SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การดูแลผู้สูงอายุผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยในระยะสุดท้ายในบริการปฐมภูมิ (Care for elderly, disabled, terminal-illness in primary care)
มี.ค. 27th, 2016 by sirinun

การดูแลผู้สูงอายุผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยในระยะสุดท้ายในบริการปฐมภูมิ

การดูแลผู้สูงอายุผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยในระยะสุดท้ายในบริการปฐมภูมิ

ผู้สูงอายุในประเทศไทย มีเพิ่มมากขึ้นจากจำนวนประชากรที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้ กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายเน้นการดูแลผู้ป่วยในกลุ่มหลักของประเทศไทยได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพึงพิง และกลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้ายขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น จำเป็นที่ต้องดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ด้วยการรักษาป้องกันโรค และทำกายภาพบำบัดและกายอุปกรณ์มาช่วยเสริมสร้างสุขภาพอย่างต่อเนื่องถูกวิธี หมวดหมู่ WT100 ก451 2558

รายการอ้างอิง

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะแพทยศาสตร์. ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน. (2558). การดูแลผู้สูงอายุผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยในระยะสุดท้ายในบริการปฐมภูมิ (Care for elderly, disabled, terminal-illness in primary care). สงขลา : ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ผู้สูงอายุในสังคมจีน: การจัดสวัสดิการต้นแบบการดูแลและกิจกรรมทางสังคม
ก.พ. 16th, 2016 by supaporn

การที่จีนเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก และมีแนวโน้มของประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ผู้วิจัย โดย ธีระ สินเดชารักษ์ และคณะ จึงศึกษา การดำเนินงานและกิจกรรมทางสังคมที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุจีนมีบทบาทในเชิงบวกในลักษณะใดบ้าง และมีปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมใดที่ช่วยผลักดันให้เกิดกิจกรรมทางสังคมดังกล่าวได้ เพื่อจะได้เห็นถึงจุดอ่อนจุดแข็งของการจัดกิจกรรมทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาปรับใช้ในสถานการณ์สังคมสูงอายุของประเทศไทย น่าจะสนใจทีเดียว เพราะสังคมผู้สูงอายุ เพิ่มมากขึ้นในทุกประเทศ

ผู้สูงอายุในสังคมจีน: การจัดสวัสดิการต้นแบบการดูแลและกิจกรรมทางสังคม

ผู้สูงอายุในสังคมจีน: การจัดสวัสดิการต้นแบบการดูแลและกิจกรรมทางสังคม

งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นงานวิจัยชิ้นที่ 2 ต่อจากงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาอุตสาหกรรมของจีนและการปรับตัวของชนบท: บทเรียนสำหรับประเทศไทย” เป็นส่วนหนึ่งในชุดโครงการวิจัย “จีนศึกษา” ที่มีวัตถุประสงค์สำคัญในการเรียนรู้จากประเทศจีนในมิติต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศไทยโดยอาศัยการถอดบทเรียนที่สำคัญจากประเทศจีน (คำนำ)

รายการอ้างอิง
ธีระ สินเดชารักษ์ และคณะ. (2558). ผู้สูงอายุในสังคมจีน: การจัดสวัสดิการต้นแบบการดูแลและกิจกรรมทางสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa