไทยกับหนังสือภาษาอังกฤษ และแยกประเภทของหนังสือก่อนที่จะจัดเรียงขึ้นชั้น

ประเภทของหนังสือจะแบ่งออกเป็น หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง หนังสือหายาก งานวิจัย ภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ นวนิยาย เรื่องสั้น และหนังสือมุมต่างๆ เช่น มุมพุทธทาสภิกขุ มุมคุณธรรม มุม สสส. เป็นต้น

1

วิธีการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น  มีดังนี้

  1. จัดแยกประเภทของหนังสือ เช่น
  • หนังสือทั่วไปหมวด A – Z  ชั้น 3 , ชั้น 4 , ชั้น 5 (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
  • หนังสืออ้างอิง ชั้น 3 , ชั้น 4 , ชั้น 5 (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
  • งานวิจัย  (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
  • วิทยานิพนธ์  (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
  • ภาคนิพนธ์  (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
  • นวนิยาย
  • เรื่องสั้น
  • หนังสือมุมต่างๆ เช่น มุมพุทธทาสภิกขุ  มุมคุณธรรม  มุม สสส.
  1. จัดเรียงตามลำดับตัวอักษรของเลขเรียกหนังสือ

การจัดเรียงจะทำการเรียงจากเลขน้อยไปหาเลขมาก เรียงจากซ้ายไปขวา และเรียงจากชั้นบนลงชั้นล่าง โดยดูจากเลขเรียกหนังสือที่สันหนังสือ ดังตัวอย่างและภาพประกอบ

223หรือ ถ้าหนังสือชื่อเรื่องเดียวกัน มีหลายฉบับ เรียงตามลำดับฉบับ หรือ Copy ดังตัวอย่างและภาพประกอบ

445ตัวอย่างการจัดเรียงหนังสือบนชั้น

66

 

หุ่นยนต์บรรณารักษ์
ส.ค. 18th, 2016 by supaporn

ผู้ใช้บริการห้องสมุดที่ชอบเอาหนังสือไปเก็บไม่ถูกที่เดิม ทำให้หนังสือเล่มนั้นยากแก่การค้นหา โดยเฉพาะห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสือเป็นจำนวนมาก งานหาหนังสือที่หายไปหนึ่งเล่มในบรรดาหนังสือบนชั้นทั้งตึกก็ยิ่งยากเข้าไปอีก แต่งานลักษณะนี้จะไม่เป็นปัญหาต่อไปสำหรับหุ่นยนต์บรรณารักษ์ น่าสนใจทีเดียวค่ะ https://www.thairobotics.com/…/06/30/auross-librarian-robot/

 

auross-library-robot

รายการอ้างอิง

sompol.(2559). มาแล้ว หุ่นยนต์บรรณารักษ์ประจำห้องสมุด. จาก https://www.thairobotics.com/2016/06/30/auross-librarian-robot/

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa