SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การนำประสบการณ์ผู้ใช้ หรือ User Experience (UX) มาใช้ในห้องสมุด
เม.ย. 28th, 2021 by supaporn

แอนดี้ พรีสต์เนอร์ (Andy Priestner) ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและวิจัยประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (UX) สหราชอาณาจักร ได้บรรยายในหัวข้อ Libraries Are for Users: the Value and Application of UX Research and Design ในงาน TKForum 2021 หัวข้อเรื่อง “Library and Public Space for Learning” ในวันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน 2564  จัดโดย TK Park อุทยานการเรียนรู้

วิทยากร เน้นว่า ห้องสมุดมีไว้เพื่อผู้ใช้งาน แต่เดิมมักคิดที่จะสร้างหรือพัฒนาห้องสมุดจากมุมมองของผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ละเลยการให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุด  และได้เสนอสิ่งที่ควรหยุดทำ และเริ่มทำ ได้แก่

หยุดทำ (Stop)

เริ่มทำ (Start)

1. ควรหยุดเดาว่าผู้ใช้ต้องการอะไร (speculating) 1. สื่อสารกับผู้ใช้ (Communicating with users)
2. ควรหยุดการประชุมที่ไม่จบสิ้น (holding endless meetings) 2. ลองค้นคว้าไปกับผู้ใช้ (Researching with users)
3. ควรหยุดทำสิ่งที่คิดเอาเอง สิ่งที่ห้องสมุดชอบ สิ่งที่อยากเห็นในห้องสมุด (Futher private and personal agendas) 3. ร่วมมือกับผู้ใช้ (Collaborating with users)
4. ควรหยุดออกแบบบริการโดยกันผู้ใช้งานออกไป (Devising services in isolation from users) 4. สร้างสิ่งต่างๆ ร่วมกัน (Co-creating with users) ให้ผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดค้นบริการต่างๆ ผ่านข้อมูล ผ่านไอเดีย หรือการมีปฏิสัมพันธ์กัน

เมื่อเก็บข้อมูลจากวิจัยผู้ใช้ ซึ่งมีหลากหลายวิธีแล้ว ต้องมีการจัดการต่อ โดย

1. การทำแผนที่จัดกลุ่มความคิด (Affinity Mapping) เป็นการถอดข้อมูลทุกอย่างที่ได้จากผู้ใช้งาน  แยกตามหมวดหมู่

2. การระดมไอเดีย (Idea Generation)  ระดมไอเดีย ควรมุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่พบ ควรเป็นไอเดียที่นำไปสู่วิธีการตอบสนองที่สร้างสรรค์ ไอเดียไหนที่คุ้มค่าที่จะสำรวจต่อไปก็ขึ้นเป็นต้นแบบ

3. การสร้างต้นแบบและการทำซ้ำ (Prototype & Iterate)  สร้างต้นแบบและทดลองการใช้กับผู้ใช้ ไม่มีทางสมบูรณ์แบบได้ตั้งแต่แรก ต้องทำซ้ำ ปรับใหม่ แล้วทดลองใหม่

การจัดการทรัพยากรสารสนเทศที่แจ้งหาย ศูนย์บรรณสารสนเทศ
มิ.ย. 19th, 2017 by kalyaraksa

ทรัพยากรสารสนเทศ ที่แจ้งหายคือ   ทรัพยากรสารสนเทศ ที่ผู้ใช้บริการ เช่น  อาจารย์  เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ทำหายระหว่างการยืม     ส่วนใหญ่เป็นหนังสือ เมื่อผู้ใช้ทำหายให้มาติดต่อเขียนแบบฟอร์มการแจ้งหายที่เคาน์เตอร์ ชั้น 1   งานบริการยืม – คืน  ซึ่งงานบริการยืม – คืน   จะมีแบบฟอร์มให้กรอกรายละเอียดของทรัพยากรสารสนเทศเล่มที่ได้ทำหาย    ถ้ายังไม่ถึงวันกำหนดส่ง     ก็จะไม่มีค่าปรับ

ในประกาศมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ 44/2536 ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2536  เรื่องการใช้ห้องสมุด   หมวด 8  หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ใช้ห้องสมุดและผู้ยืมทรัพยากรสารสนเทศ ข้อ 27 ผู้ยืมทรัพยากรสารสนเทศต้องรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(3) เมื่อมีการสูญหาย ผู้ยืมจะต้องชดใช้ทรัพยากรสารสนเทศนั้นเป็นการทดแทน ในกรณีที่เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่สามารถจะหาซื้อได้อีก  หรือไม่ทราบราคา และผู้ยืมไม่สามารถจะหามาแทนได้  ผู้ยืมจะต้องชดใช้เป็นจำนวนเงินตามที่ศูนย์บรรณสารสนเทศเห็นสมควร

ในปัจจุบันได้กำหนดค่าปรับเกินกำหนดส่งวันละ 5 บาทต่อเล่ม และค่าปรับสูงสุดอยู่ที่จำนวนเงิน 300 บาท    หากผู้ใช้มาแจ้งการทำทรัพยากรสารสนเทศสูญหาย ก็จะคิดค่าปรับตามจำนวนวัน และเป็นจำนวนเงินดังกล่าว    พร้อมด้วยค่าดำเนินการในการจัดทำอีก เล่มละ 50 บาท   หลังจากการกรอกแบบฟอร์มการแจ้งหายแล้วจะให้เวลาผู้ใช้ในการหาซื้อ       หรือจัดทำเป็นเวลา  14   วัน โดยบุคลากรผู้ที่รับการแจ้งหายจะให้คำแนะนำการปฏิบัติ เช่น ให้ซื้อทรัพยากรสารสนเทศชื่อเดียวกัน แต่เป็นปีพิมพ์ที่ทันสมัยกว่า หรือปีพิมพ์ล่าสุด ราคาไม่น้อยกว่าเล่มที่สูญหาย กรณีหาซื้อไม่ได้ให้ไปถ่ายสำเนาทรัพยากรสารสนเทศ ชื่อเดียวกันมาดำเนินการจัดทำรูปเล่มให้เรียบร้อย นำมาทดแทน หรือเมื่อตรวจสอบฐานข้อมูลแล้วยังมีทรัพยากรสารเทศ เนื้อหาเดียวกันแต่เป็นคนละชื่อเรื่อง ก็สามารถซื้อมาทดแทนได้เช่นกัน

เมื่อกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มและรับทรัพยากรสารสนเทศแล้ว งานบริการสารสนเทศจะนำส่งใบสำเนาการแจ้งหาย  (สีเหลือง)     พร้อมทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้ซื้อมาทดแทน     ส่งที่แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  เพื่อดำเนินการทำข้อมูลประวัติสิ่งพิมพ์ที่แจ้งหาย โดยบรรณารักษ์ที่ได้รับมอบหมายทำการวิเคราะห์หมวดหมู่ และทำข้อมูลทดแทนหรือข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศระเบียนใหม่เข้าในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ    และติดสัน ประทับตราให้เรียบร้อย  เพื่อนำส่งแผนกบริการสารสนเทศต่อไป

หนังสือ 2หนังสือ 1

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa