สะสมไว้ใช้เล่าเรื่อง
หนังสือประกอบนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ 60 พรรษา
ขออัญเชิญพระราชนิพนธ์คำนำ “…ของที่รวบรมมาประมาณ จะเรียกว่า 50 ปีก็ได้ มีทั้งของมีราคา … ทำให้คิดว่าผู้ที่มาพบเห็น อยากจะมีโอกาสได้ศึกษาว่าในสมัยก่อนๆ มีของประเภทใดบ้าง ของบางอย่างนี่พอ 50 ปีแล้วก็ไม่มีขายในท้องตลาด หรือเป็นของที่ถือว่าเก่าแก่เป็นของโบราณขึ้้นมาแล้ว … ในการไปเยี่ยมราษฎรในที่ต่างๆ บางทีก็มีคนที่มีของต่างๆ ที่ประดิษฐ์เองหรือของที่รวบรวมไว้เขาก็อยากจะให้ ก็เอามารวมเอาไว้ หรือมีคนที่มาหา บางทีก็ให้เป็นของ หรือไปต่างประเทศก็มีคนที่มาได้ของที่แปลกๆ ที่ไม่เคยเห็นในประเทศไทย ก็เอามารวมไว้ พอไปดูเราอาจจะศึกษาได้ว่าธรรมเนียมประเพณีของที่ต่างๆ เขาทำอย่างไร ประเพณีบ้านเราก็ไม่เหมือนกัน หรือวัฒนธรรมของไทยของต่างประเทศ มันก็ไม่เหมือนกัน …”
ของสะสม
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชอัธยาศัยใฝ่ศึกษาและสนพระราชหฤทัยศิลปวิทยาการทุกสาขา พระราชอัธยาศัยนี้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงปลูกฝังมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อเสด็จฯ ไปสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก จึงทรงสะสมสิ่งของอันเป็นตัวแทนวัฒนธรรมและวิทยาการของชนชาติต่างๆ
การทรงสะสมสิ่งของเหล่านี้มีประโยชน์เพื่อการศึกษาและเป็นเครื่องเตือนความจำ ของสะสมส่วนพระองค์ตั้งแต่ยังทรงทระเยาว์จนถึงปัจจุบันมีหลายประเภท มีทั้งของที่มีค่าและไม่มีบูลค่า แต่ทรงเก็บไว้เพราะมีความหมายทางสังคมและวัฒนธรรมแสดงถึงประวัติศาสตร์ของถิ่นต่างๆ
อีกประการหนึ่ง ทรงพระราชดำริว่าสิ่งของเหล่านี้จะเป็นประโยชน์มากขึ้นถ้าจัดเก็บและจัดแสดงตามหลักพิพิธภัณฑ์สากล จึงโปรดเกล้าฯ ให้คณะทำงานเก็บรวบรวมไว้ที่พิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์บ้านสวนปทุม จ. ปทุมธานี ทรงสนับสนุนให้คณะทำงานค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม และติดตามดูกิจการพิพิธภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่ได้ชมได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ มีความเข้าใจใฝ่รู้ในศิลปวิทยาการ เกิดความคิดสร้างสรรค์และซาบซึ้งในวัฒนธรรมแบบต่างๆ อันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่งชนชาติ (คำนำ)
รายการอ้างอิง
พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. ของสะสมไว้ใช้เล่าเรื่อง. กรุงเทพฯ : พิพิธภัณฑ์ฯ, 2558.
วันที่ 19 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น. การไฟฟ้านครหลวง และมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ร่วมต้อนรับคณะอนุกรรมการ ผู้ตรวจรางวัลการดำเนินงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง ประจำปี 2559 ณ ห้องประชุม 1 อาคารอำนวยการ ชั้น 2
การไฟฟ้านครหลวงและมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติร่วมให้การต้อนรับ
ระหว่างการฟังบรรยายกิจกรรมต่างๆ
Read the rest of this entry »
ผู้ใช้บริการห้องสมุดที่ชอบเอาหนังสือไปเก็บไม่ถูกที่เดิม ทำให้หนังสือเล่มนั้นยากแก่การค้นหา โดยเฉพาะห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสือเป็นจำนวนมาก งานหาหนังสือที่หายไปหนึ่งเล่มในบรรดาหนังสือบนชั้นทั้งตึกก็ยิ่งยากเข้าไปอีก แต่งานลักษณะนี้จะไม่เป็นปัญหาต่อไปสำหรับหุ่นยนต์บรรณารักษ์ น่าสนใจทีเดียวค่ะ https://www.thairobotics.com/…/06/30/auross-librarian-robot/
sompol.(2559). มาแล้ว หุ่นยนต์บรรณารักษ์ประจำห้องสมุด. จาก https://www.thairobotics.com/2016/06/30/auross-librarian-robot/
คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ถ่ายรูปหน้ารูปปั้น ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์
คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เข้าศึกษาดูงานด้านการอนุรักษ์พลังงานของ มฉก. โดย อาจารย์ฉลอง แขวงอินทร์ (รองอธิการบดี) และคณะทำงานร่วมต้อนรับ ณ ห้องสื่อประสม ชั้น 2 อาคารบรรณสาร มฉก. ในวันที่ 17 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น.
ป้ายต้อนรับที่ใช้กระดานชอล์กเพื่อสิ่งแวดล้อม
ผู้บริหารทั้งสองผ่ายถ่ายภาพร่วมกันก่อนเข้าฟังการบรรยาย
ในการนี้ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และบุคลากรของศูนย์บรรณสารฯ ได้ร่วมให้ข้อมูลโครงการสำนักงานสีเขียว ซึ่งเป็นโครงการที่มีรวมกิจกรรมการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ถ่ายภาพร่วมกันหลังการบรรยาย
รองอธิการบดี ฉลอง แขวงอินทร์ บรรยายในกิจกรรมการประหยัดพลังงานของ มฉก.
ผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมฉก. ถ่ายภาพร่วมกัน
บรรยากาศขณะนำชม
วันที่ 15 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น. ผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จำนวน 10 ท่าน ได้เข้าศึกษาดูงานการประหยัดพลังงานของ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ในการนี้ รองอธิการบดี ฉลอง แขวงอินทร์ และทีมงานกองอาคาร พร้อมผู้เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ ให้การต้อนรับ ณ อาคารบรรณสาร ซึ่งเป็น 1 ใน 3 อาคารประหยัดพลังงาน โดยมีการบรรยาย ตอบข้อซักถาม และนำชมจุดต่างๆ
อ. ธงชัย โรจน์กังสดาล ผู้ชอบอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรืออีบุ๊กผ่านคินเดิลมาก เพราะคินเดิลใช้ อี-อิงก์ (E-ink) หรือหมึกอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้จอมีลักษณะเหมือนกระดาษ ช่วยลดการสะท้อนแสง ทำให้อ่านจากหน้าจอนานๆ ได้โดยไม่เคืองตาเหมือนจอคอมพิวเตอร์ทั่วไป
อี-อิงก์จึงถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ไม่ใช่เครื่องอ่านอีบุ๊กมากขึ้น เช่น ป้ายแสดงข้อมูลต่างๆ ป้ายบอกทางจราจร ป้ายแสดงข้อมูลสินค้า เป็นต้น แม้แต่จอคอมพิวเตอร์ ก็มีผู้ผลิตโดยอี-อิงก์ จออี-อิงก์ นี้ มีชื่อว่า Paperlike แต่ราคายังค่อนข้างสูงมาก อ่านบทความโดยละเอียด
ขอขอบคุณ อ. ธงชัย โรจน์กังสดาล ที่กรุณามอบข้อมูลนี้มาเผยแพร่ค่ะ
เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ครบ 84 พรรษา 12 สิงหา มหาราชินี ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดพิธีเปิดห้องสมุดในสวน และปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ ในวันที่ 11 สิงหาคม 2559 เวลา 08.30 – 10.30 ณ ลานหน้าอาคารบรรณสาร
หลังจากการทำพิธีเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ครบ 84 พรรษา 12 สิงหา มหาราชินี หน้าประตูเสด็จแล้ว ผู้บริหารของมหาวิทยาลัย นำโดย อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ประจักษ์ พุ่มวิเศษ เดินนำขบวนผู้เข้าร่วมพิธีเทิดพระเกียรติฯ มายังอาคารบรรณสาร และทำพิธีเปิดห้องสมุดในสวน อย่างเป็นทางการ โดยถือโอกาสอันเป็นมหามงคลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ในด้านการอนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม
มฉก. เทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ห้องสมุดในสวนนี้ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เกิดจากที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยในการเข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยในการเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินทั้ง 7 เกณฑ์ เพื่อให้เกิดผลในภาพรวมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างรู้คุณค่า มีแนวทางในการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ ที่สำคัญต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาในปริมาณต่ำ
ห้องสมุดในสวน
รายงานการจัดทำห้องสมุดในสวน
ปลูกต้นไม้ร่วมกัน
ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2559 เวลา 11.00 – 12.30 น. บุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ เข้าศึกษาและดูงานการประหยัดพลังงานและสำนักงานสีเขียว มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ในการนี้ ผอ. ศูนย์บรรณสารสนเทศ และคณะกรรมการ การอนุรักษ์พลังานและสิ่งแวดล้อม ศูนย์บรรณสารสนเทศร่วมให้การต้อนรับ และให้ข้อมูลการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว ที่อาคารบรรณสารเข้าร่วมโครงการและผ่านเข้ารอบเหรียญทอง
คณะเยี่ยมชมถ่ายภาพร่วมกับชาวบรรณสาร
พื้นที่สีเขียว มุมน่ารัก ที่ใครๆ ก็ขอถ่ายรูป
ชมห้องสมุดในสวน
หน้าบริเวณห้องสมุดในสวน
หลังจากได้รับรางวัล 7 ส ยอดเยี่ยม เมื่อเช้าวันที่ 7 กรกฎาคม 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ร่วมต้อนรับสำนักหอสมุด สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในการศึกษาดูงานกิจกรรม 7 ส ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ในการนี้ รองอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ กล่าวถึงการดำเนินการ 7 ส ของมหาวิทยาลัย และมอบหมายให้มีการดูงานกิจกรรม 7 ส ของอาคารบรรณสาร โดย ศูนย์บรรณสารสนเทศเป็นผู้นำชม ในช่วงเวลา 13.30-15.30 น. ซึ่งผู้เยี่ยมชมได้รับทั้งความรู้ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การดำเนินการงาน 7 ส ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งได้ตัวอย่างกิจกรรมต่างๆ ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ดำเนินการ
รองศาสตราจารย์ ดร. อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ กล่าวถึงการดำเนินการ 7 ส ของมหาวิทยาลัย
หลังจากดูงานจนเหนื่อย บุคลากรจาก สจล. นั่งพักบริเวณห้องสมุดในสวน หน้าอาคารบรรณสาร
ส่วนหนึ่งของการศึกษาดูงาน ห้องทรงอักษร สมเด็จพระเทพร้ตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วันที่ 7 กรกฎาคม 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เข้ารับรางวัลชนะเลิศ 7 ส ในงาน Big Cleaning Day ของมหาวิทยาลัย โดย อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ เป็นประธานในการมอบรางวัล
ภาพหมู่กับหน่วยงานและบุคลากรที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ
อธิการบดี มฉก. มอบโล่รางวัลให้กับ ผอ. ศูนย์บรรณสารสนเทศ
ภาพชาวบรรณสาร
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ดำเนินการกิจกรรม 7 ส ซึ่งประกอบด้วย สะสาง สะดวก สุขลักษณะ สร้างนิสัย สวยงาม และ สิ่งแวดล้อม มาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อให้งานเกิดคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้ความสำคัญในเรื่องของความสวยงามและสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมจากกิจกรรม 5 ส ที่ผ่านมา
ความหมายของ 7 ส.
ส 1 หมายถึง สะสาง แยกของที่ต้องการกับของที่ไม่ต้องการใช้งาน หรือ ของที่มีปริมาณมากเกินจำเป็นให้เหลือเฉพาะที่จำเป็นไว้เท่านั้น
ส 2 หมายถึง สะดวก จัดเก็บของ แยกประเภทของที่จำเป็น ให้สะดวกเก็บ สะดวกใช้ โดยใช้หลัก “หยิบง่าย หายรู้ ดูก็งามตา”
ส 3 หมายถึง สะอาด มีวิธีการทำความสะอาด แบ่งหน้าที่กันทำความสะอาด โดยการ ปัด กวาด เช็ด ถู ดูแลให้สะอาด พร้อมใช้ สม่ำเสมอ
ส 4 หมายถึง สุขลักษณะ รักษามาตรฐานที่ดี ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และพัฒนาให้ดีเสมอ เพื่อสุขลักษณะที่ดีในสถานที่ทำงาน โดย ค้นหาสาเหตุที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น มลภาวะ อุบัติเหตุ แสงสว่าง เสียงดัง ฝุ่น เศษขยะ กลิ่นอับ แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
ส 5 หมายถึง สร้างนิสัย รักษาระเบียบวินัยและมาตรฐานข้อตกลง โดย ช่วยกันปฏิบัติตามหลัก 7 ส ให้เป็นกิจวัตรประจำวันจนติดเป็นนิสัย
ส 6 หมายถึง สวยงาม รักษาสภาพแวดล้อม บรรยากาศในที่ทำงาน ดูดี สบายตา สบายใจ สดชื่น น่าทำงาน แต่ไม่ฟุ่มเฟือยเกินจำเป็น
ส 7 หมายถึง สิ่งแวดล้อม ประหยัดทรัพยากรในการทำงาน โดยการ ประหยัด น้ำ ไฟฟ้า กระดาษ ที่ยึดหลัก 1A3R คือ
A หมายถึง Avoid หลีกเลี่ยงการใช้ R หมายถึง Reduce ลดการใช้ R หมายถึง Reuse นำกลับมาใช้ R หมายถึง Recycle นำไปผลิตใหม่
ขอขอบคุณ ชาวบรรณสารทุกท่านค่ะ “ชาวบรรณสาร ร่วมมือ ร่วมใจ ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”