ตามที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำรายงานการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ของศูนย์บรรณสารนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในการอนุรักษ์พลังงาน ในตารางการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ มีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
1. ตารางสรุปการใช้ไฟฟ้า น้ำประปา อาคารบรรณสาร 2. กราฟแสดงทิศทางการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำประปา อาคารบรรณสาร 3. วิธีการคำนวณน้ำหนักกระดาษ อาคารบรรณสาร 4. ข้อมูลการใช้ทรัพยากรและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาคารบรรณสาร 5. การวิเคราะห์ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก อาคารบรรณสาร 6. ปริมาณขยะ อาคารศูนย์บรรณสารสนเทศ
มารู้จักวิธีการคำนวณรายงานการใช้ทรัพยากรสารสนเทศกันเถอะ….
ประโยชน์ที่ได้จากการทำรายงานฉบับนี้ ทำให้ทราบถึงปริมาณการใช้ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และกระดาษ ของอาคารบรรณสาร หากมีการเพิ่มขึ้นของทรัพยากรดังกล่าว จะได้หาปัญหาของการเพิ่มขึ้นของทรัพยากรนั้น เช่น การช่วยรณรงค์ การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟฟ้า ลดปริมาณขยะ และรวมถึงการร่วมแรงร่วมใจกันใช้กระดาษรีไซเคิลนำมาพิมพ์เอกสาร ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวมาข้างต้น ได้มีอยู่ในมาตรการการประหยัดพลังงานด้วยคุณธรรมของมหาวิทยาลัย 15 ข้อ
ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดโครงการกิจกรรมปลูกจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของมหาวิยาลัย มีความรู้ ความตระหนัก ในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเพื่อให้เป็นไปตามตามแผนกลยุทธ์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในยุทธศาสตร์ที่ 6 มีการบริหารจัดการศูนย์บรรณสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการที่ 3.2 ปลูกฝังจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อส่วนรวม
สำนักงานเลขานุการ ได้รับมอบหมายในการจัดทำบอร์ดการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไว้ตรงบันได ขึ้น-ลง ชั้น 2 ของศูนย์บรรณสารสนเทศ
วัตถุประสงค์โครงการ
บอร์ดการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เนื้อหาภายในบอร์ดประกอบด้วย มาตรการประหยัดพลังงาน ซึ่งสรุปมาจากมาตรการประหยัดพลังงานของมหาวิทยาลัย ทั้ง 15 ข้อ (12 + 3) ดังนี้ Read the rest of this entry »
Growroom จากไอเดียของสถาปนิก Mads-Ulrik Husum และ Sine Lindholm จาก Space10 ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นเหมือนสวน ปลูกพืช ผัก สมุนไพร ใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่จำกัด หรือปลูกในเมืองได้ Growroom เปิดตัวเมื่อปลายปี ค.ศ. 2016 โครงสร้างเป็นกระบะปลูกพืชที่โค้งต่อจนกันเป็นวงกลม ออกแบบให้กระบะรับแสงแดดได้อย่างทั่วถึง แถมมีที่นั่งภายในอีกด้วย
The Growroom by Ikea’s Space10, Mads-Ulrik Husum, and Sine Lindholm.R Hjortshoj
น่าจะนำมาใช้เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับหน่วยงานได้ เป็นทั้งเฟอร์นิเจอร์ พื้นที่ปลูกพืช ผัก สมุนไพร หรือลองหาพืชที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมหรือสภาพแวดล้อมภายในอาคาร มีเว็บไซต์อธิบายวิธีการประกอบในแต่ละขั้นตอนด้วยค่ะ เช่นที่ http://www.designboom.com/design/ikea-space10-the-growroom-flat-pack-spherical-garden-02-20-2017/ และ https://medium.com/space10-the-farm/space10-open-sources-the-growroom-aa7ca6621715 ลองค้นดูค่ะ มีข้อมูลเยอะทีเดียว
อ้างอิง
Garfield, Leanna (2017). Ikea just launched a DIY flat-pack indoor garden that can feed a whole lot of people at once. Retrived from http://www.businessinsider.com/ikeas-growroom-photos-2017-2
ปัญหาน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วกับแนวทางการจัดการในประเทศไทย
บทคัดย่อ:
น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วถือเป็นของเสียอันตราย ที่ต้องดำเนินการบำบัดและจัดการให้ถูกต้องเพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีระบบการจัดเก็บรวบรวมน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วอย่างเป็นระบบ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการนำกลับไปใช้ประโยชน์หรือกำจัดทิ้งอย่างผิดกฎหมาย บทความนี้ได้อธิบายผลกระทบของน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น ส่วนประกอบของน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วมีสารโพลิไซคลิกอะโรมาติกซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และเมื่อน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม จะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และระบบนิเวศน์ในน้ำ รวมทั้งยังถูกสะสมและถ่ายทอดในระบบห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิต พร้อมทั้งเสนอแนวทางการนำน้ำหล่อลื่นที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยแบ่งเป็น 2 วิธี คือ การกลั่นใหม่ และการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งการกลั่นใหม่เป็นวิธีที่ให้ประโยชน์สูงสุดทั้งในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการกลั่นแต่ละกระบวนการจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดการน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วในประเทศไทย
พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. (2547). ปัญหาน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วกับแนวทางการจัดการในประเทศไทย. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (15), 59-69.
อ่านบทความฉบับเต็ม
ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตประจำวันในสถานที่ทำงานไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง/วัน หรือเกือบครึ่งหนึ่งของชีวิต บางคนอาจใช้เวลาในที่ทำงานมากกว่าที่บ้าน คุณภาพชีวิตของคนในสำนักงานจะดีหรือไหมนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในที่ทำงานเป็นสำคัญ ภายในอาคาร สำนักงานถ้ามีสิ่งแปลกปลอมเจือปนอยู่ในปริมาณมากและเป็นระยะเวลานานๆๆ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของคนในสำนักงานได้ “โรคสำนักงาน” หรือ Sick buildings syndrome ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา รวมทั้งสาร VOCs (Volatile Organic Compounds) และมลพิษอื่นๆ ที่มาจาก สี เสียง กลิ่น อุปกรณ์ตกแต่งสำนักงาน ระบบปรับอากาศ และของเสียภายในสำนักงาน อีกทั้ง Read the rest of this entry »