ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบรรยากาศภายในอาคารให้เกิดความรู้สึกสบาย ผ่อนคลายมากขึ้น และพยายามสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการ เห็นหนังสือที่น่าสนใจ ที่เข้ามาใหม่ๆ อยู่เสมอ ๆ โดยการทำกิจกรรม Link หนังสือโดนใจ เพื่อติด QR Code แนะนำหนังสือตามชั้นหนังสือ แต่ได้เพิ่มความน่าสนใจ สะดุดตา โดยการนำเหล็กกั้นที่ชั้นหนังสือ มาทดลองดัดแปลงเพื่อให้เกิดประโยชน์ จากเหล็กกั้นหนังสือธรรมดา สามารถนำมาเป็นที่จัดแสดงหนังสือในมุมมองที่แปลกตาขึ้นจากเดิม โดยการปรับเปลี่ยน ดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ ก็จะได้รูปลักษณ์ใหม่ๆ ที่ดูน่าสนใจมากขึ้น
ขั้นตอนการดัดเหล็กกั้นหนังสือ มีดังนี้
1. จากเหล็กกั้นหนังสือแบบดั้งเดิม ดังภาพ
Read the rest of this entry »
แผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีแนวคิดเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ใช้หนังสืออย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น โดยนำหนังสือที่จัดซื้อในปีที่ผ่านมาลงมาจัดแสดงที่มุมเพาะชำความรู้ มุมเพาะชำนักอ่าน หรือมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เก๋ คือ Something nice to you ซึ่งหมายถึง น่าจะมีหนังสือ ซัก 1 เล่ม ที่คุณชอบ บริเวณโถงกลาง ด้านหน้าศูนย์บรรณสารฯ
มีการจัดกิจกรรมดังกล่าวมาประมาณ 2-3 ปี ผู้บริหาร จึงได้มีการหารือเพื่อให้หนังสือที่นำมาจัดแสดงน่าสนใจ มากขึ้น ผู้เขียนและทีมงาน จึงได้มีการปรับปรุงการนำหนังสือมาจัดแสดง ซึ่งเดิมพิจารณากันเอง อาจจะมีเปะปะ จึงวางแผนการจัดแสดงหนังสือทั้งปี แบ่งการจัดเป็น Theme ต่างๆ ใช้ระยะเวลาจัดแสดง Theme ละ 2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย ตามตารางด้านล่าง
ตารางกิจกรรมการจัดหนังสือมุมเพาะชำความรู้ มุมเพาะชำนักอ่าน
จากการจัดแสดงหนังสือเป็น Theme เป็นระยะเวลาหนึ่ง ไดัรับความสนใจจากผู้ใช้บริการที่เดินผ่านบริเวณ โถงศูนย์บรรณสารฯ ได้แวะชมและหยิบยืมหนังสือเพิ่มขึ้น นับเป็นการกระตุ้นการใช้หนังสือให้คุ้มค่ามากขึ้น ทั้งยังได้เพิ่มยอดการยืมหนังสืออีกทางหนึ่ง โดยที่ผู้ใช้บริการไม่ต้องเสียเวลาขึ้นไปหาหนังสือบนชั้นต่างๆ จากภาพจัดแสดงหนังสือตาม Theme ต่างๆ รวมทั้งเทศกาลและวันสำคัญ ดังนี้ (ทั้งนี้ Theme อาจจะมีการปรับเปลี่ยนได้ตามภาวะการณ์หรือมีกระแสเกิดขึ้้นในสังคม)
QR Code Link หนังสือโดนใจ เป็นอีกหนึ่งบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่เข้ากับยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากมายในชีวิตประจำวัน เมื่อพูดถึง QR Code คงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะปัจจุบันนี้เมื่อเดินไปที่ไหน ๆ มักจะเห็นกันแทบทุก ๆ พื้นที่รอบ ๆ ตัวเรา อย่างเช่น ตามป้ายโฆษณา ร้านค้า ธนาคาร แม้แต่การอบรม สัมมนา ฯลฯ การใช้ QR code เป็นสีสันของการประชาสัมพันธ์ หรือการให้ข้อมูลที่สะดวกมากขึ้น ให้เข้าถึงรายละเอียดของข้อมูลได้ทันที ที่ สแกน QR code
ศูนย์บรรณสารสนเทศเล็งเห็นถึงประโยชน์ในการนำ QR Code มาใช้กับหนังสือ เพื่อนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการ เช่น แนะนำเรื่องย่อของหนังสือแต่ละเล่ม เพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจในการเลือกหยิบหนังสือเล่มนั้น ๆ มายืมเพื่อกลับไปอ่านที่บ้าน
ขั้นตอนการทำ QR Code มีดังนี้
1.ค้นหาหนังสือจากศูนย์บรรณสารสนเทศที่น่าสนใจ
2. นำรายชื่อหนังสือที่ต้องการค้นหา มาสืบค้นเพื่อหาลิงค์ นำมาทำ QR Code ส่วนใหญ่แหล่งข้อมูลที่ได้มาจากเว็บไซต์ หรือบทคัดย่อที่ได้จากเว็บไซต์ของร้านหนังสือ เช่น SE-ED , B2S หรือ นายอินทร์ Read the rest of this entry »
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในยุคปัจจุบันมีรูปแบบการนำเสนอที่เปลี่ยนไป รวมทั้งการแนะนำหนังสือ ต้องมีความน่าสนใจ สั้น กะทัดรัดและไม่ใช้เวลาในการอ่านนานเกินไป ผู้เขียนได้รับความกรุณาจากผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และคุณทศพล ศิลาศาสตร์ นักเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนกทรัพยากรการเรียนสารสนเทศ แนะนำการใช้โปรแกรม PowerPoint และการใส่ดนตรีประกอบการนำเสนอ การแปลงไฟล์ข้อมูลเป็นวีดิโอ ตลอดจนเนื้อหาที่จะใส่ในวีดีโอ ซึ่งมีขึ้นตอนในการนำเสนอแบบง่ายๆ ดังนี้
วิธีทำมีดังนี้
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ขอแนะนำมุมหนังสือที่น่าสนใจอีกมุมหนึ่ง คือ มุมหนังสือ Just returned จัดให้บริการบริเวณเคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 1 ศูนย์บรรณสารสนเทศ เนื่องจากในแต่ละวันมีผู้ใช้บริการนำหนังสือมาคืน แล้วต้องคัดแยกส่งเก็บตามชั้นต่างๆ ทุกวัน ช่วงเวลา 16.00 น. ดังนั้น จึงได้มีแนวความคิดในการนำหนังสือที่เพิ่งคืนมาจัดแสดงอีกครั้ง เนื่องจากเห็นว่า น่าจะเป็นที่สนใจว่า ใครยืมหนังสืออะไรไปอ่านกันบ้าง ผู้ใช้ที่เรียนในสาขาวิชาเดียวกัน หรือผู้ที่สนใจในเรื่องทำนองเดียวกัน จะได้มีไอเดียในการอ่านหนังสือ เมื่อเห็นการจัดแสดงหนังสือที่เพิ่งมาคืน เหมือนเป็นการแนะนำหนังสือโดยผู้อ่านคนอื่นที่มีสไตล์การอ่านแบบเดียวกัน
บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงเลือกหนังสือที่คืนบางส่วนในแต่ละวัน โดยเลือกหนังสือที่มีเนื้อหาทั่วไปเบาๆ ไม่เชิงวิชาการมากนัก เน้นเล่มใหม่ๆ เช่น หนังสือทางด้านดูแลสุขภาพ ทางด้านภาษาที่น่ารู้ นวนิยาย เป็นต้น นำมาจัดแสดงให้เห็นว่ามีหนังสืออะไรที่เพิ่งมาคืน น่าจะเป็นที่สนใจแก่ผู้อ่านคนอื่น ๆ บ้าง โดยไม่ต้องขึ้นไปเสาะแสวงหา การจัดมุมหนังสือ Just returned เป็นที่สนใจแก่ผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก ทำให้หนังสือเหล่านี้มีการหมุนเวียนถูกหยิบยืมอีก และยังได้เพิ่มการจัดทำ QR CODE เพื่อ Scan ดูเนื้อหาของหนังสือบางเล่ม อีกด้วย Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้จัดอันดับหนังสือ 10 อันดับหนังสือที่มีการยืมมากที่สุดประจำปีการศึกษา 2561 นี้ มาดูกันครับว่ามีหนังสือเล่มใดกันบ้างและหากสนใจอ่านสามารถมาอ่านได้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ นะครับ
สถิติจำนวนการใช้หนังสือกับงาน High Use Circulation Titles Summary Report ใน WMS
สถิติการยืมเหล่านี้ มาจากฟังก์ชั่นงานที่ OCLC ได้จัดทำสถิติในระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) เพื่อรายงานสถิติเกี่ยวกับการใช้หนังสือที่น่าสนใจดังนี้ Items Checked Out/ Items Renewed/Items Soft Checked Out และสรุปผลรวมการใช้หนังสือสามารถเข้าถึงได้โดยเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ High Use Circulation Titles Summary Report
ห้องสมุด ควรจะได้มีการนำสถิติเหล่านี้ มาใช้ประโยชน์ในโอกาสต่างๆ เช่น การจัดแสดงหนังสือ ตามประเภทที่ถูกใช้มากที่สุด หรือ หนังสือยอดฮิต หรือหนังสือที่มีการยืมน้อย
เครื่อง HP Scanjet Autometic Document Feeder
ศูนย์บรรณสารสนเทศได้จัดแสดงแนะนำหนังสือใหม่ เพื่อส่งเสริมการอ่าน มีการจัดแสดงหนังสือแนะนำทุกเดือนที่บริเวณ ชั้น 1 และประชาชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ เช่น Facebook ของศูนย์บรรณสารสนเทศ
ผู้เขียนมีหน้าที่ในการแนะนำหนังสือผ่าน FB ด้วย เริ่มตั้งแต่การสแกนหน้าปกของหนังสือ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
เปิดเครื่อง HP Scanjet Autometic Document Feeder ขึ้นคำว่า Ready ก่อนจึงจะสแกนหนังสือได้
นำหนังสือที่ต้องการจะสแกน กลับหน้าปกวางลงบนเครื่องสแกน
ปิดฝาเครื่องสแกนให้เรียบร้อย
สแกนหนังสือโดยโปรแกรม NAPS2
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นมา ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้มีนโยบายการให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นการให้บริการเชิงรุก เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 โดยให้แนวคิดเรื่องการแนะนำหนังสือ ให้เกิดการหมุนเวียนการใช้หนังสือให้มากที่สุด และเพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับผู้ใช้บริการ ซึ่งผลจากการจัดแนะนำหนังสือ พบว่าผู้ใช้มีความสนใจ พึงพอใจ และหนังสือมีการยืมมากขึ้น ผู้เขียนในฐานะผู้รับผิดชอบการแนะนำหนังสือคนหนึ่ง จึงขอสรุปขั้นตอนการจัดทำหนังสือแนะนำ ของแผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ดังนี้
หนังสือแนะนำ
การทำกิจกรรมแนะนำหนังสือนี้ ทำให้บุคลากรในงานบริการสารสนเทศ ได้ประโยชน์ ดังนี้