SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
นวัตกรรมจากเครื่องอ่านอีบุ๊ก
ส.ค. 15th, 2016 by supaporn

อ. ธงชัย โรจน์กังสดาล ผู้ชอบอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรืออีบุ๊กผ่านคินเดิลมาก เพราะคินเดิลใช้ อี-อิงก์ (E-ink) หรือหมึกอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้จอมีลักษณะเหมือนกระดาษ ช่วยลดการสะท้อนแสง ทำให้อ่านจากหน้าจอนานๆ ได้โดยไม่เคืองตาเหมือนจอคอมพิวเตอร์ทั่วไป

อี-อิงก์จึงถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ไม่ใช่เครื่องอ่านอีบุ๊กมากขึ้น เช่น ป้ายแสดงข้อมูลต่างๆ ป้ายบอกทางจราจร ป้ายแสดงข้อมูลสินค้า เป็นต้น แม้แต่จอคอมพิวเตอร์ ก็มีผู้ผลิตโดยอี-อิงก์ จออี-อิงก์ นี้ มีชื่อว่า Paperlike แต่ราคายังค่อนข้างสูงมาก อ่านบทความโดยละเอียด

ขอขอบคุณ อ. ธงชัย โรจน์กังสดาล ที่กรุณามอบข้อมูลนี้มาเผยแพร่ค่ะ

โปรแกรม Deep Freeze คืออะไร
ก.ค. 31st, 2016 by kamolchanok

หลายท่านคงสงสัยว่าทำไมต้องใช้โปรแกรม deep freeze มาลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน โดยเฉพาะถ้าท่านอยู่ในหน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องมีให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้บริการ เช่น ห้องสมุด เป็นต้น หรือบางทีศูนย์คอมพิวเตอร์ หรือหน่วยที่ให้บริการคอมพิวเตอร์ ก็จะมีการลงโปรแกรมนี้ เพื่อสะดวกในการบริหารจัดการ และดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เจ้าหน้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ ไม่มีจำนวนมากพอที่จะมาตามดูแลได้ทั้งหมด จึงต้องมีการลงโปรแกรม deep freeze เพื่อช่วยในการดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์

ถ้าจะถามว่า  Deep Freeze แปลว่า อะไร คงต้องแปลแบบพร้อมอธิบายแบบง่ายๆ ว่า คือ การแช่แข็งไดรฟ์ ให้คงอยู่ในสภาพเดิมตลอดเวลา และมีประโยชน์อย่างไร Read the rest of this entry »

Knowledge Sharing เรื่อง การสแกนเอกสารและการจัดการไฟล์ PDF
มี.ค. 26th, 2016 by supaporn

วันที่ 23 มีนาคม 2559 ได้จัดกิจกรรม Knowledge Sharing เรื่อง การสแกนเอกสาร เบื้องต้นให้กับบุคลากร ที่เกี่ยวข้องกับงานสแกนเอกสารที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ ได้แก่ บุคลากรในสำนักงานเลขานุการ งานบริการสารสนเทศ งานจดหมายเหตุ งานสแกนหนังสือพิมพ์จีน รวมทั้ง นักศึกษาที่ทำหน้าที่ช่วยงานเอกสารส่วนบุคคล ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ ที่ต้องนำมาสแกนเพื่อการสงวนรักษาเอกสารต้นฉบับ และเพื่อสามารถให้เข้าถึงข้อมูลที่สามารถเผยแพร่อย่างมีมาตรฐานได้ทางอินเทอร์เน็ตต่อไป

เริ่มต้นจากการให้ความรู้เรื่องการสแกน โดยเน้นไฟล์ที่ได้จากการสแกนที่เป็นเอกสาร PDF และใช้แนวทางการบริหารจัดการเอกสาร PDF ของฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นแนวอธิบายและยึดถือปฏิบัติในการปฏิบัติงาน

การสแกนเอกสารใดๆ มีแนวทางปฏิบัติดังนี้

  1. มีการพิจารณาอุปกรณ์ที่ใช้ในการสแกนให้เหมาะสมกับสภาพของเอกสาร เช่น เอกสารที่มีการเคลือบพลาสติก ถ้าใช้การสแกนแบบถ่ายด้วยกล้องดิจิทัล จะให้ผลการสแกนที่ไม่เหมาะกับการนำไปใช้งาน เนื่องจาก จะเกิดการสะท้อนของแสงที่กระทบกับพลาสติก จึงต้องหาอุปกรณ์ประเภทอื่น เช่น เป็นเครื่องสแกนแบบแบน (Flatbed scanner) หรือกรณีที่เป็นหนังสือเล่ม ที่มีการเย็บเล่ม การใช้เครื่องสแกนแบบแบน อาจจะไม่สามารถสแกนเนื้อหาในส่วนที่ถูกเย็บเล่มได้ อาจพิจารณาเครื่องสแกนที่มีลักษณะเป็น V-Shape เป็นต้น
  2. กำหนดความละเอียด หรือคุณภาพของอุปกรณ์สแกน
  3. วางกระดาษให้ตรงกับสภาพตามจริงของเอกสาร
  4. สแกนเอกสาร โดยหลังจากที่สแกนเอกสารและได้ไฟล์มาแล้ว ต้องพิจารณาไฟล์ที่ได้ต้องมีการตกแต่งเพิ่มเติม เช่น การ Crop (การตัด) หรือ หมุนภาพ (Rotate) เพื่อให้มีขนาดที่เหมาะสม หรือถูกต้องตามจริง ต้องมีการปรับแต่ง (Retouch) หรือไม่ เช่น การปรับแต่งให้ไฟล์มีความสว่าง หรือปรับแต่งหรือลบให้ข้อความหรือตัวอักษรอื่นๆ ที่อาจเกิดซ้อนขึ้นมา จางลงหรือหมดไป เมื่อสแกนเรียบร้อยแล้ว เป็นไฟล์ PDF ต้องมีการกำหนด Metadata ใส่ในไฟล์ที่สแกนดังกล่าวด้วย และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการตรวจสอบคุณภาพโดยรวมอีกครั้ง

ไฟล์ PDF ที่ได้ให้พิจารณาถึงการนำไปใช้งาน เช่น กรณีที่ต้องเก็บเป็นการถาวร ควรเป็นไฟล์ที่มีคุณภาพสูง และถ้าต้องมีการนำไฟล์นั้นเผยแพร่หรือให้บริการทางอินเทอร์เน็ต ควรเป็นไฟล์ที่มีคุณภาพที่ลดลงมา เพื่อให้สามารถดาวน์โหลดหรือนำไปใช้ได้โดยง่าย

นอกจากนี้ ยังได้มีการเน้นในเรื่องของการใส่เงื่อนไขของการใช้งานเอกสาร PDF เช่น การกำหนดสิทธิ์ในการใช้ รวมทั้งการฝังฟอนต์ในเอกสาร PDF ด้วย Acrobat Professional และการทำเป็น PDF/A อีกด้วย

โดยความรู้ต่างๆ นั้น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก การบริหารจัดการเอกสาร PDF http://stks.or.th/th/knowledge-bank/28/3023.html

เทคโนโลยีปี 2016 (ตอนที่ 5)
มี.ค. 26th, 2016 by supaporn

เป็นตอนสุดท้ายของคำทำนายของบริษัทการ์ดเนอร์ (Gartner) โดย อ. ดร. ยรรยง เต็งอำนวย คือ มุมมองใหม่ไอที (New IT Reality) ซึ่งมีสี่ด้าน คือ ป้องภัยใส่ใจ (Adaptive Security Architecture) ระบบขั้นเทพ (Advanced Systems Architecture) แหแห่งบริการ (Mesh App & Service Architecture) และเน็ตสิ่งของ (IoT Architecture & Platforms) อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/387541

รายการอ้างอิง
ยรรยง เต็งอำนวย. (2559). เทคปีลิง ตอนที่ 5 มุมมองใหม่ไอที. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2559 จาก http://www.dailynews.co.th/it/387541

Pantip.com จับมือ ม.เกษตร เปิดตัวระบบ Auto Tag ด้วย Machine Learning
มี.ค. 14th, 2016 by supaporn

ที่ผ่านมา Pantip ให้เจ้าของกระทู้เป็นฝ่ายเลือกแท็กให้กระทู้เอง ปัญหาที่พบคือ 1) ใส่แท็กไม่เป็น 2) สแปมแท็ก อยากให้คนเห็นเยอะๆ เลยตั้งแท็กหว่านๆ

ทางแก้ของ Pantip คือต้องมีทีมงานตรวจสอบกระทู้อย่างละเอียด และแก้ไขแท็กให้ถูกต้อง ปัจจุบันมีกระทู้ใหม่วันละ 5,000 กระทู้ ถือเป็นงานหนัก ต้องใช้ทีมเว็บมาสเตอร์หลายสิบคนช่วยกันมอนิเตอร์ เปลืองแรงมาก จึงมีระบบเข้ามาช่วยแยกแยะข้อความในกระทู้ เพื่อนำเสนอแท็กให้ผู้ใช้งาน อ่านรายละเอียดได้ที่ https://www.blognone.com/node/79057

อ่านปัญหาของ Pantip แล้วทำให้นึกถึงเวลาที่บรรณารักษ์ให้คำสำคัญ ให้หัวเรื่อง ระยะหลังๆ ใช้เป็น tag และเปิดโอกาสให้คนอ่านเข้ามาใส่ tag เองในลักษณะที่เรียกว่า Folksonomies ที่นี้ก็จะเปิดปัญหาที่ว่าเนื้อหาลักษณะเดียวกัน มีการให้คำสารพัดคำที่จะใส่ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษก็มีทั้งเป็นเอกพจน์ พหูพจน์ เพื่อจะให้เข้าถึงได้หมดไม่ว่าจะค้นด้วยคำไหน แต่ก็จะเกิดปัญหาเนื้อหาอย่างเดียวกัน บางคนใส่คำนี้ บางคนไม่ใส่ การค้นจึงได้ผลลัพธ์ไม่เท่ากัน พลาดข้อมูลบางรายการ จะสามารถใช้ Auto Tag แบบนี้ได้บ้างก็จะดี

รายการอ้างอิง
mk. (2559). Pantip.com จับมือ ม.เกษตร เปิดตัวระบบ Auto Tag ด้วย Machine Learning. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2559 จาก https://www.blognone.com/node/79057

เทคโนโลยีปี 2016 (ตอนที่ 4)
มี.ค. 12th, 2016 by supaporn

จากการพยากรณ์เรื่องเทคโนโลยีของบริษัทการ์ดเนอร์ (Gartner) ที่ อ. ดร. ยรรยง เต็งอำนวย สรุปมาเล่าให้ฟังนั้น มาถึงตอนที่ 4 เครื่องจักรติดปัญญา คือ ทุกสิ่งมีสาร (ระ) (Information Everything) เรียนรู้ขั้นเทพ (Advanced Machine Learning) และสรรพสิ่งคิดเองทำเอง (Autonomous Agents & Things) มีรายละเอียดที่ อาจารย์สรุปมาแบ่งปันให้อ่าน ติดตามเองเลยดีกว่า มีครบรสกว่าที่จะสรุปให้อ่านค่ะ http://www.dailynews.co.th/it/384827

รายการอ้างอิง
ยรรยง เต็งอำนวย. (2559). เทคปีลิง ตอนที่ 4 เครื่องจักรติดปัญญา. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2559 จาก http://www.dailynews.co.th/it/384827

วิธีการติดตั้ง Font หรือ วิธีการเพิ่ม Font ใหม่ลงเครื่อง
มี.ค. 10th, 2016 by pailin

คิดว่าหลายๆ ท่าน คงจะเคยได้รับไฟล์ แล้วอ่านตัวหนังสือไม่ได้ ต้องเรียกนักคอมพิวเตอร์ หรือ admin มาช่วย หรือเพื่อนข้างๆ มาช่วย ซึ่งแต่ละคน งานก็แสนจะยุ่ง อย่าเพิ่งตกใจค่ะ เพราะถ้า  ไฟล์เอกสารที่ได้รับมา แสดงฟอนต์ของอักษรไม่ได้  มองเห็นไม่ตรงตามรูปแบบของอักษรที่แท้จริง ผู้เขียนมีวิธีการแนะนำ ดังนี้ ค่ะ

วิธีแก้ไข

  • ตรวจดูว่า Font ชื่ออะไร
  • ลองค้นหาดูว่า มีใหัดาวน์โหลดหรือไม่ ถ้ามี ให้ดาวน์โหลดมาเก็บไว้ในเครื่อง เพราะ บางฟอนต์ที่ได้รับมานั้นอาจไม่มีให้โหลดฟรี
  • ทำการ ติดตั้ง / เพิ่ม ฟอนต์ใหม่ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ ตามขั้นตอนด้านล่างนี้

Read the rest of this entry »

เทคโนโลยีปี 2016 (ตอนที่ 3)
มี.ค. 5th, 2016 by supaporn

เป็นตอนที่ 3 แล้วสำหรับการคาดการณ์ของ การ์ดเนอร์ (Gartner) ที่ อ. ดร. ยรรยง เต็งอำนวย นำมาสรุปให้อ่านกัน ในตอนนี้จะประกอบด้วย แหสิ่งของ (device mesh) ใช้งานรอบตัว (ambient user exerience) และเครื่องพิมพ์สามมิติ

คำว่า แห (mesh) คือ การที่สิ่งของรอบตัวเรา มีสมองเล็กๆ ในตัว มีวงจรสื่อสารถึงกันผ่านเน็ตได้ จึงเกิดโยงใยเป็นแห (ที่มองไม่เห็น) อำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ได้ เช่น เดินไปที่ขอบทางเท้าในถนน ปฏิทินในมือถือรู้ว่าต้องไปประชุมที่นั่นที่นี่ก็ “โบก” รถแท็กซี่ให้ (ส่งข้อความไปขึ้นที่จอภาพในแท็กซี่แถวนั้น) คันไหนสนใจก็โฉบมารับ เวลาลงก็หักเงินค่าโดยสารกันไป ทั้งนี้ไม่ต้องแตะ_หยิบ_จับสิ่งของใด ๆ ให้เป็นที่เอิกเกริกเลยยิ่งอ่านยิ่งสนุกและเข้าใจได้อย่างง่าย ติดตามอ่านต่อค่ะ ได้ที่ : http://www.dailynews.co.th/it/383454

รายการอ้างอิง
ยรรยง เต็งอำนวย. (2559). เทคปีลิง (3) แหดิจิตอล. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2559 จาก http://www.dailynews.co.th/it/383454

เทคโนโลยีปี 2016 (ตอนที่ 2)
ก.พ. 26th, 2016 by supaporn

ตามอ่านตอนที่ 2 ของ อ. ดร. ยรรยง เต็งอำนวย ที่สรุปเทคโนโลยีปี 2016 ที่บริษัทการ์ดเนอร์ (Gartner) ทำนาย การ์ดเนอร์วางเทคโนโลยีไว้เป็น สามกลุ่ม คือ Digital mesh, Smart machines และ New IT reality อ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.dailynews.co.th/it/381955

บทความที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยีปี 2016 (ตอนที่ 1)

รายการอ้างอิง
ยรรยง เต็งอำนวย. (2559). เทคปีลิง (2) สามสหายไฮเทค. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 จาก http://www.dailynews.co.th/it/381955

เทคโนโลยีปี 2016 (ตอนที่ 1)
ก.พ. 19th, 2016 by supaporn

บริษัทการ์ดเนอร์ ทำนายอนาคตเทคโนโลยีด้านไอทีทุกปี ในปี 2016 อ. ยรรยง เต็งอำนวย จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สรุปให้อ่านง่ายๆ สไตล์ของอาจารย์  แค่ชื่อก็มันแล้ว “เทคปีลิง ว่าด้วยกระเจิงเทค” โดยการ์ดเนอร์ ใช้คำว่า disruptive trends คือเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มว่าจะมีผลมหาศาลต่อวงการเรียกว่าฉีกหน้าวงการอุตสาหกรรม ต่าง ๆ กันกระจุยกระจายเลย อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/380433

เทคบทความที่เกี่ยวข้องปีลิง ตอนที่ 2 สามสหายไฮเทค

รายการอ้างอิง
ยรรยง เต็งอำนวย. (2559). เทคปีลิง (1) ว่าด้วยกระเจิงเทค. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 จาก http://www.dailynews.co.th/it/380433

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa