SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
บทบาทงานจดหมายเหตุในกระแส Big Data และสังคมแห่งการเรียนรู้ 
ต.ค. 8th, 2019 by namfon

จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ หัวข้อเรื่อง บทบาทงานจดหมายเหตุในกระแส Big Data และสังคมแห่งการเรียนรู้ ณ ห้องประชุม ชั้น 5 ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 8-9 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เวลา 08.30-16.30 น. รวมระยะเวลา 2 วัน จัดโดยสมาคมจดหมายเหตุไทยร่วมกับหอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ  สามารถสรุปผลที่ได้รับจากการประชุมวิชาการในครั้งนี้ ดังนี้

 

1.ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง สารสนเทศ : รากฐานของความรู้และการพัฒนา (โดย ดร. เตช บุนนาค)

พ.ศ. 2509-2510 การจดหมายเหตุไทยยังไม่เจริญเหมือนในปัจจุบัน เริ่มไปค้นหาเอกสารจดหมายเหตุที่ตึกถาวรวัตถุ กระทรวงมหาดไทย เอกสารเกี่ยวกับกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  การเก็บเอกสารยังไม่เป็นระบบ ยังไม่มีห้องบริการค้นคว้า เอกสารกระจัดกระจายและมีฝุ่นหนามาก แต่เจ้าหน้าที่ก็ทำงานกันอย่างเต็มที่

พ.ศ. 2512 รับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ เป็นเวลา 35 ปี ได้เสนอให้กระทรวงการต่างประเทศ  นำเอกสารไปเก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ  เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญ ตัวอย่างเช่น แผนที่แม่น้ำโขง การแบ่งดินแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส หรือจดหมายขอความร่วมมือเวียดนาม-ไทย  หลังเกษียณจากกระทรวงการต่างประเทศ ในหลวงรัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ ให้ไปทำเอกสารจดหมายเหตุสำนักราชเลขาธิการ เกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ศาลายา เป็นงานจดหมายเหตุที่ภาคภูมิใจมาก

หอจดหมายเหตุเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ได้มีโอกาสไปทำงานที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ ตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงปัจจุบัน  เก็บเอกสารไว้เป็นอย่างดี   สมัยก่อนเขียนบนแผ่นศิลาจารึก ทำให้รู้ประวัติศาสตร์จากศิลาจารึก ปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างมาก  การดิจิทัลเป็นการอนุรักษ์เอกสาร ในขณะเดียวกัน  ยังใช้เอกสารแบบเก่าๆ อยู่บ้าง เช่น ไมโครฟิล์ม เพื่อจะได้รักษาเอกสารให้คงอยู่ได้นานๆ  ปัจจุบันมีจัดตั้ง
หอจดหมายเหตุ เช่น หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า และหอจดหมายท่านพุทธทาส อินทปัญโญ เป็นต้น Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa