SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
เสวนาความรู้เรื่องอยู่อย่างไรในยุค Digital ดิจิทัลกับผู้คร่ำหวอดแวดวง IT ในรูปแบบ Technology Talk
พ.ค. 22nd, 2018 by kalyaraksa

ประจักษ์ 1

         เสวนาความรู้เรื่องอยู่อย่างไรในยุค Digital ดิจิทัลกับผู้คร่ำหวอด แวดวง IT ในรูปแบบ Technology Talk
โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดี และ อาจารย์สรวลสรรค์ พจนอารี (ผู้ดำเนินรายการ)
วันที่ 8 มีนาคม 2561 เวลา 13.30 -16.00 น. ณ ห้องสื่อประสม
อาคารบรรณสาร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ท่านอธิการบดี  ได้กล่าวต่อผู้รับฟังการเสวนาว่าไม่ได้เรียนมาทางด้าน Information technology แต่เป็นคนที่สนใจ เมื่อตอนที่เป็นเด็กชอบอ่านหนังสือ ซึ่งบ้านอยู่ใกล้ร้านขายหนังสือ ชอบอ่านจนหมดร้าน ต่อมาได้ศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ ได้สืบค้นเรื่องทางการแพทย์ ผ่าน Medline เช่น ไข้หวัดนก เรื่องที่เกี่ยวข้องจะขึ้นมาหมด ทำให้เห็นว่ามีใครเป็นผู้เขียนบ้าง

ต่อมามีความสนใจคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์สมัยนี้มีความเร็วกว่าแต่ก่อนเป็นพัน ๆ เท่า เมื่อมาเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบันคือสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) จึงมีความฝันจะทำฐานข้อมูล ซึ่งห้องสมุดเดิมใช้โปรแกรม CDS /ISIS โดยการใช้ CU MARC เป็นการรวบรวมข้อมูลให้ถูกต้องได้มาตรฐาน ในการนำห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ไม่ใช่เรื่องง่าย

ก่อนหน้าที่จะมีการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ ได้มีการเริ่มนำ Internet มาใช้ เริ่มต้นจาก ศาสตราจารย์นพ.จรัส สุวรรณเวลา (อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสมัยนั้น) ต้องการมี Electronic mail ซึ่งตอนนั้นมี Bitnet และ Internet การเข้าใช้ Internet นั้นแต่ก่อนของไทยมีศูนย์อยู่ที่จังหวัดสงขลา Login ไปประเทศออสเตรเลียวันละ 1 ชั่วโมง เมื่อได้ไปประชุมในปี 2534 เกี่ยวกับ Internet ครั้งแรกที่เกียวโต และได้พบกับ ริค อดัมส์ ยินดีให้ฟรี 1 ปี แต่จุฬาฯไม่มี Sever เป็น Mini Computer  ไม่มีงบประมาณซื้อเครื่องมือ ริค อดัมส์ ให้เครื่องราคา 200,000-300,000 บาท และมี อ. ดร ยรรยง เต็งอำนวย เข้ามาช่วย จากนั้นจึงมีระบบ INNOPAC ซึ่งเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ทำให้สามารถใช้ FTP ข้อมูลผ่านระบบ Internet  เมื่อทำ INNOPAC สำเร็จ หมดวาระ จึงไปช่วยงานที่ทบวงมหาวิทยาลัย ในส่วนของ IT Campus วางรูปแบบ ThaiLinet และโครงการ ThaiLIS

จากการฟังบรรยายในครั้งนี้ มีความเห็นว่า การเป็นผู้บริหารจะต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ทันต่อเทคโนโลยี ทราบว่าควรจะนำเทคโนโลยีใดเข้ามาใช้ ที่เป็นประโยชน์และคุ้มค่า รู้จักใช้ Social Media ให้เกิดประโยชน์ ระมัดระวังในการใช้ เพราะอาจจะก่อให้เกิดอันตราย หรือมีโทษต่อตนเอง และสังคมตามมา ทั้งนี้ ท่านอธิการบดี ได้มอบแนวคิดให้ผู้มาฟังให้พยายามสร้างบัณฑิตเป็นคนพันธุ์หัวเฉียว ที่มีคุณธรรม 6 ประการ และเป็นคุณลักษณะเฉพาะของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คู่มือ Cyber security สำหรับประชาชน
ส.ค. 4th, 2016 by sirinun

คู่มือ Cyber Security

คู่มือ Cyber Security สำหรับประชาชน

ปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารมีความก้าวหน้า และได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของประชาชนทุกเพศทุกวัยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นภาพ วิดีโอ เสียง และสื่อมัลติมีเดียต่างๆ สามารถรับส่งผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมได้อย่างรวดเร็วภายในเสี้ยววินาที ส่งผลให้การติดต่อสื่อสารเรื่องงานหรือธุรกรรมต่างๆ ดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วกว่าในอดีตอย่างเห็นได้ชัด แต่ถึงแม้เทคโนโลยีจะมีคุณประโยชน์ และก็มีโทษมหันต์ หากผู้ใช้ไม่รู้เท่าถึงอันตรายที่อาจเกิดจากการใช้อุปกรณ์มือถือหรือพกพานั้นๆ อย่างถูกวิธี หนังสือเล่มนี้ให้คำอธิบายและภาพประกอบที่ผู้อ่านสามารถอ่านและเข้าใจได้ง่าย  หมวดหมู่ QA76.9.A25 ค695 2558

รายการอ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2558). คู่มือ Cyber security สำหรับประชาชน . พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.

คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ก.ค. 5th, 2016 by sirinun

คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในโลกยุคเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งมีการนำเอาเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้สืบค้นเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเหมือนคลังความรู้สำคัญและมีบทบาทในการบริหารงานพื้นที่ห้องสมุดให้สนองตอบต่อความต้องการของผู้ใช้บริการที่หลากหลาย ผู้บริหารห้องสมุดต้องมีวิสัยทัศน์ในการปรับปรุงพื้นที่ห้องสมุด รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานต้องปรับตัวเองให้ทันกับความคิดในโลกยุคดิจิทัล เพื่อการเรียนรู้ในอนาคต หมวดหมู่ Z665 ค431 2558

รายการอ้างอิง

วัฒนชัย วินิจจะกูล. (บรรณาธิการ). (2558). คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (องค์การมหาชน).

Top 10 Strategic Technology Trends 2016
ม.ค. 25th, 2016 by supaporn

Gartner ได้ชี้ว่า 10 เทคโนโลยีที่มีแนวโน้มในปี 2016 นั้นมีดังนี้ค่ะ

Top 10 Strategic Technology Trends 2016

Top 10 Strategic Technology Trends 2016

ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.gartner.com/newsroom/id/3143521 หรือดู slideshare  ได้ที่ http://www.slideshare.net/denisreimer/gartner-top-10-strategic-technology-trends-2016

รายการอ้างอิง

Gartner. 2015. Gartner Identifies the Top 10 Strategic technology Trends for 2016. Retrieved 25 January 2016  from http://www.gartner.com/newsroom/id/3143521

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa