SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ผลผลิตกรดแลคติกจากกระบวนการหมักเศษผลไม
มี.ค. 5th, 2017 by rungtiwa

ผลผลิตกรดแลคติกจากกระบวนการหมักเศษผลไม

Lactic Acid Production from Fruit Waste Fermentation

 

ศศิธร นนทา สมพงศ โอทอง และนุชนาถ แชมชอย. (2559). ผลผลิตกรดแลคติกจากกระบวนการหมักเศษผลไม. วารสาร มฉก.วิชาการ 20 (39), 1-14.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ต้นไม้รอบอาคารบรรณสาร
ม.ค. 28th, 2017 by ปัญญา วงศ์จันทร์

scan0002

          อาคารบรรณสารได้เปิดให้บริการมาแล้วกว่า 24 ปี คือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ได้มีต้นไม้รอบอาคารหลากหลายมากมายซึ่งช่วยสร้างสมดุลระหว่างการดักจับจุลินทรีย์ในอากาศและการกรองฝุ่นผงที่ล่องลอยอยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งมากด้วยมลพิษโดยมีต้นไม้ทำหน้าที่สร้างความชุ่มชื้นและดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์พร้อมกับผลิตออกซิเจนรวมทั้งป้องกันแสงแดดจากภายนอกซึ่งอาคารบรรณสารมีต้นไม้ที่ปลูกโดยรอบอาคารมีอะไรบ้างแต่ละชนิดมีลักษณะอย่างไร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าอะไร และจัดจำแนกอยู่ในหมวดหมู่ใด Read the rest of this entry »

กฐินพระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๙
พ.ย. 19th, 2016 by namfon

การทอดกฐินเป็นประเพณีสำคัญของพุทธศาสนิกชนไทย ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนานกว่า ๒,๕๐๐ ปี โดยการถวายผ้าพระกฐินของมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีสำคัญประจำปี ช่วงเวลาที่กำหนดระหว่างวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ จะทำก่อนหรือหลังจากนี้ไม่ได้  ในปีนี้อยู่ระหว่างวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙

จากเว็บไซต์ของกรมการศาสนา ได้กล่าวถึง ประวัติการทอดกฐิน ไว้ดังนี้

กฐิน ตามอรรถกถาฎีกาต่างๆ กล่าวไว้มี ๒ ลักษณะ คือ

๑. จุลกฐิน เป็นกิจกรรมสำคัญที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันทำให้แล้วเสร็จภายในกำหนด วันหนึ่ง นับตั้งแต่การเก็บฝ้าย ปั่นฝ้าย กรอ ทอ ตัด เย็บ ย้อม ทำให้เป็นขันฑ์ ได้ ขนาดตามวินัย แล้วทอดถวายให้แล้วเสร็จในวันนั้น

๒. มหากฐิน เป็นการจัดหาผ้ามาเป็นองค์กฐิน พร้อมทั้งเครื่องไทยธรรม บริวารเครื่องกฐิน จำนวนมาก ไม่ต้องทำโดยรีบด่วน เพื่อจะได้มีส่วนหาทุนในการบำรุงวัด เช่น การบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานภายในวัด

การทอดกฐินในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน

๑. พระกฐินหลวง เป็น พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็น พุทธมามกะและเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระราชินี พระราชโอรส พระราชธิดา เสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ รวมทั้ง พระกฐินที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์  ราชสกุล องคมนตรี หรือผู้ที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควรให้เสด็จฯ แทน พระองค์นำไปถวายยังพระอารามหลวงสำคัญ ๑๖ พระอาราม ที่สงวนไว้ไม่ให้มีการขอพระราชทาน คือ Read the rest of this entry »

นี่คือ ม. หัวเฉียวฯ : สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนแห่งแรกในประเทศไทย
ต.ค. 26th, 2016 by supaporn

 

wichien

ดร. วิเชียร เตชะไพบูลย์ กดปุ่มเปิดแพรคลุมป้าย

สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเทียนจิน สถาบันการศึกษาชั้นนำทางด้านการแพทย์แผนจีนของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจัดตั้งสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนแห่งแรกขึ้นในประเทศไทย และนับว่าเป็นสถาบันขงจื่อแห่งที่ 15 ของประเทศ

泰国华侨崇圣大学中医孔子学院,由泰国华侨崇圣大学与中国天津中医药大学合作成立,是泰国第十五家孔子学院,同时也是泰国首家中医孔子学院。

ท่านเจ้าคุณธงชัย เจิมป้าย

ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหารเจิมป้ายสถาบันขงจื่อการแพย์แผนจีน

ท่านเจ้าคุณธงชัย พรมน้ำมนต์

ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร ประพรมน้ำพระพุทธมนต์

สถาบันของจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจะทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรมภูมิปัญญาตะวันออก และศาสตร์การแพทย์แผนจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาการเรียนการสอนแพทย์แผนจีน ส่งเสริมการศึกษา และวิจัยทางการแพทย์แผนจีน อันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อผู้ประกอบวิชาชีพ และองค์ความรู้ทางด้านการแพทย์แผนจีนของประชาชนชาวไทย และประชาชนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ด้านภาษาจีน และศิลปวัฒนธรรมจีน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านการแพทย์แผนจีน อีกทั้งยังมีบทบาทหน้าที่ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมภาษาจีนและการแพทย์แผนจีนในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดสัมมนาวิชาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์แผนจีน การจัดนิทรรศการและโครงการบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านภาษาจีนและการแพทย์แผนจีนให้กับประชาชนทั่วไป

泰国华侨崇圣大学中医孔子学院是以在东南亚地区传播东方智慧和传统文化、促进中医学术交流、为泰国和东南亚地区人民普及中国传统医药的专业知识以及促进中国语言文化的学习,从而为学习中医建立基础为目标。中医孔子学院在泰国的主要任务是组织各种汉语及中医学的相关活动,如举办中医研讨会,有利于提高泰国中医界人士的学术水平,并有利于向泰国民众推广和普及汉语及中医学知识。

ป้ายหน้าห้องสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ป้ายหน้าห้องสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ผู้บริหารถ่ายภาพร่วมกันหลังเสร็จพิธีเปิด

ผู้บริหารถ่ายภาพร่วมกันหลังเสร็จพิธีเปิด

พิธีเปิดจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2559 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และพิธีเปิดผ้าแพรคลุมป้ายจัดขึ้น ณ สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน ชั้น 5 อาคารบรรณสาร โดย ดร.วิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ให้เกียรติเป็นประธาน และดร.โจว เกาหยู่ เลขานุการเอก ฝ่ายการศึกษา สถานเอคอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย กล่าวแสดงความยินดี ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร ประพรมน้ำพระพุทธมนต์และเจิมป้ายสถาบัน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้การต้อนรับ สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้บริการแก่ผู้ที่สนใจ และประชาชนทั่วไป ตั้งอยู่ที่ อาคารบรรณสาร ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โทร 0-2312-6300 ต่อ 1420

2016年10月20日,华侨崇圣大学中医孔子学院于学校图书馆5楼正式揭牌成立,并在学校大礼堂举行了盛大的开幕典礼,特邀请华侨报德善堂董事长郑伟昌博士为典礼主席,并邀请中华人民共和国驻泰王国大使馆教育组一等秘书周高宇阁下出席典礼并致贺词,岱密金佛寺主持助理昭坤通猜大师莅临典礼并为中医孔子学院洒圣水、点粉赐福。
         华侨崇圣大学校长叶尧生携全体师生诚挚欢迎泰国各界人士前来位于学校图书馆5楼的中医孔子学院参观指导。
         联系电话:0-2312-6300 转 1420

สัญลักษณ์ของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ติดตามกิจกรรม ของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน ได้ที่

เว็บของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนฯ http://cihcu.hcu.ac.th/

และที่ FB

FB สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนฯ https://www.facebook.com/tcihcu/

หนังสือที่ระลึกพิธีเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ต.ค. 26th, 2016 by supaporn

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ต่อมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเป็นอย่างยิ่ง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

มหาวิทยาลัยฯ ได้จัดทำหนังสือที่ระลึกพิธีเปิดมหาวิทยาลัยถึง 6 เล่ม ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ประกอบด้วย

1. ที่ระลึก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537
2. Huachiew Chalermprakiet University Commemorative Edition on the occasion of the University’s Inauguration graciously presided over by Their Majesties the King and Queen of Thailand on March 24, 1994
3. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (ฉบับภาษาจีน)
4. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ วันทำพิธีเปิด (มีคำบรรยายเป็นภาษาไทยและภาษาจีน)
5. สูจิบัตรพิธีเฉลิมพระเกียรติและสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
6. พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จากหนังสือเหล่านี้ได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ และหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทั้งข้อมูลและภาพพระองค์ท่านที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อมหาวิทยาลัย

ภาวะซึมเศร้า
ก.ย. 12th, 2016 by rungtiwa

ภาวะซึมเศร้า

Depression

นันทิรา หงส์ศรีสุวรรณ์. (2559). ภาวะซึมเศร้า. วารสาร มฉก. วิชาการ, 19(38), 105-118.

บทคัดย่อ

ภาวะซึมเศร้า หมายถึง ภาวะจิตใจที่แสดงออกถึงความผิดปกติของอารมณ์ เช่น อารมณ์เศร้า ไม่มีความสุข เบื่อหน่าย หดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวัง เซื่องซึม นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ขาดสมาธิ วิตกกังวล มองโลกในแง่ลบ ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนทั้งคนปกติ ผู้ป่วยทางกาย และผู้ป่วยทางจิตเวช อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ภาวะซึมเศร้าธรรมดาจนถึงภาวะซึมเศร้ารุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาจะป่วยเป็นโรคซึมเศร้าในที่สุด ซึ่งโรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติของจิตใจ โดยมีภาวะซึมเศร้าร่วมกับขาดความเคารพตนเอง รวมทั้งมีภาวะสิ้นยินดี คือ ไม่มีความพึงพอใจในกิจกรรมที่โดยปกติเป็นที่น่าพึงพอใจ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตและอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้ารุนแรงหรือเป็นโรคซึมเศร้าและไม่ได้รับการรักษาจะจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และไม่ตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ได้รับการรักษา ภาวะซึมเศร้ามีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย อาทิ ความผิดปกติทางพันธุกรรม ความผิดปกติของสารชีวเคมีในสมอง ปัญหาทางด้านจิตใจ และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม จะเห็นได้ว่าสาเหตุของการเกิดภาวะซึมเศร้าเกิดจากปัจจัยภายในและภายนอก ทั้งที่สามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ Read the rest of this entry »

การประเมินผลทางเทคนิคนิติวิทยาศาสตร์เพื่อตรวจหา และวิเคราะห์สารเสพติดจากการชันสูตรศพในประเทศไทย
ก.ย. 12th, 2016 by rungtiwa

การประเมินผลทางเทคนิคนิติวิทยาศาสตร์เพื่อตรวจหา และวิเคราะห์สารเสพติดจากการชันสูตรศพในประเทศไทย

Evaluation of Forensic Techniques for Postmortem Drug Detection and Identification in Thailand

Panthip Rattanasinganchan. (2559). การประเมินผลทางเทคนิคนิติวิทยาศาสตร์เพื่อตรวจหา และวิเคราะห์สารเสพติดจากการชันสูตรศพในประเทศไทย. วารสาร มฉก. วิชาการ, 19(38), 93-103.

บทคัดย่อ

Despite the extensive research done on forensic techniques for postmortem drug detection and identification, the unique perspective of developing countries has yet to be properly investigated. These are countries where drug fatalities are frequent, but available forensic resources are meager, especially when compared to such resources of more economically developed countries. This work attempts to address this issue by reviewing six of the most frequently used forensic techniques for postmortem drug detection and identification, and evaluate them based on a fixed set of objective criteria, including sensitivity, specificity, expertise cost and need for major instrumentation. The results are then compared qualitatively and used to develop alternative best-practice recommendations that align better with the socioeconomic realities of developing countries – with a particular focus on Thailand, a country with a major problem of drug abuse in the Southeast-Asian region. These recommendations may enable a more efficient allocation of forensic resources in countries that would benefit from it the most. Read the rest of this entry »

ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรไทย 10 ชนิด ต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ATCC 25923, Bacillus cereus และ Escherichia coli ATCC 25922
ก.ย. 12th, 2016 by rungtiwa

ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรไทย 10 ชนิด ต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ATCC 25923, Bacillus cereus และ Escherichia coli ATCC 25922

Antibacterial Activities of Ten Thai Herbal Extracts against Staphylococcus aureus ATCC 25923, Bacillus cereus and Escherichia coli ATCC 25922

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรไทย 10 ชนิด โดยใช้ 95% เอทานอลเป็นตัวสกัด (ขมิ้นชัน ชุมเห็ดเทศ จันทน์แดง จันทน์แปดกลีบ ฝาง พริกไทยดำ ฟ้าทะลายโจร ยี่หร่า สมอไทย และอบเชย) ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ATCC 25923, Bacillus cereus และ Escherichia coli ATCC 25922 โดยวิธี agar well diffusion พบว่า สารสกัดสมุนไพรไทยทุกชนิดยับยั้ง S. aureus ATCC 25923 ได้ สารสกัดสมุนไพรไทย 7 ชนิด ยับยั้ง B. cereus ได้ สารสกัดสมุนไพรไทย 5 ชนิดยับยั้งเชื้อได้ทุกชนิด โดยสารสกัดจากฝางแสดงฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้ง 3 ชนิดได้ดีที่สุด เมื่อทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญเติบโต (MIC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ฆ่าเชื้อได้ (MBC) โดยวิธี broth dilution พบว่าฝางมีค่า MIC เท่ากับ MBC ต่อเชื้อ S. aureus ATCC 25923, B. cereus และ E. coli ATCC 25922 คือ 8, 2 และ 1 มิลลิกรัม ต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาฤทธิ์ต้านจุลชีพและประเมินทางเภสัชวิทยาของฝางต่อไป Read the rest of this entry »

ผลการออกกำลังกายด้วยท่าฤๅษีดัดตนต่อความโค้ง และช่วงการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอว ในนักศึกษาหญิงระดับมหาวิทยาลัย
ก.ย. 12th, 2016 by rungtiwa

ผลการออกกำลังกายด้วยท่าฤๅษีดัดตนต่อความโค้ง และช่วงการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอว ในนักศึกษาหญิงระดับมหาวิทยาลัย

Effects of Ruesi-Dudton Exercise on Thoracolumbar Curvature and Range of Motion in Female University Students

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลระยะสั้นและระยะยาวของการออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนต่อการเคลื่อนไหวของลำตัวและมุมโค้งของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอวในนักศึกษามหาวิทยาลัย เพศหญิงที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ อายุ 18 – 25 ปี จำนวน 40 ราย อาสาสมัครได้รับการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มออกกำลังกายและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย โดยการสุ่ม อาสาสมัครกลุ่มออกกำลังกายได้รับการฝึกออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนเป็นเวลา 30 นาที/วัน จำนวน 3 วัน/สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึกออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนระหว่างการเข้าร่วมการวิจัย อาสาสมัครทั้งสองกลุ่มได้รับการวัดมุมโค้งของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอวและการเคลื่อนไหวของลำตัว 3 ครั้ง คือ ก่อนการวิจัย และหลังการเข้าร่วมการวิจัยในสัปดาห์ที่ 1 และ 6 ผลการศึกษา พบว่า ในสัปดาห์ที่ 1 อาสาสมัครกลุ่มทดลองสามารถแอ่นลำตัวได้มากกว่า และในสัปดาห์ที่ 6 อาสาสมัครมีมุมความโค้งของกระดูกสันหลังส่วนอกน้อยกว่า และสามารถแอ่น ก้ม และเอียงลำตัวได้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นประโยชน์ของการออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนต่อมุมโค้งของกระดูกสันหลังและการเคลื่อนไหวของลำตัวในนักศึกษามหาวิทยาลัยเพศหญิงซึ่งเป็นกลุ่มที่มักมีการเคลื่อนไหวน้อยและกิจกรรมส่วนใหญ่ในท่านั่งงอตัวเป็นเวลานาน Read the rest of this entry »

ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งาน ข้อกับการทรงตัวของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชน เทศบาลตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
ก.ย. 12th, 2016 by rungtiwa

ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งานข้อกับการทรงตัวของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชน เทศบาลตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ

Relationship among pain, stiffness, function of knee joint and balance in community-dwelling elderly people with knee osteoarthritis at Bangsaothong Municipal District, Bangsaothong District Samutprakarn Province

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งานข้อ การทรงตัวและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งานข้อกับการทรงตัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชนเทศบาลตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมใน จำนวน 128 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความสามารถในการทรงตัว (Berg balance test) และแบบประเมิน Thai modified WOMAC (Western Ontario and McMaster University) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation) Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa