การพยาบาลพื้นฐาน : หลักการและแนวคิด
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงหลักการและแนวคิดในการพยาบาลที่เน้นการดูแลผู้ป่วยขั้นพื้นฐาน อย่างครอบคลุมมิติร่างกาย และจิตวิญญาณ โดยใช้กระบวนการพยาบาลมาเป็นกรอบแนวคิด เพื่อเชื่อมต่อความรู้โดยยึดหลักวิทยาศาสตร์ในการดูแล ยังสามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าและอ้างอิงในการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลพื้นฐานสำหรับนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต และบุคลากรทีมสาธารณสุข หมวดหมู่ WY100 ก492 2558
รายการอ้างอิง
นิตยา สมบัติแก้ว และเดือนทิพย์ เขษมโอภาส. (2558). การพยาบาลพื้นฐาน : หลักการและแนวคิด. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการพยาบาลพื้นฐานและบริหารการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย.
พยาบาลนำการจัดการภาวะน้ำหนักเกิน
การจัดการภาวะน้ำหนักเกิน เป็นบทบาทของพยาบาลในด้านการส่งเสริมป้องกัน ที่ได้มีการบูรณาการในการเรียนการสอน และการวิจัยในระดับอุดมศึกษา การให้บริการประชาชน ในเรื่องการจัดการและควบคุมภาวะน้ำหนักเกินนั้น แบ่งเป็นสองกรณี คือ ประชาชนที่มีน้ำหนักเกิดและยังไม่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อหรือเรียกว่า กลุ่มโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง และโรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ การจัดการภาวะน้ำหนักเกิน ไม่ใช่เป็นทัศนคติ ความเชื่อ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ซึ่งพยาบาลได้มีการดูแลภาวะน้ำหนักเกินมาอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามปัญหาของภาวะน้ำหนักเกินก็มีปริมาณและความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ หนังสือเล่มนี้มีประโยชน์สำหรับใช้ประกอบการเรียนการสอน การให้บริการ และการวิจัย สำหรับนักศึกษาในสาขาพยาบาลและสาขาสุขภาพอื่นๆ ทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา เป็นแหล่งค้นคว้าสำหรับบุคลากรที่มีบทบาทในการส่งเสริม ป้องกัน และจัดการกับปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักเกิน หมวดหมู่ WS16 พ219 2559
ศิริอร สินธุ, ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง และฐิติพงษ์ ตันคำปวน.(บรรณาธิการ). (2559). พยาบาลนำการจัดการภาวะน้ำหนักเกิน (Nurse led in overweight management). นนทบุรี : สภาการพยาบาล.
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน
“การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน” หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับโรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ และการจัดการรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวาน พร้อมทั้งยกสถานการณ์ตัวอย่างการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์และหลังคลอด มีประโยชน์สำหรับนักศึกษาพยาบาล พยาบาลวิชาชีพ บุคลากรสาธารณสุข สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษา การจัดการเรียนแรสอน และการให้บริการสุขภาพได้มีประสิทธิภาพในการรักษา ซึ่งมีผลต่อการลดภาวะความเสี่ยงต่อสุขภาพ และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในสตรีมีครรภ์ และทารกได้ หมวดหมู่ WQ248 ส816ส 2559
สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ. (2559). การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน (Nursing care of pregnant women with diabetes mellitus). กรุงเทพฯ : ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
การรักษาแผลกดทับสำหรับพยาบาล
การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือผู้ป่วยพิการที่ต้องนอนอยู่ที่เตียงตลอดเวลา ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายหรือลุกออกจากเตียงได้ เกิดภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยและมักจะเกิดมาตามหลังจากที่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเหล่านี้ไม่สามารถพลิกตะแคงตัวเองหรือทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองก็คือ แผลกดทับ ดังนั้นพยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยนั่นเอง ซึ่งควรมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของการป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับขึ้น และเมื่อเกิดแผลกดทับขึ้นแล้วก็สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเมื่อเกิดแผลกดทับขึ้นได้ย่อมส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัว ผู้ดูแล เสียค่าใช้จ่าย หรือหากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดติดเชื้อลุกลามไปถึงกระดูดและทั่วร่างกายจนถึงแก่ชีวิตได้ หนังสือเล่มนี้จะช่วยทำให้ผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้เรื่องของแผลกดทับมากยิ่งขึ้น ทั้งความหมาย อุบัติการณ์ กลไกการเกิดแผลกดทับ วัสดุปิดแผล และการพยาบาลผู้ป่วย ซึ่งสามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง และเพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักศึกษาพยาบาล บุคลากรทางด้านสุขภาพ ผู้ดูแลผู้ป่วยนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อไป หมวดหมู่ WY154.5 ข275ก 2559
ขวัญฤทัย พันธุ. (2559). การรักษาแผลกดทับสำหรับพยาบาล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ
“อันพวกเราเหล่านักเรียนพยาบาล ปณิธาน อนุกูล เพิ่มพูนผล เรียนวิชา กรุณา ช่วยปวงชน ผู้เจ็บไข้ ได้พ้น ทรมาน แม้โรคร้าย จะแพร่พิษถึงปลิดชีพ จะยึดหลักดวงประทีปคือสงสาร ยอมเหนื่อยยากตรากตรำใจสำราญ อุทิศงานเพื่อคนไข้ ทั้งใจกาย” จากเนื้อเพลงบางตอนของเพลง “นักเรียนพยาบาล” ทำให้ผู้อ่านได้รู้คุณค่าของการเป็นพยาบาลเป็นอย่างยิ่ง หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงพฤติกรรมของพยาบาลวิชาชีพที่ต้องยึดหลักจริยธรรมทางการพยาบาล มีความเมตตากรุณาต่อคนป่วย ให้สิทธิมนุษยชน สิทธิผู้ป่วย ฯลฯ ในการดูแลสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยท่ามกลางสภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในขณะนี้ มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อทั้งนักศึกษาพยาบาลและพยาบาลที่ปฏิบัติงานให้บริการการพยาบาลโดยทั่วไป ควรได้ศึกษาเพื่อเป็นคู่มือในการตัดสินใจแสดงพฤติกรรมจริยธรรมที่เหมาะสมในการประกอบอาชีพ หมวดหมู่ WY85 พ434 2558
อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม และสมใจ ศิระกมล. (บรรณาธิการ). (2558). พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ (Ethical behaviors of professional nurses) . เชียงใหม่ : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กฎหมายสุขภาพและการรักษาพยาบาล
หนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนเขียนในช่วงที่มีวิกฤติเกี่ยวกับปัญหาการฟ้องแพทย์และมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับงานสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอย่างไรบ้าง ตลอดจนมีสถานการณ์ในช่วยเริ่มต้นของการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข มีสารบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการรักษาพยาบาล และมีประโยชน์กับผู้ที่สนใจงานกฎหมายสุขภาพและการรักษาพยาบาล หมวดหมู่ W32JT3 ฉ236ก 2555
ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ.(2555). กฎหมายสุขภาพและการรักษาพยาบาล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.