SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
อ่านถูกต้อง…ปกป้องสุขภาพ
มี.ค. 26th, 2018 by suwanna

อ่านถูกต้อง…ปกป้องสุขภาพ

สำหรับเวลาพักผ่อนหรือช่วงเวลาว่าง ๆ ของหลาย ๆ คนนั้น เชื่อว่าบางคนชอบเอาเวลาในช่วงนี้ไปหาอะไร  ๆ มาอ่าน มาดูเพลิน ๆ ไปตามเรื่องมากกว่าการออกไปเที่ยวช้อปปิ้ง (Shopping) หรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ ส่วนใหญ่การอ่านหรือการดูเหมือนจะใกล้เคียงกันมาก บางอย่างอาจดูได้อย่างเดียว เช่น ดูเพื่อให้เกิดความบันเทิง, ดูเพื่อให้ได้รับรู้ข่าวสาร แต่บางอย่างเมื่อดูแล้วก็ต้องอ่านไปด้วยจึงจะได้รับความรู้และความบันเทิง หรือที่เรียกว่าเกิด “อรรถรสในการอ่าน” อย่างนี้เป็นต้น ทราบกันหรือไม่ว่า หากเรารู้จักอ่านอย่างถูกต้องก็จะช่วยปกป้องสุขภาพของเราไปด้วยค่ะ

อ่านอย่างไร? เรียกว่า อ่านถูกต้อง

พฤติกรรมการอ่าน, ความเหมาะสมของท่าทางการอ่าน

การอ่านที่ถูกต้อง ควรนั่งหลังตรง ไม่เกร็งเกินไป เลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิงและเท้าแขนให้เหมาะสมกับร่างกาย นั่งแล้วรู้สึกสบายในการถือหนังสืออ่าน มีความผ่อนคลายได้ดี ควรถือหนังสือในระดับที่ห่างจากสายตาไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร และหนังสือควรอยู่ในแนวตั้ง ทำมุมประมาณ 40-80 องศากับโต๊ะ หรือตามลักษณะทางกายภาพของผู้อ่าน ซึ่งในลักษณะเช่นนี้จะทำให้อ่านหนังสือได้สบายตาที่สุด ไม่ปวดเมื่อยร่างกาย ทำให้อ่านได้นานและดีต่อสุขภาพ

 

สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการอ่าน

  • สถานที่และบรรยากาศการอ่าน

การอ่านเพื่อให้มีความสุข ควรอ่านในมุมที่เราชอบ มุมที่เรารู้สึกผ่อนคลายมากที่สุด  เป็นมุมที่เงียบสงบ อากาศปลอดโปร่งถ่ายเทสะดวก เป็นห้องอ่านหนังสือแบบชิล ๆ  ภายในห้องควรมีหน้าต่างที่สามารถเปิดรับแสง รับลม มีบรรยากาศที่สดชื่นโอบล้อมกับธรรมชาติได้ดี ไม่ควรอ่านในขณะที่เราเคลื่อนไหว เช่น การเดิน การอ่านบนรถขณะที่รถกำลังวิ่ง หรืออ่านในสถานที่ที่มีความพลุกพล่าน หรือมีเสียงดังรบกวนมาก ซึ่งจะทำให้ขาดสมาธิในการอ่านได้

  • แสงสว่าง

แสงสว่างที่ควรใช้ในการอ่าน ควรเป็นแสงธรรมชาติที่อ่านแล้วทำให้เราเห็นได้ชัดเจน สบายตา ไม่ควรใช้แสงที่สว่างจ้าเกินไป หรือมืดเกินไป  แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้แสงจากหลอดไฟฟ้า ควรใช้หลอดไฟที่มีแสงแบบ Continuous Spectrum เหมือนแสงอาทิตย์ธรรมชาติ เพื่อให้ได้แสงสว่างอย่างต่อเนื่อง ไม่กระพริบ เช่น หลอดตะเกียบ หรือหลอด LED

 

ความเหมาะสมของตัวอักษร

อักษรที่ใช้ในการพิมพ์หนังสือในปัจจุบันมีขนาดที่แตกต่างกัน การใช้อักษรที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่จนเกินไป จะเป็นปัญหาต่อระบบการอ่าน คือ เล็กมากเกินก็จะทำให้อ่านยาก ใหญ่เกินไปจะทำให้สายตาไม่สามารถจับโฟกัสได้ชัดเจน ทำให้อ่านไม่รู้เรื่อง ฉะนั้นขนาดอักษรที่ถูกต้องและเหมาะสมกับการอ่านมากที่สุดคือ ขนาดอักษรไม่ควรเล็กกว่า 14 พอยต์ (Point)

หมึกพิมพ์หรือสีของตัวหนังสือ

ในปัจจุบัน เราจะเห็นว่า หมึกที่ใช้ในการพิมพ์มีหลากสี สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการขึ้นอยู่กับผู้พิมพ์ว่าเขาต้องการจะสื่อหรือเน้นอะไร แต่ส่วนมากแล้วตัวหนังสือที่ใช้ในการพิมพ์ มักจะใช้หมึกสีเข้ม เช่น สีดำ เพื่อให้ตัวอักษรลอยเด่นจากพื้นกระดาษ จะทำให้อ่านได้ง่ายขึ้น หรือสังเกตแบบง่าย ๆ คือ ตัวหนังสือที่เราใช้อ่านควรจะเป็นสีเข้มกว่าพื้นหลังนั่นเอง

กระดาษพิมพ์

โดยทั่วไปกระดาษพิมพ์ มักจะนิยมพิมพ์บนกระดาษสีพื้น ซึ่งสีที่เหมาะสมที่สุด ควรเป็นสีตุ่น ๆ สักหน่อย เช่น สีขาวนวล ๆ หรือสีอ่อน ๆ ซึ่งเป็นสีที่มีการสะท้อนแสงน้อย เพื่อเป็นการถนอมสายตาเวลาอ่าน

ขนาดรูปเล่ม

ลักษณะของขนาดรูปเล่มหนังสือ หรือวัตถุที่เราจะอ่าน ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับการหยิบจับได้ถนัดมือ ไม่ควรมีขนาดเล็กหรือใหญ่จนเกินไป เพราะจะทำให้ขาดความสมดุลในการอ่าน หรือเสียบุคลิกในการอ่านได้

สุดท้ายนี้ขอฝากบรรดานักอ่านหรือผู้ที่รักการอ่านทั้งหลาย ถ้าจะอ่านอย่างมีความสุข สนุกไปกับการอ่านทุกครั้งต้องดูแลรักษาสุขภาพของตนเองด้วนนะคะ…

แหล่งที่มา :

อ่านสร้างสุข
มี.ค. 30th, 2016 by sirinun

อ่านสร้างสุข

อ่านสร้างสุข

“การอ่านสร้างสุข” เป็นหนังสือที่นำเรื่องราวมหัศจรรย์ของสมองและการอ่าน รวมทั้งการบ่มเพาะนิสัยรักการอ่านด้วยเทคนิควิธีการอ่านง่ายๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมการอ่านมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการผลิต และเผยแพร่กระจายหนังสือที่มีคุณภาพ มีเนื้อหาสอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และพัฒนาการเด็ก รวมถึงราคาที่เหมาะสม สนับสนุนกิจกรรมการอ่านและวัฒนธรมการอ่านให้เข้าถึงกลุ่มคนที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงหนังสือภาพ สื่อสร้างสรรค์พัฒนาสมองของเด็กในสังคมไทย หมวดหมู่  LB1140.5.R4 ห149 2558

รายการอ้างอิง

อ่านสร้างสุข. (2558). สุดใจ พรหมเกิด, บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน.

อ่านสนุกปลุกสำนึก เล่ม 6
ก.พ. 17th, 2016 by sirinun

อ่านสนุกปลุกสำนึก เล่ม 6

อ่านสนุกปลุกสำนึก เล่ม 6

หนังสือเล่มนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้อ่าน มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พิทักษ์ภาษาไทย เนื่องจากสภาวะปัจจุบัน ภาษาไทยได้รับผลกระทบจากสื่อหลากหลายรูปแบบ  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คนไทยทุกคนจะต้องร่วมปลูกจิตสำนึกในการดูแลรักษาการใช้ภาษาไทย เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไปสู่รุ่นลูก หลาน ของเราต่อไป  หมวดหมู่ PL4163.T5 อ499อ 2558

รายการอ้างอิง

อัจฉรา ชีวพันธ์. (2558). อ่านสนุกปลุกสำนึก. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ก.พ. 4th, 2016 by dussa

ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งยุคสมัยเปลี่ยนก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย และการก้าวสู่ยุคสมัยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นรูปการณ์หลักก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อโลกใบนี้ทุกด้าน ไม่เว้นแม้แต่การดำรงอยู่ของห้องสมุดทั้ง ๆ ที่เป็นคลังความรู้ของมนุษยชาติมายาวนานก็ยังไม่อาจต้านความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากกระจายตัวของข้อมูลความรู้ และพฤติกรรมของผู้คนในการเข้าถึงหรือสแสวงหาข้อมูลความรู้ ห้องสมุดเราจึงต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง มิฉะนั้นเราอาจล้าหลังไม่ทันกับโลกในทศวรรษที่ 21 ดังนั้น หนังสือ “คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”  เล่มนี้จึงนำเสนอเนื้อหาในหลายมิติ เช่น

  • อนาคตห้องสมุด : องค์ความรู้  ประกอบด้วย ความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านห้องสมุด จากองค์กรเน้นคลังหนังสือ และข้อมูลไปสู่องคกรที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง ฯลฯ
  • กระบวนทัศน์ใหม่ : ปรากฎการณ์  ตามไปดู 4 จังหวัดขับเคลื่อนการอ่าน องค์ความณุ้จากระบวนการทำงานเชิงพื้นที่ ฯลฯ
  • ห้องสมุดอนาคต : กรณีศึกษา , ห้องสมุดแนวใหม่ก้าวข้ามแหล่งให้บริการยืมคืนหนังสือ ฯลฯนับว่าเป็นหนังสือที่น่าสนใจในการแสวงหาความรู้เพื่อต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง สามารถอ่านตัวเล่มได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ นะคะ เลขหมู่ Z665 ค431 2558

2046

รายการอ้างอิง
คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (2558). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้.

 

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa