SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
แนวทางการเตรียมความพร้อมรองรับอุบัติภัยฉุกเฉินจากรังสี
มิ.ย. 28th, 2016 by sirinun

แนวทางการเตรียมความพร้อมรองรับอุบัติภัยฉุกเฉินจากรังสี

แนวทางการเตรียมความพร้อมรองรับอุบัติภัยฉุกเฉินจากรังสี

ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำสารรังสี เข้ามาใช้ในกิจกรรมต่างๆ อย่างหลากหลาย และเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์เพิ่มมากขึ้น เช่น การใช้รังสีทางการแพทย์ เพื่อการรักษาและวินิจฉัยโรค การใช้รังสีในกิจการอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาให้เกิดประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรม และการใช้รังสีในทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณ ชนิด และระยะเวลาที่ได้รับสัมผัสปริมาณรังสี หน่วยงานที่ใช้หรือมีแหล่งกำเนิดรังสี จึงควรมีการประเมินถึงสภาพความเป็นอันตรายด้านรังสีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน และประชาชนโดยรอบ หนังสือเล่มนี้ให้ความรู้และแนวทางการเตรียมความพร้อมแก่หน่วยงานในระดับต่างๆ แต่แนวทางการเตรียมความพร้อมๆ ยังมีข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะในด้านเนื้อหาวิชาการที่มีรายละเอียดด้านสาธารณสุขมากกว่าด้านอื่นๆ เช่น การประเมินความเสี่ยง การตรวจวัดปริมาณรังสี บทบาทหน่วยงานสาธารณสุข การป้องกันอันตรายจากรังสีและการเฝ้าระวังทางสุขภาพ การสอบสวนโรค และคำแนะนำสำหรับผู้ปฏิบัติงานและประชาชนทั่วไป โดยอาจต้องมีการเพิ่มเติมเนื้อหาในอีกหลายด้าน

รายการอ้างอิง

วงศกร อังคะคำมูล. (2558). แนวทางการเตรียมความพร้อมรองรับอุบัติภัยฉุกเฉินจากรังสี. นนทบุรี : คณะทำงานจัดทำแนวทางการเตรียมความพร้อมและรองรับอุบัติภัยฉุกเฉิน จากรังสี สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม.

 

วาระสุดท้ายที่งดงาม
มิ.ย. 28th, 2016 by sirinun

วาระสุดท้ายที่งดงาม

วาระสุดท้ายที่งดงาม

เมื่อพูดถึงความตายว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติ มีความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานหรืออยู่ในระยะสุดท้าย จึงรู้สึกหมดหวังกับชีวิต จำเป็นที่ต้องได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากแพทย์ พยาบาล และครอบครัว เพื่อยื้อชีวิตของผู้ป่วยให้ยาวนานออกไปอีก หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยให้ตายดี ด้วยความรักและความเมตตาจากทุกๆ ฝ่ายด้วยความเข้าใจกันในการรักษาพยาบาลของแพทย์ ไม่ให้เกิดความขัดแย้งกับผู้ป่วย ครอบครัว และสังคมด้วยการอ้างอิงกฎหมายหรือระเบียบต่างๆ มาเป็นเงื่อนไขในการรักษาผู้ป่วย หมวดหมู่ WB310 ส576ว 2559

รายการอ้างอิง

สันต์ หัตถีรัตน์.(2559). วาระสุดท้ายที่งดงาม. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.

สุนทรภู่บอกเหตุน้ำท่วมจากพุทธทำนาย
มิ.ย. 28th, 2016 by sirinun

สุนทรภู่บอกเหตุน้ำท่วมจากพุทธทำนาย

สุนทรภู่บอกเหตุน้ำท่วมจากพุทธทำนาย

จากเหตุการณ์อุทกภัยร้ายแรงของน้ำเหนือที่ทยอยไหลบ่าลงมา พร้อมกับน้ำที่ปล่อยออกจากเขื่อนที่ผิดหลักการ หรือผิดกาลเทศะ จนทำให้เกิดน้ำท่วมและมีผู้เสียชีวิตถึง 606 คน (24 พฤศจิกายน 2554) ทำให้ผู้เขียนนำเสนอบทความอ้างผลงานเรื่อง “กาพย์พระไชยสุริยาของพระสุนทรโวหาร (ภู่) เป็นกลอนที่สุนทรภู่ได้แต่งขึ้น หนังสือเล่มนี้จะทำให้ผู้อ่านได้รับสุนทรีย์จากบทกลอน และนิราศ ที่ช่วนให้อ่านเป็นอย่างมาก ทำให้รู้ถึงวัฒนธรรม ความเป็นอยู่และเหตุการณ์อุทกภัยที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยในอดีตมาแล้วเป็นบทเรียนสอนใจในคนไทยระวังการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และมีการทำนายเหตุน้ำท่วมจากพุทธทำนายอีกด้วย หมวดหมู่ PL4209 .S82 ท237ส 2554

รายการอ้างอิง

ทศพร วงศ์รัตน์. (2554). สุนทรภู่บอกเหตุน้ำท่วมจากพุทธทำนาย. กรุงเทพฯ : วันทูปริ้นท์.

ปัญหาที่พบบ่อยและภาวะฉุกเฉินทางโลหิตวิทยา (Common problems and emergencies in hematology)
มิ.ย. 23rd, 2016 by sirinun

ปัญหาที่พบบ่อยและภาวะฉุกเฉินทางโลหิตวิทยา (Common problems and emergencies in hematology)

ปัญหาที่พบบ่อยและภาวะฉุกเฉินทางโลหิตวิทยา
(Common problems and emergencies in hematology)

ปัญหาที่พบบ่อยและภาวะฉุกเฉินทางโลหิตวิทยา เป็นหนังสือที่กล่าวถึงเรื่องโลหิตวิทยาที่ได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการเกิดโรคและทางเลือกในการรักษามีมากขึ้น บทความทางโลหิตวิทยาในระยะหลังมานี้ลงละเอียดถึงระดับโมเลกุล ซึ่งนับเป็นพัฒนาการที่ดี เนื้อหาครอบคลุมปัญหาที่พบบ่อยและภาวะและภาวะฉุกเฉินทางโลหิตวิทยาโดยตรง ภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาโรค รวมไปถึงความผิดปกติทางโลหิตวิทยาซึ่งเป็นผลจากโรคระบบต่างๆ  หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้นักศึกษาแพทย์ แพทย์ เวชปฏิบัติทั่วไป และอายุรแพทย์ ในการตรวจวินิจฉัยโรคให้ผู้ป่วยได้ หมวดหมู่ WH100ป525 2559

รายการอ้างอิง

กานดิษฎ์ ประยงค์รัตน์ และคณะ. (บรรณาธิการ). (2559). ปัญหาที่พบบ่อยและภาวะฉุกเฉินทางโลหิตวิทยา Common problems and emergencies in hematology. กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันในผู้ใหญ่.

รู้ทันโรคตับ 3 “คุยเฟื่องเรื่องไวรัสตับอักเสบ เอ ถึง อี” “มะเร็งตับ จะป้องกันและรักษาได้อย่างไร”
มิ.ย. 23rd, 2016 by sirinun

รู้ทันโรคตับ3

รู้ทันโรคตับ3

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการรักษาโรคตับที่มีการเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการรักษาไวรัสตับอักเสบทั้งบีและซี ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตไวรัสตับอักเสบซีจะหมดไป เพราะมียาที่ออกมาช่วยรักษาผู้ป่วยได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ วงการแพทย์เริ่มให้ความสนใจและร่วมกันหาทางกำจัดไวรัสตับอักเสบบีด้วย นักวิทยาศาสตร์พึ่งเริ่มเข้าใจวงจรชีวิตของไวรัสบีเปิดประตูเข้าไปในเซลล์ตับอย่างไรเมื่อปี 2555 พอรู้ประตูขาเข้า ก็เริ่มมีวิธิปิดประตูกันไวรัสบีไม่ให้เข้าตับ และวิธีการอื่นๆ อีกหลายวิธี ฉะนั้นนับจากนี้ไปอีกไม่เกินห้าปี เราก็จะได้เห็นวิธีการกำจัดไวรัสบีให้สูญสิ้น ผู้อ่านที่เป็นนักศึกษาแพทย์ แพทย์ พยาบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณะสุขจะได้รับความรู้และการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยมีคุณภาพต่อไป หมวดหมู่ WI700 ร711 2559

รายการอ้างอิง

ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์,  เกศรินทร์ ถานะภิรมย์ และคณะ. (2559). รู้ทันโรคตับ 3 “คุยเฟื่องเรื่องไวรัสตับอักเสบ เอ ถึง อี” “มะเร็งตับ จะป้องกันและรักษาได้อย่างไร”.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ : ศูนย์โรคตับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (ฝ่ายอายุรศาสตร์).

สังเกตโรคร้ายด้วยตนเอง
มิ.ย. 22nd, 2016 by sirinun

สังเกตโรคร้ายด้วยตนเอง

สังเกตโรคร้ายด้วยตนเอง

สุขภาพดีเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนปรารถนา แต่ทุกคนก็ไม่อาจปฏิเสธความเจ็บป่วยไปได้ เมื่อมีอาการผิดปกติอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้น ก็ต้องบอกได้ว่าเจ็บป่วยเป็นโรคอะไร มีความจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องรักษาอาการเจ็บป่วยนั้นๆ หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ผู้อ่านได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย การวินิจฉัยโรคด้วยตนเอง และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่ควรรู้จักในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว หมวดหมู่ WB141อ251ส 2559

รายการอ้างอิง

อภิชัย ชัยดรุณ และประไพ ชัยดรุณ. (2559). สังเกตโรคร้ายด้วยตนเอง ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
มิ.ย. 21st, 2016 by sirinun

สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

“สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หนังสือเล่มนี้เนื้อหาแบ่งออกเป็น 7 บท โดยในบทที่ 1 เป็นการเกริ่นนำประเด็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทยกับการก้าวสู่นโยบายการเปิดเสรี ภาพนโยบายการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภาพรวมของสัตว์น้ำที่นิยมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภาพรวมของสัตว์น้ำที่นิยมเพาะเลี้ยงในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ในบทที่ 2 ได้กล่าวถึงสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในภาพรวมของอาเซียน และอธิบายถึงรายละเอียดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของทั้ง 10 ประเทศสมาชิก จากนั้น การค้าสินค้าสัตว์น้ำและศักยภาพการส่งออกจะกล่าวไว้ในบทที่ 3 ส่วนบทที่ 4-6 จะเป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกของประเทศไทย ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในน้ำกร่อย ในทะเล และในน้ำจืด บทสุดท้ายจะเป็นการวิเคราะห์โอกาสในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย แยกรายละเอียดของสัตว์น้ำในแต่ละชนิด มีประโยชน์ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรไทย หมวดหมู่ SH135 ส179 2558

รายการอ้างอิง

เรืองไร โตกฤษณะ  และคนอื่นๆ. (2558). สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพฯ : สถาบันคลังสมองของชาติ  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ชีวิตที่พลิกผัน : อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ของเกษตรกร เล่ม 1
มิ.ย. 20th, 2016 by sirinun

ชีวิตที่พลิกผัน : อาชีวอนามัยและความปลอดภัยใน การทำงานของเกษตรกร เล่ม 1

ชีวิตที่พลิกผัน : อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของเกษตรกร เล่ม 1

มนุษย์ทุกคนย่อมมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาตนเอง ทั้งที่เป็นการพัฒนาในระบบการศึกษา และการพัฒนาแบบไม่เป็นทางการ ผ่านการเรียนรู้นอกระบบ เช่น ผ่านทางฝึกปฏิบัติ ผ่านอาชีพ ผ่านครอบครัว เป็นต้น การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาตนเองนั้น ที่สำคัญคือการสร้างหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ผ่านทางบทความ หรือหนังสือทางวิชาการที่เป็นทฤษฎี งานวิจัยและประการตรงของผู้แต่งหนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านได้รับความรู้เรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของเกษตรกรในชุมชน หมวดหมู่ WA400 ช583 2558

รายการอ้างอิง

ประมุข โอศิริ. (บรรณาธิการ). (2558). ชีวิตที่พลิกผัน : อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของเกษตรกร เล่ม 1. กรุงเทพฯ : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

พัฒนาการผิดปกติที่พบบ่อยในวัยเด็กแรกเกิด – 5 ปี
มิ.ย. 20th, 2016 by sirinun

พัฒนาการผิดปกติที่พบบ่อยในวัยเด็กแรกเกิด - 5 ปี

พัฒนาการผิดปกติที่พบบ่อยในวัยเด็กแรกเกิด – 5 ปี

วัยแรกเกิดถึง 5 ปี ถือว่าเป็นการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็กเริ่มที่จะเรียนรู้ เนื่องจากสมองมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการประมาณร้อยละ 80 เกิดขึ้นในช่วงวัยนี้ หากเด็กมีพัฒนาการที่ผิดปกติเราก็สามารถแก้ไขและส่งเสริมพัฒนาการด้านที่บกพร่อง  ซึ่งหนังสือเล่มนี้ช่วยให้เราทราบเกี่ยวกับพัฒนาการผิดปกติที่พบบ่อยในเด็กแรกเกิด – 5 ปี โดยเนื้อหาแยกเป็นพัฒนาการผิดปกติตามระบบถึงแม้ว่าในเด็กบางคนจะมีพัฒนาการผิดปกติร่วมกันหลายด้านแต่จะมีพัฒนาการที่ผิดปกติแต่ละด้าน ในแต่ละบทจะประกอบไปด้วยพัฒนาการปกติตามวัย อาการที่บ่งบอกว่าผิดปกติ แนวทางการวินิจฉัย การรักษา และในท้ายบทจะยกตัวอย่างโรคทางพัฒนาการที่พบบ่อยของความผิดปกติในด้านนั้นๆ ผู้อ่านจะได้รับประโยชน์และสามารถนำไปใช้ในการสักเกต วินิจฉัย และส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้อย่างเหมาะสม หมวดหมู่ WS105.5.C3 จ493พ 2559

รายการอ้างอิง

จิรนันท์ วีรกุล. (2559). พัฒนาการผิดปกติที่พบบ่อยในวัยเด็กแรกเกิด – 5 ปี. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ภาวะทางเดินอาหารทำหน้าที่ผิดปกติไร้โรคทาง กายในเด็ก (Pediatric functional gastrointestinal disorders)
มิ.ย. 20th, 2016 by sirinun

ภาวะทางเดินอาหารทำหน้าที่ผิดปกติไร้โรคทางกายในเด็ก

ภาวะทางเดินอาหารทำหน้าที่ผิดปกติไร้โรคทางกายในเด็ก

“ภาวะทางเดินอาหารทำหน้าที่ผิดปกติไร้โรคทางกายในเด็ก” รวบรวมโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศไทยและจากต่างประเทศ รวมทั้งผลงานวิจัยของผู้แต่ง ซึ่งได้ทำวิจัยร่วมกับอาจารย์หลายๆ ท่าน หนังสือเล่มนี้มี 15 บท ประกอบด้วยบทกล่าวนำในภาพรวมและความรู้พื้นฐานที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะนี้ ได้แก่ แกนเชื่อมโยงหน้าที่ระหว่างสมองและทางเดินอาหารรวมถึงระบบประสาทที่ควบคุมการทำหน้าที่ระบบทางเดินอาหาร ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะนี้รวมทั้งปัจจัยทางจิตสังคม ส่วนในบทที่3 – 12 กล่าวถึงภาวะที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ โดยนำเข้าสู่บทเรียนด้วยตัวอย่างผู้ป่วยและการอภิปรายปัญหาผู้ป่วย เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจมากขึ้น เนื้อเรื่องครอบคลุมระบาดวิทยา พยาธิกำเนิดและพยาธิสรีรวิทยา อาการทางคลินิก การวินิจฉัย การวินิจฉัยแยกโรค การบำบัดรักษาและพยากรณ์โรค เนื่องจากในทางเวชปฏิบัติ แพทย์จะต้องวินิจฉัยแยกโรคระหว่างภาวะเหล่านี้สาเหตุจากโรคทางกาย จึงได้กล่าวรายละเอียดการประเมินผู้ป่วยที่มาด้วยอาการของภาวะเหล่านี้ไว้ด้วย ส่วนบทที่ 13 – 15 ได้นำเสนอยาที่ใช้บ่อยในภาวะเหล่านี้เพื่อให้แพทย์สามารถใช้ยาได้อย่างเหมาะสม การให้โพรไบโอติก พรีไบโอติก และใยอาหาร ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของวงการแพทย์ ตลอดจนการรักษาทางจิตเวช  เหมาะสำหรับนักศึกษาแพทย์  แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป กุมารแพทย์ และกุมารแพทย์โรคทางเดินอาหาร สามารถนำไปประยุกต์ในการวินิจฉัยและรักษาโรค ตลอดจนการประเมินเด็กที่มาด้วยอาการผิดปกติระบบทางเดินอาหาร หมวดหมู่ WS310 ภ477 2558

รายการอ้างอิง

สุพร ตรีพงษ์กรุณา. (บรรณาธิการ). (2558). ภาวะทางเดินอาหารทำหน้าที่ผิดปกติไร้โรคทางกายในเด็ก (Pediatric functional gastrointestinal disorders). กรุงเทพฯ : โฮลิสติก พับลิชชิ่ง.

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa