เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ มีความสำคัญต่อวงการพิมพ์หนังสือทั่วโลก เนื่องจากมีการกำหนดใช้หมายเลขสากลเป็นรหัสประจำตัวของหนังสือแต่ละเล่ม ซึ่งทำให้เกิดเป็นมาตรฐานเดียวกัน ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การพิมพ์หนังสือทุกเล่มในระยะหลังจะมีหมายเลข ISBN (ยกเว้น การพิมพ์ที่ไม่การขอเลข ISBN ก็จะทำให้หนังสือเล่มนั้น ไม่อยู่ระบบหรือฐานข้อมูลบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ของประเทศนั้นๆ และทำให้ไม่สามารถควบคุมบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นในประเทศได้)
ISBN ย่อมาจาก International Standard Book Number หมายถึง เลขรหัสสากลที่กำหนดขึ้นใช้สำหรับสิ่งพิมพ์ มีความมุ่งหมายที่จะให้เป็นเอกลักษณ์ของหนังสือแต่ละเล่ม มีการ ISBN จึงมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน
ประโยชน์ของเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN)
- ส่งเสริมและเผยแพร่ให้รายชื่อของสิ่งพิมพ์ที่จัดพิมพ์ในประเทศนั้น ๆ แพร่หลายไปทั่วโลกเป็นประโยชน์แก่ผู้ประสงค์จะใช้สิ่งพิมพ์ ห้องสมุดในประเทศและต่างประเทศสามารถติดต่อขอสั่งซื้อสิ่งพิมพ์นั้น ๆ ได้ โดยใช้เลข ISBN
- ช่วยให้ผู้พิมพ์และผู้ใช้หนังสือทั่วโลก สามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว หรือ ค้นหารายชื่อสำนักพิมพ์ที่ใช้เลข ISBN จากหนังสือ International ISBN Publishers Directory หรือ จากซีดีรอม ซึ่งมีรายชื่อและเลขกลุ่มรหัสสำนักพิมพ์ของทุกแห่งในประเทศที่มีหน่วยงานบริการ ISBN ปรากฎอยู่
- ใช้เลข ISBN เป็นรหัสสินค้าในการติดต่อสื่อสารระหว่างสำนักพิมพ์ ผู้จัดจำหน่าย ร้านหนังสือ ห้องสมุด และผู้ชื้อทั่วไป แทนการระบุชื่อหนังสือ หรือการกำหนดรหัสสินค้าของแต่ละสำนักพิมพ์ ทำให้การประสานงานรวดเร็ว รหัสสินค้าไม่ผิดพลาด สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นมาตรฐานสากลด้วยระบบคอมพิวเตอร์
- การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างห้องสมุด ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ สะดวก รวดเร็วขึ้น
- เมื่อนำไปใช้ร่วมกับระบบบาร์โค้ด จะช่วยให้ระบบการขายสะดวก รวดเร็วขึ้นสามารถนำข้อมูลไปใช้บริหารสินค้า วางแผนการผลิต และควบคุมยอดสินค้าคงคลัง เป็นต้น
- ใช้เป็นเลขเอกลักษณ์ของสิ่งพิมพ์แต่ละชื่อเรื่องรวมกันเป็นสากล โดยใช้สัญลักษณ์เป็นเลข 13 หลักในปัจจุบัน
- ช่วยให้นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปได้รับข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือทุกสาขาวิชาจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก อย่างรวดเร็ว และครบถ้วน เป็นการอำนวยประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้า และวิจัยได้กว้างขวางขึ้น
ประโยชน์หลากหลายต่อวงการห้องสมุด มีดังนี้
- ทำให้การค้นคืนข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) ในการสืบค้นข้อมูล
- ในการจัดหมวดหมู่และทำรายการ สามารถคัดเลือกและถ่ายโอนข้อมูลจากฐานข้อมูลบัตรรายการของศูนย์ข้อมูลบรรณานุกรมต่าง ๆ เช่น สืบค้นจากฐานข้อมูล OCLC เป็นไปด้วยความสะดวก ข้อมูลไม่ผิดพลาด และเป็นการลดการซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงานด้วย
- ISBN ทำหน้าที่เป็นส่วนควบคุมจำนวนสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นในประเทศ และทำให้ทราบแนวโน้มการผลิตหนังสือในสาขาวิชาต่าง ๆ
- ISBN อำนวยความสะดวกในด้านการบริการยืมคืนของห้องสมุด
- ใช้ในการยืมระหว่างห้องสมุด บรรณารักษ์ในบางประเทศค้นพบว่า การใช้เลข ISBN เพื่อการยืมระหว่างห้องสมุด ทำให้การค้นหาข้อมูลไม่ผิดพลาด และเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว
- ข้อมูล ISBN ที่มีอยู่สามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลที่อยู่ในบัตรรายการ ISBN จึงทำหน้าที่เสมือนตัวเลขที่ควบคุมบรรณานุกรมแห่งชาติอีกด้วย ISBN นี้จะพิมพ์ปรากฏอยู่ทั่งด้านนอกและด้านหลังหน้าปกในของหนังสือทุ่กเล่ม ทั้งนี้เพื่อความสะดวกด้วยการอ่านจากเครื่องอ่านบาร์โค้ด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ในปัจจุบันได้มีการยอืรับการใช้เลข ISBN กับสิ่งพิมพ์ต่างๆ เพื่อแสดงให้ทราบว่า ISBN ได้ถูกนำมาใช้กับสิ่งพิมพ์ยุคใหม่ ซึ่งเป็นยุคที่มีการพัฒนากิจการต่าง ๆ ของห้องสมุดด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แล้ว โดยเฉพาะการพัฒนากระบวนการเชื่อมโยงข้อมูล จากการคัดเลือกหนังสือ การกำหนดเลขหมู่และทำบัตรรายการหนังสือการยืมคืน และการยืมระหว่างหน้องสมุดอีกด้วย
การใช้เลข ISBN
โดยทั่วไปจะต้องพิมพ์ ISBN ให้ปรากฎบนสิ่งพิมพ์ และจะต้องพิมพ์คำว่า ISBN นำหน้าเลขทั่ว 13 หลัก ด้วยเลขอารบิก และพิมพ์ได้ 2 แบบ ดังนี้
แบบที่ใช้ – ระหว่างตัวเลข เช่น ISBN 978-974-489-125-9
หรือ พิมพ์แบบไม่มีขีด แต่เว้นวรรคแทน เช่น ISBN 978 974 489 125 9
ตัวอย่าง ISBN หน้าปกใน
ตัวอย่าง ISBN หน้าปกหลัง
นอกจากนี้ ท่านใดที่จะขอใช้บริการในการขอ ISBN สามารถติดต่อขอใช้บริการได้ที่ หอสมุดแห่งชาติ เป็นการขอบริการด้วยตนเองผ่านระบบ e-Service ของสำนักหอสมุดแห่งชาติได้ที่ http://www.e-service.nlt.go.th
รายการอ้างอิง
สำนักหอสมุดแห่งชาติ. (2551). ISBN เลขมาตรฐานประจำหนังสือ. พิมพ์ครั้งที่ 1. : สำนักหอสมุดแห่งชาติ.