SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
รายงานวิจัยอาเซียน ศูนย์อาเซียนศึกษา มธ.
ก.ย. 13th, 2016 by supaporn

งานวิจัยอาเซียนของศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

งานวิจัยอาเซียนของศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำรายงานการวิจัยเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 3 เรื่อง ได้แก่

  • รายงานสรุป ผลการดำเนินงาน โครงการขับเคลื่อนภาครัฐในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
  • รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2557-2559
  • รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาผลกระทบทางสังคม ที่เกิดจากการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน

ตัวเล่มเข้ามาที่ ศูนย์บรรณสารฯ แล้วค่ะ หรือถ้าต้องการอ่านฉบับออนไลน์ ติดตามอ่านได้ที่ www.castu.org ค่ะ

สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
มิ.ย. 21st, 2016 by sirinun

สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

“สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หนังสือเล่มนี้เนื้อหาแบ่งออกเป็น 7 บท โดยในบทที่ 1 เป็นการเกริ่นนำประเด็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทยกับการก้าวสู่นโยบายการเปิดเสรี ภาพนโยบายการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภาพรวมของสัตว์น้ำที่นิยมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภาพรวมของสัตว์น้ำที่นิยมเพาะเลี้ยงในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ในบทที่ 2 ได้กล่าวถึงสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในภาพรวมของอาเซียน และอธิบายถึงรายละเอียดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของทั้ง 10 ประเทศสมาชิก จากนั้น การค้าสินค้าสัตว์น้ำและศักยภาพการส่งออกจะกล่าวไว้ในบทที่ 3 ส่วนบทที่ 4-6 จะเป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกของประเทศไทย ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในน้ำกร่อย ในทะเล และในน้ำจืด บทสุดท้ายจะเป็นการวิเคราะห์โอกาสในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย แยกรายละเอียดของสัตว์น้ำในแต่ละชนิด มีประโยชน์ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรไทย หมวดหมู่ SH135 ส179 2558

รายการอ้างอิง

เรืองไร โตกฤษณะ  และคนอื่นๆ. (2558). สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพฯ : สถาบันคลังสมองของชาติ  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เปิดตู้กับข้าวอาเซียน
ก.พ. 3rd, 2016 by sirinun

40 เมนูอาหารสุดฮิต

40 เมนูอาหารสุดฮิต

มาเปิดตู้กับข้าวชาวอาเซียน เรียนรู้อาหารจานโปรดทั้ง 10 ชาติ รู้จักวัฒนธรรมการกิน วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น อิ่มกับอาหารสมอง เพื่อเตรียมพร้องก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เช่น อาหารกัมพูชา, อาหารไทย, อาหารบรูไน, อาหารฟิลิปปินส์, ฯลฯ รวมทั้งรู้จักกับเครื่องเทศของอาเซียน ชวนชิมอาหารอาเซียน ผู้อ่านที่สนใจการทำอาหาร หาอ่านได้ที่ห้องสมุด https://lib-km.hcu.ac.th/ หมวด TX724.5.A1อ259บ 2556

รายการอ้างอิง

อภิรดี มิโดมารุ และ ธารินี เหลืองอารีพร. (2556). เปิดตู้กับข้าวอาเซียน. กรุงเทพฯ : พาส เอ็นดูเคชั่น.

สนุกกับภาษาเขมร : ภาษาร่วมรากภาษาไทย
ก.พ. 2nd, 2016 by sirinun

20130903113500_4929

สนุกกับภาษาเขมร

ภาษาเขมรเป็นภาษาเก่าแก่ที่เคยใช้อย่างแพร่หลายในอุษาคเนย์ มีคำในภาษาไทย  จำนวนมากหยิบยืมมาจากภาษาเขมรทั้ง  อักษรขอมโบราณยังส่งผลต่อรูปแบบอักษร  ไทยก่อนพัฒนามาสู่ปัจจุบัน หนังสือ “สนุกกับภาษาเขมร ภาษาร่วมกับรากภาษาไทย” จึงเป็นหนังสือที่สนุกกับคำศัพท์ง่าย ๆ อาทิ คำทักทาย คำเรียกเครือญาติ อวัยวะ อาหาร ข้าวของเครื่องใช้ ดอกไม้ สัตว์ ยานพาหนะ ดินฟ้าอากาศ ไปจนถึงสำนวน-สุภาษิต และเพลงชาติ

รายการอ้างอิง
พลอย แสงลอย. (2556). สนุกกับภาษาเขมร : ภาษาร่วมรากภาษาไทย. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์.

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa