SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การศึกษาเปรียบเทียบการกำจัดมูลฝอยสำหรับรีสอรทตัวอยาง
ก.พ. 20th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาเปรียบเทียบการกำจัดมูลฝอยสำหรับรีสอรทตัวอยาง

Comparative Study of Resort Waste Destruction : Case Study in a Resort

พรไพบูลย ปุษปาคม. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบการกำจัดมูลฝอยสำหรับรีสอรทตัวอยาง. วารสาร มฉก.วิชาการ 16 (32), 107 -118.

อ่านบทความฉบับเต็ม

รูปแบบการสรางความตระหนักรู้สมรรถนะแหงตนเพื่อการสรางเสริมสุขภาพของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ก.พ. 20th, 2016 by rungtiwa

รูปแบบการสรางความตระหนักรู้สมรรถนะแหงตนเพื่อการสรางเสริมสุขภาพของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

The Self-efficacy Model for Health Promoting Behavior of Student in Private University

วนิดา ดุรงคฤทธิชัย หทัยชนก บัวเจริญ ชนิกา เจริญจิตตกุล ทวีศักดิ์ กสิผล ภัทรียา พันธุทอง และ กมลทิพย ขลังธรรมเนียม. (2556). รูปแบบการสรางความตระหนักรู้สมรรถนะแหงตนเพื่อการสรางเสริมสุขภาพของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสาร มฉก.วิชาการ 16 (32), 32 -39.

อ่านบทความฉบับเต็ม

อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว เยี่ยมชมห้องสมุดภาษาจีน ศูนย์บรรณสารฯ
ก.พ. 2nd, 2016 by supaporn

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 11.30 น. อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว จำนวน 5 คน เข้าเยี่ยมชมห้องสมุดภาษาจีน ห้องสมุดการแพทย์แผนจีน ห้องทรงอักษร หอเอกสาร ดร. อุเทน  เตชะไพบูลย์ ในการนี้ บรรณารักษ์ภาษาจีนให้การต้อนรับร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว ระหว่างการเยี่ยมชมห้องทรงอักษร

อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว ระหว่างการเยี่ยมชมห้องทรงอักษร

ให้ความสนใจกับโต๊ะทรงอักษร

ให้ความสนใจกับโต๊ะทรงอักษร

ระหว่างฟังการบรรยาย

ระหว่างฟังการบรรยาย

20160202-Visit4

ลงนามในสมุดเยี่ยม

พิธีประสาทปริญญา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ม.ค. 30th, 2016 by supaporn

ปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ในปี พ.ศ. 2535 เป็นปีแรกมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติของการเปิดการสอนในระดับอุดมศึกษา จวบจนปัจจุบันมีการผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคมเป็นจำนวนมาก แต่ก่อนหน้านั้น มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีพัฒนาการที่สามารถแบ่งออกเป็นช่วงสำคัญได้ 3 ยุค ได้แก่

  • โรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย โรงพยาบาลหัวเฉียว (พ.ศ. 2485-2534)
    เป็นหน่วยงานหนึ่งของโรงพยาบาลหัวเฉียว ผลิตนักเรียนผดุงครรภ์ทั้งสิ้น 34 รุ่น
  • วิทยาลัยหัวเฉียว (พ.ศ. 2524-2534)
    โรงเรียนผดุงครรภ์ ได้รับการยกวิทยฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยหัวเฉียว เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2524 เปิดหลักสูตรการศึกษาการพยาบาล ในระดับปริญญาตรี นับได้ว่าคณะพยาบาลศาสตร์เป็นคณะวิชาคณะแรกของวิทยาลัย และเป็นคณะพยาบาลของวิทยาลัยเอกชน แห่งแรกในกรุงเทพฯ ต่อมาได้เพิ่มคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ในปีการศึกษา 2533
  • มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (พ.ศ. 2535-ปัจจุบัน)
    ในปีการศึกษา 2535 เป็นปีแรกของการเปิดการสอนในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยได้เปิดสอน 5 คณะวิชา และในปัจจุบันได้เปิดสอนระดับปริญญาตรี 13 คณะ และระดับบัณฑิตวิทยาลัยจำนวน 9 หลักสูตร 13 สาขาวิชา

Read the rest of this entry »

บัณฑิตรางวัลกาญจนาภิเษก ประจำปีการศึกษา 2557
ม.ค. 30th, 2016 by supaporn

รางวัลกาญจนาภิเษกเป็นรางวัลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดตั้งกองทุนเพื่อมอบเป็นรางวัลให้กับนักศึกษาที่ศึกษาครบทุกรายวิชาในระยะเวลา ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรโดยไม่มีการลาพักการศึกษา มีผลการเรียนเป็นผู้ที่สอบได้แต้มเฉลี่ย สะสมตั้งแต่ 3.75 ขึ้นไป มีความประพฤติดีจนเป็นที่ประจักษ์ ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยด้วยความตั้งใจ จริงใจ และเสียสละอย่างแท้จริง Read the rest of this entry »

华侨崇圣大学图书馆 (ห้องสมุดภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ)
ม.ค. 30th, 2016 by suwat

华侨崇圣大学的创办人是泰国著名侨领,有意创办这所有着中国文化方面特征的大学,并致力于让学校成为领导泰国汉语言文学、商务汉语、中医学以及中国文化等方面的大学和中国学数据库集聚之地。

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีน จึงมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่มีเอกลักษณ์ด้านจีนแห่งนี้ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและเป็นผู้นำด้านภาษาจีน ธุรกิจจีน การแพทย์แผนจีน ตลอดจนเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ด้านจีนศึกษาทุกมิติ

华侨崇圣大学华文图书馆位于学校图书馆5楼。于1994年(佛历2537)建立,馆藏有众多媒体资源、期刊、当代华文报纸(共5家报社:京华日报、世界日报、新中源报、星暹日报、中华日报)和关于汉语教材、人文社会、中国文化、历史等等书籍,在教学方面,不仅为本校师生师提供借阅,还可以为各国的学生、研究者提供服务。多年以来,各种社会组织、社团集团、政府单位以及私人珍藏的珍贵书籍源源不断的捐赠至本校成为本馆藏书,使得华侨崇圣大学华文图书馆成为了泰国最大的华文图书馆。

ห้องสมุดภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้บริการที่ชั้น 5 อาคารบรรณสารสนเทศ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) ประกอบด้วยทรัพยากรสารสนเทศในรูปของหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ (จำนวน 5 ชื่อเรื่อง ได้แก่ เกียฮั้ว จีนสากล ซิงจงเอี๋ยน ซินเสียนเยอะเป้า และตงฮั้ว) และตำราที่เกี่ยวกับศาสตร์ทางด้านภาษาจีน ตลอดจนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและวัฒนธรรมจีน ให้บริการเพื่อสนับสนุนการเรียน การสอน ไม่เฉพาะแต่นักศึกษา อาจารย์ของมหาวิทยาลัยเท่านั้น ห้องสมุดภาษาจีนแห่งนี้ ยังได้ให้บริการนักศึกษา นักวิจัย จากต่างประเทศอีกด้วย เพียงการสืบค้นจากระบบฐานข้อมูลที่สืบค้นด้านหนังสือจีนในประเทศไทย ด้วยการพยายามจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ และการได้รับบริจาคหนังสืออันทรงคุณค่าจากบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทำให้ห้องสมุดจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นห้องสมุดภาษาจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

华侨崇圣大学华文图书馆的镇馆之宝是一套由台湾商务印书馆出版发行的影印版《文渊阁四库全书》,全泰国仅此一套。《四库全书》是在乾隆皇帝的主持下,由纪昀等360多位高官、学者编撰,2800多人抄写,耗时十三年编成的丛书,分经、史、子、集四部,故名四库,被称为19世纪最伟大的文学作品。

นอกจากนี้ที่ห้องสมุดภาษาจีนมีหนังสือที่มีคุณค่าชุด “ซื่อคู่ฉวนซู” ที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย (Si Ku Quan Shu) ซึ่งเรียบเรียงโดยบัณฑิตแห่งสำนักหันหลินกว่า 2800 คน ในสมัยจักรพรรดิเฉียงหลง โดยใช้เวลาเรียบเรียง 10 ปี (ค.ศ. 1793) “ซื่อคู่ฉวนซู” เป็นตำราที่ประมวลวิชาความรู้อันล้ำลึกไว้ทุกประเภท หนังสือชุดนี้ได้มีผู้กล่าวไว้ว่าเป็นตำราที่ยิ่งใหญ่ในด้านวรรณคดี ในศตวรรษที่ 18

中文报纸数据库 (ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน)
ม.ค. 30th, 2016 by suwat

自2008年9月29号始,华侨崇圣大学图书馆与泰国国家图书馆合作协办泰国百年中文报纸电子版制作项目。把自1917年起在泰国出版发行的所有中文日刊、两日刊、星期刊等中文报纸制作成为电子文档并上传至数据库,以维护和保存这些珍贵文献,并使得这些珍藏得以展现在世人面前, 供人们研究学习。

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดย ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้มีความร่วมมือกับหอสมุดแห่งชาติ ในการทำสำเนาหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2551 ในการนำหนังสือพิมพ์ภาษาจีนเก่าทุกฉบับที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย ทั้งรายวัน รายสองวัน และรายสัปดาห์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นเอกสารอันมีคุณค่า เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสงวนรักษาหนังสือพิมพ์จีน และเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย โดยศูนย์บรรณสารฯ ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูล Thailand Digital Chinese Newspaper (TDCN) เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง

若有兴趣使用中文报纸数据库,请联系华侨崇圣大学图书馆。

ท่านที่สนใจใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน

中文报纸数据库

ปฏิมากรรมห่านฟ้า (หรือนกหงัง)
ม.ค. 13th, 2016 by supaporn

ปฏิมากรรมห่านฟ้า (หรือนกหงัง)

ปฏิมากรรมห่านฟ้า (หรือนกหงัง)

จากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของ รศ. ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ ซึ่งเขียนสื่อสารเรื่อง ปฏิมากรรมนกหงัง แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) และ จากการกล่าวของคุณสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ในพิธีส่งมอบปฏิมากรรมนกหงัง ให้แก่มหาวิทยาลัยในวันที่ 25 มีนาคม 2556 ได้กล่าวถึง ปฏิมากรรมนกหงัง สรุปความได้ว่า

“ปฏิมากรรมห่านฟ้า (หรือนกหงัง) ที่เพิ่งจะยกลงจากรถขนย้าย เมื่อเวลา 02:52 น. ของวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2556 ณ. บริเวณสนามหญ้าหน้าอาคารบรรณสาร ใกล้เสาธงตรงสวนลวดลาย ด้านขวามือของรูปเหมือนของ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์นั้น เดิมปฏิมากรรมนกหงัง ตั้งอยู่ด้านหน้าธนาคารธนชาต สาขาสวนมะลิ นับว่าเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของพนักงานมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ครั้งยังเป็นธนาคารศรีนคร ซึ่งประติมากรรมนี้ได้สะท้อนปรัชญา “การเป็นผู้นำที่ดี ความมีระเบียบวินัย ความรักใคร่สามัคคี และการให้ไม่รู้จบ” ที่ ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ ผู้ก่อตั้งธนาคารศรีนครยึดมั่น และใช้เป็นแนวคิดในการบริหารงานพร้อมปลูกฝังให้ผู้บริหารและพนักงานทุกคนนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตสืบมาจนกระทั่งเป็นธนาคารธนชาตในวันนี้ แนวคิดนี้ก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาก้าวหน้าต่อไป Read the rest of this entry »

ชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ม.ค. 11th, 2016 by supaporn

ถ้าเอ่ยชื่อ บางพลี บางบ่อ หนองงูเห่า คนส่วนใหญ่ก็จะคุ้นหูและรู้ว่า แต่ละชื่อ มีความเด่นหรือดังในด้านใด เช่น ปลาสลิดอร่อยๆ ก็ต้องเป็นปลาสลิดบางบ่อ หนองงูเห่า ก็เป็นชื่อเรียกแต่เดิมก่อนจะมาเป็นสนามบินสุวรรณภูมิ ทั้ง 3 ชื่อนี้ล้วนอยู่ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ทั้งสิ้น

การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

แผนที่จังหวัดสมุทรปราการ ใน การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

อำเภอบางพลี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ ชุมชนบางพลีในอดีต ใช้คลองสำโรงซึ่งขุดขึ้นในรัชสมัยของอารยธรรมขอมโบราณ ระหว่าง พ.ศ. 978 ถึง 1700 เป็นเส้นทางหลักในการสัญจรและการค้าขายที่สำคัญ และยังมีคลองซอยต่างๆ อีกประมาณ 100 คลอง ด้วยความเจริญทางวัตถุที่แผ่ขยายเข้ามา ทำให้คลองที่เคยทำหน้าที่ระบายน้ำถูกปรับเปลี่ยนสภาพเป็นถนน หรือเป็นเพียงคูน้ำเล็กๆ ที่เหลือเพียงชื่อที่สะท้อนเรื่องราวความสำคัญของตัวตนคนบางพลี พิธีกรรม ประเพณี วัฒนธรรม ของชุมชนบางพลี

การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ (A Study of Folklore : A Determinant of Names of the Canals and Villages in Bangplee District, Samutprakarn Province) โดย พรรณศิริ แจ่มอรุณ วุฒิพงษ์ ทองก้อน และ กชพร ขวัญทอง คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ศึกษา รวบรวม และเรียบเรียง ชื่อของหมู่บ้านและลำคลองของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งจะสัมพันธ์กับแง่มุมของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วรรณกรรม ภูมิศาสตร์ และชาติพันธุ์ ตามความเชื่อ ความรู้ ประสบการณ์ ตามคำบอกเล่าของคนในท้องถิ่นซึ่งสามารถบอกเล่าเรื่องราวในอดีตและถ่ายทอดได้อย่างตรงไปตรงมา ประสานกับข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาติ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์ ที่บันทึกโดยหน่วยงานราชการ Read the rest of this entry »

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ รับสมัครนักศึกษาใหม่
ม.ค. 8th, 2016 by supaporn

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ รับสมัครนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2559

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ : เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ : เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ แผนกรับนักศึกษา สำนักทะเบียนและประมวลผล http://admission.hcu.ac.th/

ดูวิดีโอ แนะนำมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ภาพจากแผนกรับนักศึกษา สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa