หมอแล็บความเชื่อผิดๆ ชิดซ้ายเรื่องหลอกลวงชิดขวา
“หมอแล็บความเชื่อผิดๆ ชิดซ้ายเรื่องหลอกลวงชิดขวา” เป็นหนังสือที่เขียนโดยนักเทคนิคการแพทย์ที่มีประสบการณ์และความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับสารอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ยาลดความอ้วน อาหารเสริม การฉีดสารสร้างความขาว ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ “หมอแล็บ”ได้เปิดโปงถึงภัยของสารอันตรายเหล่านั้น และยังช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายในการรักษาดูแลสุขภาพตัวเองให้มากขึ้น หมวดหมู่ WA100 ภ414ห 2559
รายการอ้างอิง
ภาคภูมิ เดชหัสดิน. (2559). หมอแล็บความเชื่อผิดๆ ชิดซ้ายเรื่องหลอกลวงชิดขวา. กรุงเทพฯ : เพชรประกาย.
สวย ประหยัด จากก้นครัว
ผู้หญิงกับความสวยความงามเป็นของคู่กันมานานแสนนาน และ สวย ประหยัด จากก้นครัว : Beauty Blackboard แต่งโดย เบลล์-มนัญญา ลิ่มเสถียร อดีตหนึ่งในวงสมาชิกวงเกิร์ลลี่เบอร์รี่ที่โด่งดัง เธอเชื่อว่าความสวยสามารถเริ่มต้นได้ที่ตัวเรา ในแบบของเราเอง โดยไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร เพราะทุกคนต่างมีความเก๋เป็นของตัวเองอยู่แล้ว จะว่าไปเราสามารถหยิบเอาของรอบข้างที่วางอยู่รอบตัวมาเพิ่มความเก๋ให้ตัวเราได้ ยิ่งในห้องครัวและตู้เย็นนี่ละ เป็นคลังความสวยชั้นเริดเบลล์เลย หมวดหมู่ QT275 ม161ส 2558
มนัญญา ลิ่มเสถียร. (2558). สวยประหยัดจากก้นครัว : Beauty blackboard. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิตยสารแพรว.
แค่รู้จัก 3 หลักสมดุลชีวิต สุขภาพกายและจิตดีขึ้นชั่วพริบตา
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงหลักการบำบัด ซึ่งเป็นพลังที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวของเราเองเป็นคลื่นความถี่ที่ส่งผ่านบัตรพลังบำบัด 3 ใบ คือบัตรแห่งแสงสว่าง ช่วยดลบันดาลความเบิกบาน และสุขภาวะที่ดี บัตรแห่งรัก ก่อเกิดความรู้สึกดี และคุณงามความดี บัตรแห่งพลัง เป็นพลังแห่งสร้างสรรค์ ความมุ่งมั่น ซึ่งแก่นหลักของการบำบัด เป็นแนวทางปฏิบัติที่ว่าด้วยความคิดดี ทำดีและรู้สึกดี เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในห้วงความคิดของเรา และการตระหนักถึงสิ่งสำคัญ จะมุ่งไปสู่กฎธรรมชาติของความมีเหตุมีผลในทุกสรรพสิ่ง เช่นเดียวกับกฎแห่งกรรมที่ได้รวบรวมวิธีควบคุมการดำรงอยู่ของตัวเราเองให้มีความสมดุล หมวดหมู่ WB327 ท333ค 2559
ทอสการ์, แคโรลีน. (2559). แค่รู้จัก 3 หลักสมดุลชีวิต สุขภาพกายและจิตดีขึ้นชั่วพริบตา. แปลโดย พันแสง วีระประเสริฐ. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มจี.
การสืบค้นสารนิเทศ
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการสืบค้นสารนิเทศเบื้องต้น ให้ความรู้ความเข้าใจในการสืบค้นสารนิเทศ หลักการสืบค้นสารนิเทศ เทคนิคการสืบค้นสารนิเทศ ขั้นตอนการสืบค้นสารนิเทศด้วยคอมพิวเตอร์จากฐานข้อมูลทรัพยากรสารนิเทศในห้องสมุด ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัย วารสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออิเล็กทอรนิกส์ สารนิเทศบนอินเทอร์เน็ต กฤตภาคข่าวอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับผู้อ่านที่สนใจศึกษาค้นคว้าสารนิเทศเพื่อเป็นข้อมูลในการทำวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือตามความสนใจ เพื่อให้ได้สารนิเทศที่ตรงกับความต้องการโดยสะดวกรวดเร็ว หมวดหมู่ Z674.4 พ199ก 2557
พนิดา สมประจบ. (2557). การสืบค้นสารนิเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในโลกยุคเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งมีการนำเอาเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้สืบค้นเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเหมือนคลังความรู้สำคัญและมีบทบาทในการบริหารงานพื้นที่ห้องสมุดให้สนองตอบต่อความต้องการของผู้ใช้บริการที่หลากหลาย ผู้บริหารห้องสมุดต้องมีวิสัยทัศน์ในการปรับปรุงพื้นที่ห้องสมุด รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานต้องปรับตัวเองให้ทันกับความคิดในโลกยุคดิจิทัล เพื่อการเรียนรู้ในอนาคต หมวดหมู่ Z665 ค431 2558
วัฒนชัย วินิจจะกูล. (บรรณาธิการ). (2558). คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (องค์การมหาชน).
ห้องสมุดที่เคยเป็นและห้องสมุดในอนาคต
เป็นบทความรวบรวม ความคิดเห็นของบรรณารักษ์ สถาปนิก และนักวิชาการจากหลายสาขา ซึ่งมารวมตัวกันที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology, MIT) เพื่อให้ความเห็น และชี้ให้เห็นอนาคตของห้องสมุด
นอกเหนือจากการเป็นคลังหนังสือแล้ว ห้องสมุดเก่าแก่แห่งเมืองอเล็กซานเดรีย ยังเป็นแหล่งค้นคว้าทางวิชาการให้กับบรรดานักวิชาการ คำว่า “Mouseion” เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า สถานที่ทำงานของเทพเจ้า Muses (เทพ Muses เป็นเทพแห่งวรรณกรรม และศิลปะ เป็นธิดาของเทพ Zeus ในตำนานกรีก : ผู้แปล) ด้วยเหตุนี้ในห้องสมุดในสมัยแรกเริ่ม จึงประกอบไปด้วย ห้องสอนหนังสือ (Exedra) โรงรับประทานอาหาร (Oinks) และ ทางเดินแบบมีหลังคา (Peripatos) เมื่อสรุปรวมกันจึงแปลได้ว่า เป็นสถานที่นักวิชาการใช้สำหรับค้นคว้า และสนทนาทางวิชาการ นักวิชาการ สามารถเดินถือตำราไปไหนมาไหนหรือรับประทานอาหาร ภายใต้ร่มเงานั้นได้ แม้ว่า ปัจจุบันเราอยู่ในยุคดิจิทัลแล้วก็ตาม แต่ความหมายโดยรวมของมันยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก
นับเป็นเวลา 1,000 ปีมาแล้ว ที่ห้องสมุด ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ และภาวะของสังคม ซึ่งแน่นอนว่า ข้อมูล และสภาวะทางสังคม ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ เช่น การเปลี่ยนจากโต๊ะดินเหนียว ไปเป็นตู้แบบที่มีล้อเลื่อน และกลายเป็นการสืบค้นแบบเข้ารหัส และเข้าสู่ยุคดิจิทัลในยุคปัจจุบัน ห้องสมุดจึงมีการปรับเปลี่ยน การอ่านออกเขียนได้ กลายเป็นมาตรฐาน เช่นเดียวกับ เหล่านักวิชาการ มีการรวมตัวกันมากขึ้น นิสัยการอ่านก็เปลี่ยนแปลง มีวิธีการที่จะเข้าถึงข้อมูล หลายหมื่นข้อความ ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดมีการพัฒนา มันได้เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางด้านข้อมูล และพฤติกรรมทางสังคม รวมทั้งนิสัยการอ่าน การเรียน ล้วนแต่มีผลต่อรากฐานของห้องสมุด Read the rest of this entry »
ความรู้พื้นฐานทางจักษุวิทยา
“ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ” คงไม่มีใครที่จะปฏิเสธว่าไม่จริง ดวงตามีความสำคัญต่อคนเราเป็นอย่างมากไม่ว่าจะยากจนหรือร่ำรวย มนุษย์ทุกคนต้องดูแลรักษาดวงตาไว้ยิ่งกว่าชีวิต แต่ก็มีบางคนที่ไม่รู้คุณค่าของดวงตากับใช้ดวงตานั้นไปในทางที่ผิดวัตถุประสงค์ จนทำให้ดวงตานั้นเกิดโรคขึ้นมาได้ เช่น โรคตาเอกเสบ ต่อกระจก ต่อหิน ฯลฯ หนังสือเล่มนี้เป็นตำราทางวิชาการ เพื่อช่วยให้นักศึกษาแพทย์ แพทย์ทั่วไป และจักษุแพทย์ ได้รับความรู้ความเข้าใจ เนื้อหาทางจักษุวิทยา ทั้งในเรื่องของกายวิภาค สรีรวิทยาและชีวเคมี การซักประวัติแยกโรคผู้ป่วย การตรวจตา การรักษาทางจักษุวิทยา โดยมีการปรับเปลี่ยน เพิ่มองค์ความรู้ และวิทยาการการรักษาทางจักษุวิทยาใหม่ๆ เพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน หมวดหมู่ WW100 ค181 2558
อติพร ตวงทอง, วณิชา ชื่นกองแก้ว และอภิชาติ สิงคาลวณิช. (บรรณาธิการ). (2558). ความรู้พื้นฐานทางจักษุวิทยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
Update on pediatricinfectious diseases 2016
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงโรคติดเชื้อเป็นสาเหตุการป่วยตายที่สำคัญและเป็นปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก เด็กมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและมีความรุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่ โรคติดเชื้อในเด็กของประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีความแตกต่างกันตามสภาพภูมิอากาศ ระบาดวิทยาเศรษฐานะสังคม การดูแลรักษารวมทั้งการป้องกันโรคด้วยวัคซีน การนำเอาองค์ความรู้และประสบการณ์จากต่างประเทศมาปรับใช้ร่วมกับองค์ความรู้ที่ทันสมัยจากประเทศไทยจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยเด็กโรคติดเชื้อในประเทศไทย สามารถนำไปใช้ทางเวชปฏิบัติและอ้างอิงทางการแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กได้อย่างเหมาะสมในแต่ละโรงพยาบาลที่แตกต่างกันไปตามประสิทธิภาพ หมวดหมู่ WC100 อ549 2559
พวีระชัย วัฒนวีรเดช และกุลกัญญา โชคไบูลย์กิจ. (บรรณาธิการ). Update on pediatric infectious diseases 2016. กรุงเทพฯ : สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย.
แนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพนาโน
ผลิตภัณฑ์สุขภาพนาโนคือผลิตภัณฑ์ที่ใช้นาโนเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบการผลิต หรือผลิตภัณฑ์ที่มีวัสดุนาโนเป็นองค์ประกอบ เพื่อให้มีสมบัติหรือหน้าที่เฉพาะเจาะจงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต มีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อสุขภาพอนามัย รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย เช่น อาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ เครืี่องสำอาง และวัตถุอันตราย ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพนาโน (Guidance for industry on nano nealth products) ขึ้น ได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาข้อมูลและการจัดเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขออนุญาตต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้อย่างถูกต้อง โดยใช้ร่วมกับกฏระเบียบและหลักเกณฑ์เฉพาะของแต่ละหน่วยงาน เนื่องจากผลิตสุขภาพนาโนแต่ละประเภทมีลักษณะการกำกับดูแลที่แตกต่างกัน หมวดหมู่ TA418.9.N35 น928 2558
แนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพนาโน (Guidance for industry on nano health products) . (2558). จัดทำโดยคณะทำงานพัฒนาและกำหนดแนวทางการกำกับดูแลประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพนาโน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
วิทยาเอนไซม์ : การเกิดและการควบคุมสีน้ำตาลและกลิ่นรสผิดปกติในผักผลไม้
หนังสือ “วิทยาเอนไซม์ : การเกิดและการควบคุมสีน้ำตาลและสีน้ำตาลและกลิ่นรสผิดปกติในผักผลไม้” เล่มนี้ ประกอบด้วยเนื้อหา 3 ตอน โดยตอนที่ 1 กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับเอนไซม์ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับโครงสร้าง ประเภทจลนพลศาสตร์ของเอนไซม์ และการเตรียม การทำให้บริสุทธิ์และการศึกษาลักษณะเฉพาะของเอนไซม์ ตอนที่ 2 กล่าวถึงการเกิดและการควบคุมสีน้ำตาลเนื่องจากเอนไซม์ในผักกผลไม้โดยเอนไซม์ที่มีบทบาทสำคัญคือ เอนไซม์พอลิฟีนลออกซิเดส และตอนที่ 3 กล่าวถึงการเกิดและการควบคุมกลิ่นรสผิดปกติเนื่องจากเอนไซม์ในผักผลไม้ โดยเอนไซม์ที่มีบทบาทสำคัญ คือ เอนไซม์ไลพอกซิจีเนส ผู้เขียนนำความรู้เชิงชีวเคมีกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารเข้าด้วยกัน โดยรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่ทันสมัย เช่นเอกสารทางวิชาการ และผลงานวิจัยต่างๆ โดยเฉพาะข้อมูลงานวิจัยที่ผู้เขียนได้มีส่วนร่วมมาประกอบในหนังสือเล่มนี้ ทำให้เกิดความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและต่อวงวิชาการ หมวดหมู่ TP248.65.E59 ช813ว 2558
โชคชัย ธีรกุลเกียรติ. (2558). วิทยาเอนไซม์ : การเกิดและการควบคุมสีน้ำตาลและกลิ่นรสผิดปกติในผักผลไม้. กรุงเทพฯ : ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.