แผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีแนวคิดเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ใช้หนังสืออย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น โดยนำหนังสือที่จัดซื้อในปีที่ผ่านมาลงมาจัดแสดงที่มุมเพาะชำความรู้ มุมเพาะชำนักอ่าน หรือมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เก๋ คือ Something nice to you ซึ่งหมายถึง น่าจะมีหนังสือ ซัก 1 เล่ม ที่คุณชอบ บริเวณโถงกลาง ด้านหน้าศูนย์บรรณสารฯ
มีการจัดกิจกรรมดังกล่าวมาประมาณ 2-3 ปี ผู้บริหาร จึงได้มีการหารือเพื่อให้หนังสือที่นำมาจัดแสดงน่าสนใจ มากขึ้น ผู้เขียนและทีมงาน จึงได้มีการปรับปรุงการนำหนังสือมาจัดแสดง ซึ่งเดิมพิจารณากันเอง อาจจะมีเปะปะ จึงวางแผนการจัดแสดงหนังสือทั้งปี แบ่งการจัดเป็น Theme ต่างๆ ใช้ระยะเวลาจัดแสดง Theme ละ 2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย ตามตารางด้านล่าง
ตารางกิจกรรมการจัดหนังสือมุมเพาะชำความรู้ มุมเพาะชำนักอ่าน
จากการจัดแสดงหนังสือเป็น Theme เป็นระยะเวลาหนึ่ง ไดัรับความสนใจจากผู้ใช้บริการที่เดินผ่านบริเวณ โถงศูนย์บรรณสารฯ ได้แวะชมและหยิบยืมหนังสือเพิ่มขึ้น นับเป็นการกระตุ้นการใช้หนังสือให้คุ้มค่ามากขึ้น ทั้งยังได้เพิ่มยอดการยืมหนังสืออีกทางหนึ่ง โดยที่ผู้ใช้บริการไม่ต้องเสียเวลาขึ้นไปหาหนังสือบนชั้นต่างๆ จากภาพจัดแสดงหนังสือตาม Theme ต่างๆ รวมทั้งเทศกาลและวันสำคัญ ดังนี้ (ทั้งนี้ Theme อาจจะมีการปรับเปลี่ยนได้ตามภาวะการณ์หรือมีกระแสเกิดขึ้้นในสังคม)
Read the rest of this entry »
QR Code Link หนังสือโดนใจ เป็นอีกหนึ่งบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่เข้ากับยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากมายในชีวิตประจำวัน เมื่อพูดถึง QR Code คงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะปัจจุบันนี้เมื่อเดินไปที่ไหน ๆ มักจะเห็นกันแทบทุก ๆ พื้นที่รอบ ๆ ตัวเรา อย่างเช่น ตามป้ายโฆษณา ร้านค้า ธนาคาร แม้แต่การอบรม สัมมนา ฯลฯ การใช้ QR code เป็นสีสันของการประชาสัมพันธ์ หรือการให้ข้อมูลที่สะดวกมากขึ้น ให้เข้าถึงรายละเอียดของข้อมูลได้ทันที ที่ สแกน QR code
ศูนย์บรรณสารสนเทศเล็งเห็นถึงประโยชน์ในการนำ QR Code มาใช้กับหนังสือ เพื่อนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการ เช่น แนะนำเรื่องย่อของหนังสือแต่ละเล่ม เพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจในการเลือกหยิบหนังสือเล่มนั้น ๆ มายืมเพื่อกลับไปอ่านที่บ้าน
ขั้นตอนการทำ QR Code มีดังนี้
1.ค้นหาหนังสือจากศูนย์บรรณสารสนเทศที่น่าสนใจ
2. นำรายชื่อหนังสือที่ต้องการค้นหา มาสืบค้นเพื่อหาลิงค์ นำมาทำ QR Code ส่วนใหญ่แหล่งข้อมูลที่ได้มาจากเว็บไซต์ หรือบทคัดย่อที่ได้จากเว็บไซต์ของร้านหนังสือ เช่น SE-ED , B2S หรือ นายอินทร์ Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ขอแนะนำมุมหนังสือที่น่าสนใจอีกมุมหนึ่ง คือ มุมหนังสือ Just returned จัดให้บริการบริเวณเคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 1 ศูนย์บรรณสารสนเทศ เนื่องจากในแต่ละวันมีผู้ใช้บริการนำหนังสือมาคืน แล้วต้องคัดแยกส่งเก็บตามชั้นต่างๆ ทุกวัน ช่วงเวลา 16.00 น. ดังนั้น จึงได้มีแนวความคิดในการนำหนังสือที่เพิ่งคืนมาจัดแสดงอีกครั้ง เนื่องจากเห็นว่า น่าจะเป็นที่สนใจว่า ใครยืมหนังสืออะไรไปอ่านกันบ้าง ผู้ใช้ที่เรียนในสาขาวิชาเดียวกัน หรือผู้ที่สนใจในเรื่องทำนองเดียวกัน จะได้มีไอเดียในการอ่านหนังสือ เมื่อเห็นการจัดแสดงหนังสือที่เพิ่งมาคืน เหมือนเป็นการแนะนำหนังสือโดยผู้อ่านคนอื่นที่มีสไตล์การอ่านแบบเดียวกัน
บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงเลือกหนังสือที่คืนบางส่วนในแต่ละวัน โดยเลือกหนังสือที่มีเนื้อหาทั่วไปเบาๆ ไม่เชิงวิชาการมากนัก เน้นเล่มใหม่ๆ เช่น หนังสือทางด้านดูแลสุขภาพ ทางด้านภาษาที่น่ารู้ นวนิยาย เป็นต้น นำมาจัดแสดงให้เห็นว่ามีหนังสืออะไรที่เพิ่งมาคืน น่าจะเป็นที่สนใจแก่ผู้อ่านคนอื่น ๆ บ้าง โดยไม่ต้องขึ้นไปเสาะแสวงหา การจัดมุมหนังสือ Just returned เป็นที่สนใจแก่ผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก ทำให้หนังสือเหล่านี้มีการหมุนเวียนถูกหยิบยืมอีก และยังได้เพิ่มการจัดทำ QR CODE เพื่อ Scan ดูเนื้อหาของหนังสือบางเล่ม อีกด้วย Read the rest of this entry »
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นมา ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้มีนโยบายการให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นการให้บริการเชิงรุก เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 โดยให้แนวคิดเรื่องการแนะนำหนังสือ ให้เกิดการหมุนเวียนการใช้หนังสือให้มากที่สุด และเพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับผู้ใช้บริการ ซึ่งผลจากการจัดแนะนำหนังสือ พบว่าผู้ใช้มีความสนใจ พึงพอใจ และหนังสือมีการยืมมากขึ้น ผู้เขียนในฐานะผู้รับผิดชอบการแนะนำหนังสือคนหนึ่ง จึงขอสรุปขั้นตอนการจัดทำหนังสือแนะนำ ของแผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ดังนี้
หนังสือแนะนำ
การทำกิจกรรมแนะนำหนังสือนี้ ทำให้บุคลากรในงานบริการสารสนเทศ ได้ประโยชน์ ดังนี้
แบไต๋ไบโอก๊าซ
หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเป็นทั้งวิทยาศาสตร์ สังคม กระบวนการพัฒนาชุมชน การแก้ไขปัญหาของชาวบ้าน มูลเหตุของความล้มเหลว รวมถึงปัจจัยที่นำสู่ความสำเร็จ ที่ชาวบ้านสามารถแปลงวัสดุการเกษตรเศษอาหาร หรือเราเหมาเรียกรวมว่า “ขยะ” ให้เป็น “ไบโอก๊าซ” เพื่อใช้เป็นพลังงานหุงต้มในครัวเรือนได้ ส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอก๊าซของชุมชนในจังหวัดกระบี่ หมวดหมู่ TP359.B48 จ234บ 2558
รายการอ้างอิง
จิตติ มงคลชัยอรัญญา. (2558). แบไต๋ ไบโอก๊าซ : บทเรียนจากชุมชน กรณีศึกษา : การพึ่งตนเองด้านพลังงานของชุมชนในจังหวัดกระบี่. กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โรคมะเร็งและโรคหัวใจไม่ใช่ปัญหา
หนังสือเล่มนี้ถ่ายทอดประสบการณ์จริงจากตัวผู้เขียนเอง โดยผู้เขียนไม่ใช่แพทย์ พยาบาล และอาจารย์ หรือผู้ชำนาญการใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่เธอเป็นคนอารมณ์ดี คิดบวกเสมอจึงอยากร่วมสร้างกำลังใจ และเพื่อแบ่งเบาภาวะความเครียดของเพื่อนร่วมโรค ให้เบาบางลงไม่มากก็น้อย ผู้อ่านจะได้รับทั้งความบันเทิงและสาระน่ารู้จากสังคมรอบๆ ตัวของผู้เขียน หมวดหมู่QZ200 น196ร 2557
นภา หลิน. (2557). โรคมะเร็งและโรคหัวใจไม่ใช่ปัญหา. กรุงเทพฯ : วาสนาดี พับลิชชิ่ง.
อ่านสนุกปลุกสำนึก เล่ม 6
หนังสือเล่มนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้อ่าน มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พิทักษ์ภาษาไทย เนื่องจากสภาวะปัจจุบัน ภาษาไทยได้รับผลกระทบจากสื่อหลากหลายรูปแบบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คนไทยทุกคนจะต้องร่วมปลูกจิตสำนึกในการดูแลรักษาการใช้ภาษาไทย เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไปสู่รุ่นลูก หลาน ของเราต่อไป หมวดหมู่ PL4163.T5 อ499อ 2558
อัจฉรา ชีวพันธ์. (2558). อ่านสนุกปลุกสำนึก. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านไทย
หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้เรียบเรียงเนื้อหาที่เกี่ยวกับ ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเนื้อหาแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหัตถกรรมพื้นบ้านไทย และสามนาทีกับสารคดีศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านไทย เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจเนื่องจากเป็นผลงานสร้างสรรค์ของผู้ผลิตงานแต่ละประเภท ที่ยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน รวมทั้งผู้อ่านจะได้ทราบถึงแนวโน้มของผลงานในอนาคต หมวดหมู่ TT113.T5 น272ศ 2555
นฤทธิ์ วัฒนภ. (2555). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านไทย. กรุงเทพฯ : วาดศิลป์.