SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล (Qualitative research in nursing)
มิ.ย. 22nd, 2016 by sirinun

การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล (Qualitative in nursing)

การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล (Qualitative in nursing)

การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยที่ได้รับความสนใจกันอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ เนื่องจากความสอดคล้องของลักษณะการทำงานในวิชาชีพพยาบาลที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการอยู่ตลอดเวลา และเน้นการให้บริการองค์รวม ซึ่งการที่จะให้บริการพยาบาลตามความต้องการของผู้รับบริการนั้นจะต้องมีการศึกษา และทำความเข้าใจความหมายของบุคคลที่อยู่ในปรากฏการณ์นั้นๆ ก่อนจึงจะสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจได้มาจากการพูดคุย การสังเกตพฤติกรรม การซักประวัติ หรือการศึกษาจากแฟ้มประวัติของผู้รับบริการก็ได้ หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้นักศึกษาพยาบาล และผู้เรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการวิจัยเชิงคุณภาพได้มากขึ้น หมวดหมู่ WY20.5 อ663ก 2559

รายการอ้างอิง

อารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2559).  การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล (Qualitative research in nursing). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
มิ.ย. 21st, 2016 by sirinun

สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

“สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หนังสือเล่มนี้เนื้อหาแบ่งออกเป็น 7 บท โดยในบทที่ 1 เป็นการเกริ่นนำประเด็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทยกับการก้าวสู่นโยบายการเปิดเสรี ภาพนโยบายการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภาพรวมของสัตว์น้ำที่นิยมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภาพรวมของสัตว์น้ำที่นิยมเพาะเลี้ยงในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ในบทที่ 2 ได้กล่าวถึงสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในภาพรวมของอาเซียน และอธิบายถึงรายละเอียดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของทั้ง 10 ประเทศสมาชิก จากนั้น การค้าสินค้าสัตว์น้ำและศักยภาพการส่งออกจะกล่าวไว้ในบทที่ 3 ส่วนบทที่ 4-6 จะเป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกของประเทศไทย ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในน้ำกร่อย ในทะเล และในน้ำจืด บทสุดท้ายจะเป็นการวิเคราะห์โอกาสในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย แยกรายละเอียดของสัตว์น้ำในแต่ละชนิด มีประโยชน์ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรไทย หมวดหมู่ SH135 ส179 2558

รายการอ้างอิง

เรืองไร โตกฤษณะ  และคนอื่นๆ. (2558). สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพฯ : สถาบันคลังสมองของชาติ  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ชีวิตที่พลิกผัน : อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ของเกษตรกร เล่ม 1
มิ.ย. 20th, 2016 by sirinun

ชีวิตที่พลิกผัน : อาชีวอนามัยและความปลอดภัยใน การทำงานของเกษตรกร เล่ม 1

ชีวิตที่พลิกผัน : อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของเกษตรกร เล่ม 1

มนุษย์ทุกคนย่อมมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาตนเอง ทั้งที่เป็นการพัฒนาในระบบการศึกษา และการพัฒนาแบบไม่เป็นทางการ ผ่านการเรียนรู้นอกระบบ เช่น ผ่านทางฝึกปฏิบัติ ผ่านอาชีพ ผ่านครอบครัว เป็นต้น การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาตนเองนั้น ที่สำคัญคือการสร้างหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ผ่านทางบทความ หรือหนังสือทางวิชาการที่เป็นทฤษฎี งานวิจัยและประการตรงของผู้แต่งหนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านได้รับความรู้เรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของเกษตรกรในชุมชน หมวดหมู่ WA400 ช583 2558

รายการอ้างอิง

ประมุข โอศิริ. (บรรณาธิการ). (2558). ชีวิตที่พลิกผัน : อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของเกษตรกร เล่ม 1. กรุงเทพฯ : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

พัฒนาการผิดปกติที่พบบ่อยในวัยเด็กแรกเกิด – 5 ปี
มิ.ย. 20th, 2016 by sirinun

พัฒนาการผิดปกติที่พบบ่อยในวัยเด็กแรกเกิด - 5 ปี

พัฒนาการผิดปกติที่พบบ่อยในวัยเด็กแรกเกิด – 5 ปี

วัยแรกเกิดถึง 5 ปี ถือว่าเป็นการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็กเริ่มที่จะเรียนรู้ เนื่องจากสมองมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการประมาณร้อยละ 80 เกิดขึ้นในช่วงวัยนี้ หากเด็กมีพัฒนาการที่ผิดปกติเราก็สามารถแก้ไขและส่งเสริมพัฒนาการด้านที่บกพร่อง  ซึ่งหนังสือเล่มนี้ช่วยให้เราทราบเกี่ยวกับพัฒนาการผิดปกติที่พบบ่อยในเด็กแรกเกิด – 5 ปี โดยเนื้อหาแยกเป็นพัฒนาการผิดปกติตามระบบถึงแม้ว่าในเด็กบางคนจะมีพัฒนาการผิดปกติร่วมกันหลายด้านแต่จะมีพัฒนาการที่ผิดปกติแต่ละด้าน ในแต่ละบทจะประกอบไปด้วยพัฒนาการปกติตามวัย อาการที่บ่งบอกว่าผิดปกติ แนวทางการวินิจฉัย การรักษา และในท้ายบทจะยกตัวอย่างโรคทางพัฒนาการที่พบบ่อยของความผิดปกติในด้านนั้นๆ ผู้อ่านจะได้รับประโยชน์และสามารถนำไปใช้ในการสักเกต วินิจฉัย และส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้อย่างเหมาะสม หมวดหมู่ WS105.5.C3 จ493พ 2559

รายการอ้างอิง

จิรนันท์ วีรกุล. (2559). พัฒนาการผิดปกติที่พบบ่อยในวัยเด็กแรกเกิด – 5 ปี. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ภาวะทางเดินอาหารทำหน้าที่ผิดปกติไร้โรคทาง กายในเด็ก (Pediatric functional gastrointestinal disorders)
มิ.ย. 20th, 2016 by sirinun

ภาวะทางเดินอาหารทำหน้าที่ผิดปกติไร้โรคทางกายในเด็ก

ภาวะทางเดินอาหารทำหน้าที่ผิดปกติไร้โรคทางกายในเด็ก

“ภาวะทางเดินอาหารทำหน้าที่ผิดปกติไร้โรคทางกายในเด็ก” รวบรวมโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศไทยและจากต่างประเทศ รวมทั้งผลงานวิจัยของผู้แต่ง ซึ่งได้ทำวิจัยร่วมกับอาจารย์หลายๆ ท่าน หนังสือเล่มนี้มี 15 บท ประกอบด้วยบทกล่าวนำในภาพรวมและความรู้พื้นฐานที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะนี้ ได้แก่ แกนเชื่อมโยงหน้าที่ระหว่างสมองและทางเดินอาหารรวมถึงระบบประสาทที่ควบคุมการทำหน้าที่ระบบทางเดินอาหาร ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะนี้รวมทั้งปัจจัยทางจิตสังคม ส่วนในบทที่3 – 12 กล่าวถึงภาวะที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ โดยนำเข้าสู่บทเรียนด้วยตัวอย่างผู้ป่วยและการอภิปรายปัญหาผู้ป่วย เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจมากขึ้น เนื้อเรื่องครอบคลุมระบาดวิทยา พยาธิกำเนิดและพยาธิสรีรวิทยา อาการทางคลินิก การวินิจฉัย การวินิจฉัยแยกโรค การบำบัดรักษาและพยากรณ์โรค เนื่องจากในทางเวชปฏิบัติ แพทย์จะต้องวินิจฉัยแยกโรคระหว่างภาวะเหล่านี้สาเหตุจากโรคทางกาย จึงได้กล่าวรายละเอียดการประเมินผู้ป่วยที่มาด้วยอาการของภาวะเหล่านี้ไว้ด้วย ส่วนบทที่ 13 – 15 ได้นำเสนอยาที่ใช้บ่อยในภาวะเหล่านี้เพื่อให้แพทย์สามารถใช้ยาได้อย่างเหมาะสม การให้โพรไบโอติก พรีไบโอติก และใยอาหาร ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของวงการแพทย์ ตลอดจนการรักษาทางจิตเวช  เหมาะสำหรับนักศึกษาแพทย์  แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป กุมารแพทย์ และกุมารแพทย์โรคทางเดินอาหาร สามารถนำไปประยุกต์ในการวินิจฉัยและรักษาโรค ตลอดจนการประเมินเด็กที่มาด้วยอาการผิดปกติระบบทางเดินอาหาร หมวดหมู่ WS310 ภ477 2558

รายการอ้างอิง

สุพร ตรีพงษ์กรุณา. (บรรณาธิการ). (2558). ภาวะทางเดินอาหารทำหน้าที่ผิดปกติไร้โรคทางกายในเด็ก (Pediatric functional gastrointestinal disorders). กรุงเทพฯ : โฮลิสติก พับลิชชิ่ง.

ได้เวลาล้างพิษทุกระบบจุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดี ฉบับสมบูรณ์
มิ.ย. 17th, 2016 by sirinun

ได้เวลาล้างพิษทุกระบบจุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดี ฉบับสมบูรณ์

ได้เวลาล้างพิษทุกระบบจุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดี
ฉบับสมบูรณ์

การล้างพิษแบบครบวงจรทั้งร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตัวเอง เพื่อการมีสุขภาพกาย จิตใจ และจิตวิญญาณที่สมบูรณ์ ประโยชน์ที่ได้รับจากการล้างพิษ มีดังนี้ เพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ผิวพรรณ ทำให้หลับสบาย ช่วยลดน้ำหนัก ฯลฯ หนังสือเล่มนี้สามารถใช้เป็นคู่มือแนะนำของแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับวิธีรักษาสุขภาพทั่วไปให้ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตัวเอง หมวดหมู่ QU145 พ725ด 2559

รายการอ้างอิง

พิมลพรรณ อนันต์กิจไพศาล. (2559). ได้เวลาล้างพิษทุกระบบจุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดี ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : Feel good.

ครบ ชัด ลึก เรื่องมะเร็งระบบทางเดินอาหาร
มิ.ย. 17th, 2016 by sirinun

ครบ ชัด ลึก เรื่องมะเร็งระบบทางเดินอาหาร

ครบ ชัด ลึก เรื่องมะเร็งระบบทางเดินอาหาร

ในปัจจุบันมะเร็งของระบบทางเดินอาหารเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยเป็นลำดับต้นๆ ในคนไทย ที่สำคัญมะเร็งในระบบทางเดินอาหารหลายชนิดมีปัจจัยเสี่ยงที่ทราบกันอย่างชัดเจน ซึ่งถ้าสามารถลดปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้โอกาสการเกิดมะเร็งก็จะน้อยลง นอกจากนั้นถ้าสามารถตรวจพบได้ในระยะแรกๆ จะสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือรักษาให้มีชีวิตยืนยาวขึ้นได้ หนังสือเล่มนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งของระบบทางเดินอาหาร และวิธีปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงในระยะสุดท้ายได้ และ ช่วยให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้เป็นอย่างยิ่ง  หมวดหมู่ WI149 ค152 2558

รายการอ้างอิง

ครบ ชัด ลึก เรื่องมะเร็งระบบทางเดินอาหาร. (2558).  กรุงเทพฯ : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสาทสรีรวิทยาพื้นฐาน
มิ.ย. 15th, 2016 by sirinun

ประสาทสรีรวิทยาพื้นฐาน

ประสาทสรีรวิทยาพื้นฐาน

“ประสาทสรีรวิทยาพื้นฐาน” ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับประสาทสรีรวิทยา เช่น กระแสประสาท การส่งสัญญาณผ่านไซแนปส์และสารสื่อประสาท ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบประสาททางกาย higher nervous function (คลื่นไฟฟ้าสมอง การหลับ การเรียนรู้และความจำ สมองและพฤติกรรม รวมทั้งภาษาและการพูด)  และระบบประสาทรับความรู้สึก หนังสือเล่มนี้ให้ความรู้และอธิบายภาวะผิดปกติของโรคทางระบบประสาท นอกจากนี้ได้มีคำถามท้ายบทเพื่อช่วยให้ผู้ที่สนใจและนักศึกษาได้ประเมินความรู้ที่ได้จากการอ่านและนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนในชั้นคลินิก หมวดหมู่ WL102 ส275ป 2558

รายการอ้างอิง

สมฤดี สายหยุดทอง. (2558). ประสาทสรีรวิทยาพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

การพยาบาลอายุรศาสตร์-ศัลยศาสตร์โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ (Kidney & Urinary diseases : medical and surgical nursing care)
มิ.ย. 13th, 2016 by sirinun

การพยาบาลอายุรศาสตร์-ศัลยศาสตร์โรคไต และระบบทางเดินปัสสาวะ

การพยาบาลอายุรศาสตร์-ศัลยศาสตร์โรคไต และระบบทางเดินปัสสาวะ

การเกิดโรคในระบบศัลยศาสตร์ ทางเดินปัสสาวะ ปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งกลุ่มโรคมะเร็ง กลุ่มการบาดเจ็บเกิดร่วมกับการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ และกลุ่มการอุดตันทางเดินปัสสาวะจากโรคนิ่ว ส่วนระบบอายุรศาสตร์โรคไตในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังสะสมกว่า “แปดล้านคน” และพบผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตรายใหม่ปีละกว่า “หนึ่งหมื่นคน”   การรักษาทางอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์โรคไตและทางเดินปัสสาวะทางการแพทย์ในยุคปัจจุบันล้วนแต่ใช้เทคโนโลยีเฉพาะและล้ำสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ ในศาสตร์ทางการศึกษาพยาบาลเล่มนี้ สามารถช่วยพัฒนาวิชาชีพการพยาบาลและช่วยนักศึกษาพยาบาล และพยาบาลได้รับความรู้ในการปฏิบัติการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยโรคไต และระบบทางเดินปัสสาวะเป็นอย่างดี

หมวดหมู่ WY164 ก492 2559

รายการอ้างอิง

ชัชวาล วงค์สารี. (บรรณาธิการ). การพยาบาลอายุรศาสตร์-ศัลยศาสตร์โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ (Kidney & Urinary diseases : medical and surgical nursing care). กรุงเทพฯ : N P Press Limited Partnership.

พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ (Ethical behaviors of professional nurses)
มิ.ย. 10th, 2016 by sirinun

พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ

พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ

“อันพวกเราเหล่านักเรียนพยาบาล  ปณิธาน อนุกูล เพิ่มพูนผล เรียนวิชา กรุณา ช่วยปวงชน   ผู้เจ็บไข้ ได้พ้น ทรมาน แม้โรคร้าย จะแพร่พิษถึงปลิดชีพ  จะยึดหลักดวงประทีปคือสงสาร ยอมเหนื่อยยากตรากตรำใจสำราญ อุทิศงานเพื่อคนไข้ ทั้งใจกาย” จากเนื้อเพลงบางตอนของเพลง  “นักเรียนพยาบาล” ทำให้ผู้อ่านได้รู้คุณค่าของการเป็นพยาบาลเป็นอย่างยิ่ง หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงพฤติกรรมของพยาบาลวิชาชีพที่ต้องยึดหลักจริยธรรมทางการพยาบาล มีความเมตตากรุณาต่อคนป่วย ให้สิทธิมนุษยชน สิทธิผู้ป่วย ฯลฯ ในการดูแลสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยท่ามกลางสภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในขณะนี้  มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อทั้งนักศึกษาพยาบาลและพยาบาลที่ปฏิบัติงานให้บริการการพยาบาลโดยทั่วไป ควรได้ศึกษาเพื่อเป็นคู่มือในการตัดสินใจแสดงพฤติกรรมจริยธรรมที่เหมาะสมในการประกอบอาชีพ หมวดหมู่ WY85 พ434 2558

รายการอ้างอิง

อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม และสมใจ ศิระกมล. (บรรณาธิการ). (2558). พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ (Ethical behaviors of professional nurses) . เชียงใหม่ : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

 

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa