ความรู้พื้นฐานทางจักษุวิทยา
“ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ” คงไม่มีใครที่จะปฏิเสธว่าไม่จริง ดวงตามีความสำคัญต่อคนเราเป็นอย่างมากไม่ว่าจะยากจนหรือร่ำรวย มนุษย์ทุกคนต้องดูแลรักษาดวงตาไว้ยิ่งกว่าชีวิต แต่ก็มีบางคนที่ไม่รู้คุณค่าของดวงตากับใช้ดวงตานั้นไปในทางที่ผิดวัตถุประสงค์ จนทำให้ดวงตานั้นเกิดโรคขึ้นมาได้ เช่น โรคตาเอกเสบ ต่อกระจก ต่อหิน ฯลฯ หนังสือเล่มนี้เป็นตำราทางวิชาการ เพื่อช่วยให้นักศึกษาแพทย์ แพทย์ทั่วไป และจักษุแพทย์ ได้รับความรู้ความเข้าใจ เนื้อหาทางจักษุวิทยา ทั้งในเรื่องของกายวิภาค สรีรวิทยาและชีวเคมี การซักประวัติแยกโรคผู้ป่วย การตรวจตา การรักษาทางจักษุวิทยา โดยมีการปรับเปลี่ยน เพิ่มองค์ความรู้ และวิทยาการการรักษาทางจักษุวิทยาใหม่ๆ เพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน หมวดหมู่ WW100 ค181 2558
รายการอ้างอิง
อติพร ตวงทอง, วณิชา ชื่นกองแก้ว และอภิชาติ สิงคาลวณิช. (บรรณาธิการ). (2558). ความรู้พื้นฐานทางจักษุวิทยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
Update on pediatricinfectious diseases 2016
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงโรคติดเชื้อเป็นสาเหตุการป่วยตายที่สำคัญและเป็นปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก เด็กมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและมีความรุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่ โรคติดเชื้อในเด็กของประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีความแตกต่างกันตามสภาพภูมิอากาศ ระบาดวิทยาเศรษฐานะสังคม การดูแลรักษารวมทั้งการป้องกันโรคด้วยวัคซีน การนำเอาองค์ความรู้และประสบการณ์จากต่างประเทศมาปรับใช้ร่วมกับองค์ความรู้ที่ทันสมัยจากประเทศไทยจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยเด็กโรคติดเชื้อในประเทศไทย สามารถนำไปใช้ทางเวชปฏิบัติและอ้างอิงทางการแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กได้อย่างเหมาะสมในแต่ละโรงพยาบาลที่แตกต่างกันไปตามประสิทธิภาพ หมวดหมู่ WC100 อ549 2559
พวีระชัย วัฒนวีรเดช และกุลกัญญา โชคไบูลย์กิจ. (บรรณาธิการ). Update on pediatric infectious diseases 2016. กรุงเทพฯ : สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย.
แนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพนาโน
ผลิตภัณฑ์สุขภาพนาโนคือผลิตภัณฑ์ที่ใช้นาโนเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบการผลิต หรือผลิตภัณฑ์ที่มีวัสดุนาโนเป็นองค์ประกอบ เพื่อให้มีสมบัติหรือหน้าที่เฉพาะเจาะจงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต มีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อสุขภาพอนามัย รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย เช่น อาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ เครืี่องสำอาง และวัตถุอันตราย ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพนาโน (Guidance for industry on nano nealth products) ขึ้น ได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาข้อมูลและการจัดเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขออนุญาตต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้อย่างถูกต้อง โดยใช้ร่วมกับกฏระเบียบและหลักเกณฑ์เฉพาะของแต่ละหน่วยงาน เนื่องจากผลิตสุขภาพนาโนแต่ละประเภทมีลักษณะการกำกับดูแลที่แตกต่างกัน หมวดหมู่ TA418.9.N35 น928 2558
แนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพนาโน (Guidance for industry on nano health products) . (2558). จัดทำโดยคณะทำงานพัฒนาและกำหนดแนวทางการกำกับดูแลประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพนาโน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
วิทยาเอนไซม์ : การเกิดและการควบคุมสีน้ำตาลและกลิ่นรสผิดปกติในผักผลไม้
หนังสือ “วิทยาเอนไซม์ : การเกิดและการควบคุมสีน้ำตาลและสีน้ำตาลและกลิ่นรสผิดปกติในผักผลไม้” เล่มนี้ ประกอบด้วยเนื้อหา 3 ตอน โดยตอนที่ 1 กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับเอนไซม์ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับโครงสร้าง ประเภทจลนพลศาสตร์ของเอนไซม์ และการเตรียม การทำให้บริสุทธิ์และการศึกษาลักษณะเฉพาะของเอนไซม์ ตอนที่ 2 กล่าวถึงการเกิดและการควบคุมสีน้ำตาลเนื่องจากเอนไซม์ในผักกผลไม้โดยเอนไซม์ที่มีบทบาทสำคัญคือ เอนไซม์พอลิฟีนลออกซิเดส และตอนที่ 3 กล่าวถึงการเกิดและการควบคุมกลิ่นรสผิดปกติเนื่องจากเอนไซม์ในผักผลไม้ โดยเอนไซม์ที่มีบทบาทสำคัญ คือ เอนไซม์ไลพอกซิจีเนส ผู้เขียนนำความรู้เชิงชีวเคมีกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารเข้าด้วยกัน โดยรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่ทันสมัย เช่นเอกสารทางวิชาการ และผลงานวิจัยต่างๆ โดยเฉพาะข้อมูลงานวิจัยที่ผู้เขียนได้มีส่วนร่วมมาประกอบในหนังสือเล่มนี้ ทำให้เกิดความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและต่อวงวิชาการ หมวดหมู่ TP248.65.E59 ช813ว 2558
โชคชัย ธีรกุลเกียรติ. (2558). วิทยาเอนไซม์ : การเกิดและการควบคุมสีน้ำตาลและกลิ่นรสผิดปกติในผักผลไม้. กรุงเทพฯ : ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
แนวทางการเตรียมความพร้อมรองรับอุบัติภัยฉุกเฉินจากรังสี
ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำสารรังสี เข้ามาใช้ในกิจกรรมต่างๆ อย่างหลากหลาย และเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์เพิ่มมากขึ้น เช่น การใช้รังสีทางการแพทย์ เพื่อการรักษาและวินิจฉัยโรค การใช้รังสีในกิจการอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาให้เกิดประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรม และการใช้รังสีในทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณ ชนิด และระยะเวลาที่ได้รับสัมผัสปริมาณรังสี หน่วยงานที่ใช้หรือมีแหล่งกำเนิดรังสี จึงควรมีการประเมินถึงสภาพความเป็นอันตรายด้านรังสีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน และประชาชนโดยรอบ หนังสือเล่มนี้ให้ความรู้และแนวทางการเตรียมความพร้อมแก่หน่วยงานในระดับต่างๆ แต่แนวทางการเตรียมความพร้อมๆ ยังมีข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะในด้านเนื้อหาวิชาการที่มีรายละเอียดด้านสาธารณสุขมากกว่าด้านอื่นๆ เช่น การประเมินความเสี่ยง การตรวจวัดปริมาณรังสี บทบาทหน่วยงานสาธารณสุข การป้องกันอันตรายจากรังสีและการเฝ้าระวังทางสุขภาพ การสอบสวนโรค และคำแนะนำสำหรับผู้ปฏิบัติงานและประชาชนทั่วไป โดยอาจต้องมีการเพิ่มเติมเนื้อหาในอีกหลายด้าน
วงศกร อังคะคำมูล. (2558). แนวทางการเตรียมความพร้อมรองรับอุบัติภัยฉุกเฉินจากรังสี. นนทบุรี : คณะทำงานจัดทำแนวทางการเตรียมความพร้อมและรองรับอุบัติภัยฉุกเฉิน จากรังสี สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม.
วาระสุดท้ายที่งดงาม
เมื่อพูดถึงความตายว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติ มีความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานหรืออยู่ในระยะสุดท้าย จึงรู้สึกหมดหวังกับชีวิต จำเป็นที่ต้องได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากแพทย์ พยาบาล และครอบครัว เพื่อยื้อชีวิตของผู้ป่วยให้ยาวนานออกไปอีก หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยให้ตายดี ด้วยความรักและความเมตตาจากทุกๆ ฝ่ายด้วยความเข้าใจกันในการรักษาพยาบาลของแพทย์ ไม่ให้เกิดความขัดแย้งกับผู้ป่วย ครอบครัว และสังคมด้วยการอ้างอิงกฎหมายหรือระเบียบต่างๆ มาเป็นเงื่อนไขในการรักษาผู้ป่วย หมวดหมู่ WB310 ส576ว 2559
สันต์ หัตถีรัตน์.(2559). วาระสุดท้ายที่งดงาม. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.
สุนทรภู่บอกเหตุน้ำท่วมจากพุทธทำนาย
จากเหตุการณ์อุทกภัยร้ายแรงของน้ำเหนือที่ทยอยไหลบ่าลงมา พร้อมกับน้ำที่ปล่อยออกจากเขื่อนที่ผิดหลักการ หรือผิดกาลเทศะ จนทำให้เกิดน้ำท่วมและมีผู้เสียชีวิตถึง 606 คน (24 พฤศจิกายน 2554) ทำให้ผู้เขียนนำเสนอบทความอ้างผลงานเรื่อง “กาพย์พระไชยสุริยาของพระสุนทรโวหาร (ภู่) เป็นกลอนที่สุนทรภู่ได้แต่งขึ้น หนังสือเล่มนี้จะทำให้ผู้อ่านได้รับสุนทรีย์จากบทกลอน และนิราศ ที่ช่วนให้อ่านเป็นอย่างมาก ทำให้รู้ถึงวัฒนธรรม ความเป็นอยู่และเหตุการณ์อุทกภัยที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยในอดีตมาแล้วเป็นบทเรียนสอนใจในคนไทยระวังการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และมีการทำนายเหตุน้ำท่วมจากพุทธทำนายอีกด้วย หมวดหมู่ PL4209 .S82 ท237ส 2554
ทศพร วงศ์รัตน์. (2554). สุนทรภู่บอกเหตุน้ำท่วมจากพุทธทำนาย. กรุงเทพฯ : วันทูปริ้นท์.
ปัญหาที่พบบ่อยและภาวะฉุกเฉินทางโลหิตวิทยา(Common problems and emergencies in hematology)
ปัญหาที่พบบ่อยและภาวะฉุกเฉินทางโลหิตวิทยา เป็นหนังสือที่กล่าวถึงเรื่องโลหิตวิทยาที่ได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการเกิดโรคและทางเลือกในการรักษามีมากขึ้น บทความทางโลหิตวิทยาในระยะหลังมานี้ลงละเอียดถึงระดับโมเลกุล ซึ่งนับเป็นพัฒนาการที่ดี เนื้อหาครอบคลุมปัญหาที่พบบ่อยและภาวะและภาวะฉุกเฉินทางโลหิตวิทยาโดยตรง ภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาโรค รวมไปถึงความผิดปกติทางโลหิตวิทยาซึ่งเป็นผลจากโรคระบบต่างๆ หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้นักศึกษาแพทย์ แพทย์ เวชปฏิบัติทั่วไป และอายุรแพทย์ ในการตรวจวินิจฉัยโรคให้ผู้ป่วยได้ หมวดหมู่ WH100ป525 2559
กานดิษฎ์ ประยงค์รัตน์ และคณะ. (บรรณาธิการ). (2559). ปัญหาที่พบบ่อยและภาวะฉุกเฉินทางโลหิตวิทยา Common problems and emergencies in hematology. กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันในผู้ใหญ่.
รู้ทันโรคตับ3
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการรักษาโรคตับที่มีการเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการรักษาไวรัสตับอักเสบทั้งบีและซี ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตไวรัสตับอักเสบซีจะหมดไป เพราะมียาที่ออกมาช่วยรักษาผู้ป่วยได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ วงการแพทย์เริ่มให้ความสนใจและร่วมกันหาทางกำจัดไวรัสตับอักเสบบีด้วย นักวิทยาศาสตร์พึ่งเริ่มเข้าใจวงจรชีวิตของไวรัสบีเปิดประตูเข้าไปในเซลล์ตับอย่างไรเมื่อปี 2555 พอรู้ประตูขาเข้า ก็เริ่มมีวิธิปิดประตูกันไวรัสบีไม่ให้เข้าตับ และวิธีการอื่นๆ อีกหลายวิธี ฉะนั้นนับจากนี้ไปอีกไม่เกินห้าปี เราก็จะได้เห็นวิธีการกำจัดไวรัสบีให้สูญสิ้น ผู้อ่านที่เป็นนักศึกษาแพทย์ แพทย์ พยาบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณะสุขจะได้รับความรู้และการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยมีคุณภาพต่อไป หมวดหมู่ WI700 ร711 2559
ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์, เกศรินทร์ ถานะภิรมย์ และคณะ. (2559). รู้ทันโรคตับ 3 “คุยเฟื่องเรื่องไวรัสตับอักเสบ เอ ถึง อี” “มะเร็งตับ จะป้องกันและรักษาได้อย่างไร”. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ศูนย์โรคตับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (ฝ่ายอายุรศาสตร์).
สังเกตโรคร้ายด้วยตนเอง
สุขภาพดีเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนปรารถนา แต่ทุกคนก็ไม่อาจปฏิเสธความเจ็บป่วยไปได้ เมื่อมีอาการผิดปกติอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้น ก็ต้องบอกได้ว่าเจ็บป่วยเป็นโรคอะไร มีความจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องรักษาอาการเจ็บป่วยนั้นๆ หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ผู้อ่านได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย การวินิจฉัยโรคด้วยตนเอง และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่ควรรู้จักในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว หมวดหมู่ WB141อ251ส 2559
อภิชัย ชัยดรุณ และประไพ ชัยดรุณ. (2559). สังเกตโรคร้ายด้วยตนเอง ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.