SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
From Green University to Sustainable Campus : Knowledge Sharing on Data Preparation for UI GreenMetric
ก.ย. 3rd, 2016 by supaporn

บุคลากรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดย รองอธิการบดี อาจารย์ฉลอง แขวงอินทร์ และ นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้เข้าร่วมสัมมนา ในหัวข้อเรื่อง From Green University to Sustainable Campus : Knowledge Sharing on Data Preparation for UI GreenMetric เมื่อวันที่ 29 เดือน สิงหาคม พ.ศ 2559 จัดโดยสถาบันคลังสมองของชาติ เพื่อให้มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม UI GreenMetric ได้มาแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ เพื่อตอบโจทย์การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวและ Sustainable campus โดยอิงเกณฑ์ของ UI GreenMetric World University Ranking

ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate change) สภาวะโลกร้อน และสภาพเรือนกระจก เป็นพันธกิจที่สำคัญพันธกิจหนึ่งที่มหาวิทยาลัยจะต้องให้ความสำคัญ และจากประเด็นนี้เอง จึงมีกลไกหนึ้งที่หนุนเสริมให้มหาวิทยาลัยรักษาสภาพแวดล้อมและสร้างมหาวิทยาลัยสีเขียวให้เป็นที่รู้จักและถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในมหาวิทยาลัยทั่วโลก กลไกดังกล่าว คือ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียว UI GreenMetric World University Ranking ซึ่งดำเนินการโดย University of Indonesia (UI) Read the rest of this entry »

ตรวจเข้มเพื่อประเมินสำนักงานสีเขียว อาคารบรรณสาร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.ย. 3rd, 2016 by supaporn

ป้ายยินดีต้อนรับด้วยกระดาน

ป้ายยินดีต้อนรับด้วยกระดานและชอร์ค

วันที่ 30 สิงหาคม 2559 อาคารบรรณสาร โดยชาวบรรณสารสนเทศ ได้ให้การต้อนรับ คณะผู้ตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) (รอบดีเยี่ยม) และนำเสนอกิจกรรมของอาคารบรรณสารในแต่ละเกณฑ์ โดยมีผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ รศ.ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดี อ.ฉลอง แขวงอินทร์ รองอธิการบดี ร่วมให้การต้อนรับ รับฟังการนำเสนอ และรับฟังผลการตรวจและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการฯ จากนั้น ได้นำคณะกรรมการฯ ชมมหาวิทยาลัยโดยรอบ และรับประทานอาหารร่วมกัน “พวกเรา บรรณสาร ร่วมมือ ร่วมใจ ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” และพวกเราจะดำเนินการต่อไป เพื่อความยั่งยืน Read the rest of this entry »

วิกิ : เครื่องมือเพื่อการแบ่งปันความรู้
ก.ย. 3rd, 2016 by supaporn

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ โดย ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารฯ  นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ได้เป็นวิทยากรในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถาบันพัฒนาวิชาการ (สพว.) ซึ่งผู้อำนวยการ โดย ผศ. ดร. วุฒิพงษ์ ทองก้อน มีความสนใจในการนำโปรแกรม Dokuwiki ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ใช้อยู่ มาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมของ สพว. ต่อไป

ถ่ายภาพร่วมกันหลังบรรยายเสร็จ

ถ่ายภาพร่วมกันหลังบรรยายเสร็จ

เนื่องจาก วิกิ เป็นเว็บไซต์ที่เกิดขึ้นในช่วง Web 2.0 จึงได้มีการบรรยายนำในเรื่องของประวัติและพัฒนาการของ Web ในแต่ละยุค จาก Web 1.0-Web 4.0 จากนั้นจึงได้นำเข้าสู่โปรแกรม Dokuwiki และการใช้งานของศูนย์บรรณสารสนเทศ เช่น การใช้ในการประชุม การใช้ในการจัดเก็บเอกสารภายในของศูนย์ฯ ผลจากการใช้ทำให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีกระบวนการจัดเก็บไฟล์เอกสารที่มีระบบมากขึ้น ค้นหาไฟล์เอกสารต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สามารถใช้เป็นแหล่งจัดเก็บเอกสารในระบบประกันคุณภาพ แหล่งจัดเก็บเอกสารเพื่อใช้ในการประเมินต่างๆ และทำให้ลดการใช้กระดาษลงได้อีก

เอกสารประกอบการบรรยาย

สะสมไว้ ใช้เล่าเรื่อง
ส.ค. 27th, 2016 by supaporn

สะสมไว้ใช้เล่าเรื่อง

สะสมไว้ใช้เล่าเรื่อง

หนังสือประกอบนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ 60 พรรษา

Story-telling-2

ขออัญเชิญพระราชนิพนธ์คำนำ “…ของที่รวบรมมาประมาณ จะเรียกว่า 50 ปีก็ได้ มีทั้งของมีราคา  …  ทำให้คิดว่าผู้ที่มาพบเห็น อยากจะมีโอกาสได้ศึกษาว่าในสมัยก่อนๆ มีของประเภทใดบ้าง ของบางอย่างนี่พอ 50 ปีแล้วก็ไม่มีขายในท้องตลาด หรือเป็นของที่ถือว่าเก่าแก่เป็นของโบราณขึ้้นมาแล้ว … ในการไปเยี่ยมราษฎรในที่ต่างๆ บางทีก็มีคนที่มีของต่างๆ ที่ประดิษฐ์เองหรือของที่รวบรวมไว้เขาก็อยากจะให้ ก็เอามารวมเอาไว้ หรือมีคนที่มาหา บางทีก็ให้เป็นของ หรือไปต่างประเทศก็มีคนที่มาได้ของที่แปลกๆ ที่ไม่เคยเห็นในประเทศไทย ก็เอามารวมไว้ พอไปดูเราอาจจะศึกษาได้ว่าธรรมเนียมประเพณีของที่ต่างๆ เขาทำอย่างไร ประเพณีบ้านเราก็ไม่เหมือนกัน หรือวัฒนธรรมของไทยของต่างประเทศ มันก็ไม่เหมือนกัน …”

ของสะสม

ของสะสม

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชอัธยาศัยใฝ่ศึกษาและสนพระราชหฤทัยศิลปวิทยาการทุกสาขา พระราชอัธยาศัยนี้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงปลูกฝังมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อเสด็จฯ ไปสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก จึงทรงสะสมสิ่งของอันเป็นตัวแทนวัฒนธรรมและวิทยาการของชนชาติต่างๆ

การทรงสะสมสิ่งของเหล่านี้มีประโยชน์เพื่อการศึกษาและเป็นเครื่องเตือนความจำ ของสะสมส่วนพระองค์ตั้งแต่ยังทรงทระเยาว์จนถึงปัจจุบันมีหลายประเภท มีทั้งของที่มีค่าและไม่มีบูลค่า แต่ทรงเก็บไว้เพราะมีความหมายทางสังคมและวัฒนธรรมแสดงถึงประวัติศาสตร์ของถิ่นต่างๆ

อีกประการหนึ่ง ทรงพระราชดำริว่าสิ่งของเหล่านี้จะเป็นประโยชน์มากขึ้นถ้าจัดเก็บและจัดแสดงตามหลักพิพิธภัณฑ์สากล จึงโปรดเกล้าฯ ให้คณะทำงานเก็บรวบรวมไว้ที่พิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์บ้านสวนปทุม จ. ปทุมธานี ทรงสนับสนุนให้คณะทำงานค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม และติดตามดูกิจการพิพิธภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่ได้ชมได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ มีความเข้าใจใฝ่รู้ในศิลปวิทยาการ เกิดความคิดสร้างสรรค์และซาบซึ้งในวัฒนธรรมแบบต่างๆ  อันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่งชนชาติ (คำนำ)

รายการอ้างอิง

พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ.  ของสะสมไว้ใช้เล่าเรื่อง. กรุงเทพฯ : พิพิธภัณฑ์ฯ, 2558.

ต้อนรับคณะอนุกรรมการ ผู้ตรวจรางวัลการดำเนินงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ส.ค. 20th, 2016 by supaporn

วันที่ 19 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น. การไฟฟ้านครหลวง และมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ร่วมต้อนรับคณะอนุกรรมการ ผู้ตรวจรางวัลการดำเนินงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง ประจำปี 2559 ณ ห้องประชุม 1 อาคารอำนวยการ ชั้น 2

การไฟฟ้านครหลวงและมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติร่วมให้การต้อนรับ

การไฟฟ้านครหลวงและมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติร่วมให้การต้อนรับ

ระหว่างการฟังบรรยายกิจกรรมต่างๆ

ระหว่างการฟังบรรยายกิจกรรมต่างๆ

Read the rest of this entry »

หุ่นยนต์บรรณารักษ์
ส.ค. 18th, 2016 by supaporn

ผู้ใช้บริการห้องสมุดที่ชอบเอาหนังสือไปเก็บไม่ถูกที่เดิม ทำให้หนังสือเล่มนั้นยากแก่การค้นหา โดยเฉพาะห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสือเป็นจำนวนมาก งานหาหนังสือที่หายไปหนึ่งเล่มในบรรดาหนังสือบนชั้นทั้งตึกก็ยิ่งยากเข้าไปอีก แต่งานลักษณะนี้จะไม่เป็นปัญหาต่อไปสำหรับหุ่นยนต์บรรณารักษ์ น่าสนใจทีเดียวค่ะ https://www.thairobotics.com/…/06/30/auross-librarian-robot/

 

auross-library-robot

รายการอ้างอิง

sompol.(2559). มาแล้ว หุ่นยนต์บรรณารักษ์ประจำห้องสมุด. จาก https://www.thairobotics.com/2016/06/30/auross-librarian-robot/

โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนศึกษาดูงานการประหยัดพลังงาน
ส.ค. 18th, 2016 by supaporn

คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ถ่ายรูปหน้ารูปปั้น ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์

คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เข้าศึกษาดูงานด้านการอนุรักษ์พลังงานของ มฉก. โดย อาจารย์ฉลอง แขวงอินทร์ (รองอธิการบดี) และคณะทำงานร่วมต้อนรับ ณ ห้องสื่อประสม ชั้น 2 อาคารบรรณสาร มฉก. ในวันที่ 17 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น.

BC-1

ป้ายต้อนรับที่ใช้กระดานชอล์กเพื่อสิ่งแวดล้อม

ผู้บริหารทั้งสองผ่ายถ่ายภาพร่วมกันก่อนเข้าฟังการบรรยาย

ผู้บริหารทั้งสองผ่ายถ่ายภาพร่วมกันก่อนเข้าฟังการบรรยาย

ในการนี้ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และบุคลากรของศูนย์บรรณสารฯ ได้ร่วมให้ข้อมูลโครงการสำนักงานสีเขียว ซึ่งเป็นโครงการที่มีรวมกิจกรรมการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

ถ่ายภาพร่วมกันหลังการบรรยาย

ถ่ายภาพร่วมกันหลังการบรรยาย

ผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เข้าศึกษาดูงานการประหยัดพลังงาน จากอาคารบรรณสาร
ส.ค. 18th, 2016 by supaporn

รองอธิการบดี ฉลอง แขวงอินทร์ บรรยายในกิจกรรมการประหยัดพลังงานของ มฉก.

รองอธิการบดี ฉลอง แขวงอินทร์ บรรยายในกิจกรรมการประหยัดพลังงานของ มฉก.

ผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมฉก. ถ่ายภาพร่วมกัน

ผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมฉก. ถ่ายภาพร่วมกัน

บรรยากาศขณะนำชม

บรรยากาศขณะนำชม

 

วันที่ 15 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น. ผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จำนวน 10 ท่าน ได้เข้าศึกษาดูงานการประหยัดพลังงานของ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ในการนี้ รองอธิการบดี ฉลอง แขวงอินทร์ และทีมงานกองอาคาร พร้อมผู้เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ ให้การต้อนรับ ณ อาคารบรรณสาร ซึ่งเป็น 1 ใน 3 อาคารประหยัดพลังงาน โดยมีการบรรยาย ตอบข้อซักถาม และนำชมจุดต่างๆ

นวัตกรรมจากเครื่องอ่านอีบุ๊ก
ส.ค. 15th, 2016 by supaporn

อ. ธงชัย โรจน์กังสดาล ผู้ชอบอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรืออีบุ๊กผ่านคินเดิลมาก เพราะคินเดิลใช้ อี-อิงก์ (E-ink) หรือหมึกอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้จอมีลักษณะเหมือนกระดาษ ช่วยลดการสะท้อนแสง ทำให้อ่านจากหน้าจอนานๆ ได้โดยไม่เคืองตาเหมือนจอคอมพิวเตอร์ทั่วไป

อี-อิงก์จึงถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ไม่ใช่เครื่องอ่านอีบุ๊กมากขึ้น เช่น ป้ายแสดงข้อมูลต่างๆ ป้ายบอกทางจราจร ป้ายแสดงข้อมูลสินค้า เป็นต้น แม้แต่จอคอมพิวเตอร์ ก็มีผู้ผลิตโดยอี-อิงก์ จออี-อิงก์ นี้ มีชื่อว่า Paperlike แต่ราคายังค่อนข้างสูงมาก อ่านบทความโดยละเอียด

ขอขอบคุณ อ. ธงชัย โรจน์กังสดาล ที่กรุณามอบข้อมูลนี้มาเผยแพร่ค่ะ

เปิดห้องสมุดในสวน ศูนย์บรรณสารสนเทศ
ส.ค. 11th, 2016 by supaporn

เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ครบ 84 พรรษา 12 สิงหา มหาราชินี ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดพิธีเปิดห้องสมุดในสวน และปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ ในวันที่ 11 สิงหาคม 2559 เวลา 08.30 – 10.30 ณ ลานหน้าอาคารบรรณสาร

หลังจากการทำพิธีเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ครบ 84 พรรษา 12 สิงหา มหาราชินี หน้าประตูเสด็จแล้ว ผู้บริหารของมหาวิทยาลัย นำโดย อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ประจักษ์ พุ่มวิเศษ เดินนำขบวนผู้เข้าร่วมพิธีเทิดพระเกียรติฯ มายังอาคารบรรณสาร และทำพิธีเปิดห้องสมุดในสวน อย่างเป็นทางการ โดยถือโอกาสอันเป็นมหามงคลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ในด้านการอนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม

มฉก. เทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

มฉก. เทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ห้องสมุดในสวนนี้ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เกิดจากที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยในการเข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยในการเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินทั้ง 7 เกณฑ์ เพื่อให้เกิดผลในภาพรวมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างรู้คุณค่า มีแนวทางในการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ ที่สำคัญต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาในปริมาณต่ำ

ห้องสมุดในสวน

ห้องสมุดในสวน

รายงานการจัดทำห้องสมุดในสวน

รายงานการจัดทำห้องสมุดในสวน

ปลูกต้นไม้ร่วมกัน

ปลูกต้นไม้ร่วมกัน

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa