SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
กระเทียมกับการต้านอนุมูลอิสระ
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

กระเทียมกับการต้านอนุมูลอิสระ

Garlic and Antioxidation

บทคัดย่อ:

อนุมูลอิสระเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะชราและโรคต่างๆ ทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือดความเสื่อมของเซลล์ประสาท การอักเสบ และโรคมะเร็ง S-allylcysteine (SAC) และ S-allylmercaptocysteine (SAMC) เป็นสารเคมีหลักที่พบในกระเทียม มีบทบาทในการต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันไม่ให้ผนังของหลอดเลือดชั้นในถูกทำลายซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง ออกฤทธิ์โดยจับกับอนุมูลอิสระหรือเพิ่มการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระภายในเซลล์ ได้แก่ ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (superoxide dismutase) คะตะเลส (catalase) กลูตาไธโอนเปอร์ออกซิเดส (glutathione peroxidase) และกลูตาไธโอน (glutathione) นอกจากนี้อนุมูลอิสระรวมทั้งไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) และ TNF-α ยังมีผลกระตุ้น nuclear factor kappa B (NF-κB) ซึ่งเป็น transcription factor ทำให้มีการสร้าง adhesion molecules คือ VCAMP-1 และ ICAMP-1 เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการสะสมของสารต่างๆ ที่ผนังหลอดเลือด ในที่สุด จะเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งและ
การตายของเซลล์ SAC และ SAMC สามารถยับยั้งขบวนการดังกล่าวได้โดยไปลดการสร้างไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือลดการหลั่ง TNF-α และยังไปมีผลยับยั้ง activator protein-1(AP-1) และ c-Jun N-terminal kinases (JNKs) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการสร้างโปรตีน จึงทำให้การสร้าง NF-κB ลดลง ดังนั้น กระเทียมจึงมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยป้องกันผลเสียจากอนุมูลอิสระและป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง

Free radicals are a major cause of aging and diseases, including cardiovascular,neurodegeneration and inflammatory diseases and cancer. S-allylcysteine (SAC) and S-allylmercaptocysteine (SAMC), the major compounds of garlic, are well known as playing an antioxidant action by scavenging reactive oxygen species (ROS), enhance activities of superoxide dismutase, catalase, glutathione peroxidase and glutathione in the cells. These mechanisms can prevent endothelial cells from injury by oxidized molecules which lead to atherosclerosis. Nuclear factor kappa B (NF-κB) is transcription factor activated by free radicals, hydrogen peroxide (H2O2) and TNF-α. Activation of NF-κB contributes to the expression of adhesion molecules such as VCAMP-1 and ICAMP-1. These events further accelerate the formation of atherogenic lesions and cell death. SAC and SAMC suppression of H2O2 production or decreased secreted TNF-α, and inhibit AP-1 and c-Jun N-terminal kinases (JNKs) that regulate protein synthesis, lead to reduce NF-κB. These data suggest that garlic and its main compounds, SAC and SAMC may be useful for the prevention of the effects of free radicals and atherosclerosis.

จันเพ็ญ บางสำรวจ. (2553). กระเทียมกับการต้านอนุมูลอิสระ. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (27), 113-122.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

การพัฒนาสบูเหลวจากสมุนไพรไทยและทดสอบฤทธิ์เบื้องตนในการตานทาน ตอเชื้อสแตฟฟโลคอกคัสออเรียสที่ดื้อยาเมทิซิลิน (MRSA)
ก.พ. 12th, 2016 by supaporn

การพัฒนาสบูเหลวจากสมุนไพรไทยและทดสอบฤทธิ์เบื้องตนในการตานทาน ตอเชื้อสแตฟฟโลคอกคัสออเรียสที่ดื้อยาเมทิซิลิน (MRSA)

Development of Thai herbal liquid soap and screening of antimicrobial activity of Thai herbs against methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA)

ปานทิพย รัตนศิลปกัลชาญ เกตุแกว จันทรจำรัส ภรณทิพย นราแหวว และ อุมาภรณ ผองใส. (2557). การพัฒนาสบูเหลวจากสมุนไพรไทยและทดสอบฤทธิ์เบื้องตนในการตานทาน ตอเชื้อสแตฟฟโลคอกคัสออเรียสที่ดื้อยาเมทิซิลิน (MRSA). วารสาร มฉก. วิชาการ 18 (35), 47-60.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa